ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Saturday, April 2, 2016

จะเป็นไทต้องไม่มีในหลวง

จะเป็นไทต้องไม่มีในหลวง 
ไฟเย็นพบลุงสนามหลวง  เรื่องหลักการหรือต้นตอของปัญหา มิใช่การไปลงประชามติหรือไม่อย่างไร แต่เป็นเรื่องของระบอบการปกครองเผด็จการที่มีกษัตริย์เป็นแกนกลาง

ทรราช คสช. อ่อนไหวถึงขนาด “เพ้อฝัน” และมองข้ามสภาพความเป็นจริง

กรณี ศึกษาจีน รถไฟ ความเร็วสูง น้ำ จากแม่โขง

ไม่ว่าปัญหาว่าด้วยรถไฟ "ความเร็วสูง"

ไม่ว่าปัญหาว่าด้วยภาวะแล้งและผลสะเทือนส่วนหนึ่งจาก "เขื่อน" ในแม่น้ำโขงตอนบน

ทุกสายตามองไปยัง "จีน"

เพราะว่าแนวคิดในเรื่องรถไฟ "ความเร็วสูง" มีจุดเริ่มจากการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจากลาว เส้นทางรถไฟจากคุนหมิง

โดยมี "ต้นทาง" อยู่ที่ "จีน"

เพราะว่าปัญหาว่าด้วยภาวะภัยแล้ง ส่วนหนึ่งมีผลสะเทือนจากเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบน และบังเอิญที่มีการเปิดเขื่อนในห้วงแห่งการประชุม 5 ชาติแม่น้ำโขงที่เกาะไหหลำ

โดยมี "ต้นทาง" อยู่ที่ "จีน"

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ด้านหลักของปัญหา "ภัยแล้ง" เป็นเรื่องอันเกิดขึ้นภายในไม่ว่าจะเป็นที่ลาว ที่ไทย ที่กัมพูชา หรือที่เวียดนาม

โดยมี "จีน" เป็นเพียง "องค์ประกอบ" 1

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ด้านหลักของโครงการรถไฟ "ความเร็วสูง" เป็นความริเริ่มโดยตรงของไทยหรือแม้กระทั่งของลาว โดยมีจีนเป็นเพียงองค์ประกอบ 1 ในองค์ประกอบใหญ่

ความอ่อนไหวทั้งหมดจึงมาจาก "ปัจจัยภายใน"

เป็นความจริงที่แรงผลักดันอย่างสำคัญในเรื่องรถไฟ "ความเร็วสูง" มาจากยุทธศาสตร์ใหญ่ของจีนในการเปิด "เส้นทางสายไหม" ยุคใหม่

เป็นพัฒนาการและความต่อเนื่องจาก "ยุคเจิ้งเหอ" ในราชวงศ์ "หมิง"

กระนั้น ภาวะแปรปรวน พลิกผัน ต้องยอมรับว่าเกิดจากปัญหาและความขัดแย้ง "ภายใน" ของสังคมประเทศไทยเราเองอย่างเป็นด้านหลัก

จากยุค นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถึงยุค นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ

ในยุคของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จำกัดกรอบแห่งงบประมาณอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาท แต่ไม่ว่าเอ่ยปากอะไรออกมาล้วนถูกคัดค้าน ต่อต้าน

ไม่เพียงแต่เสียงคัดค้านอันมาจาก "พรรคประชาธิปัตย์"

หากกระบวนการของการต่อต้านบานปลายและขยายไปยัง "องค์กรอิสระ" กระทั่ง "ศาลรัฐธรรมนูญ" ก็เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ

จำ "ยอดคำเท่" ว่าด้วย "ถนนลูกรัง" ได้หรือไม่

ความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งอยู่ตรงที่เมื่อถึงยุค นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กระบวนการคัดค้านต่อต้านเดิม หายไปจนหมดสิ้น หลายคนได้รับการปูนบำเหน็จรางวัลทางการเมือง บางคนนั่งอยู่ในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

รถไฟ "ความเร็วสูง" จึงเป็นกระจกอย่างดีในทาง "การเมือง"

รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ไม่เพียงแต่ทำให้เรื่องเลวๆ ในยุคของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับเป็นเรื่องดีๆ หากแต่ยังทำให้โฉมหน้าคนดีปรากฏอย่างโจ่งแจ้ง

คนดีๆ เหล่านี้แหละที่ทำให้ภาพของ "จีน" บิดเบี้ยว แปรเปลี่ยน

ไม่ว่าเรื่องเขื่อนในแม่น้ำโขง ไม่ว่าเรื่องรถไฟความเร็วสูง จีนดำรงจุดมุ่งหมายและสะท้อนความเป็นตัวตนของตนไม่แปรเปลี่ยน

นั่นก็คือ ยืนอยู่บน "ผลประโยชน์" จีนด้วยความ "มั่นแน่ว"

มีแต่ไทยเราต่างหากที่เกิดการแปรเปลี่ยน พลิกกลับไป พลิกกลับมา เพราะความอ่อนไหวในความรู้สึกต่อจีน

เมื่อหงุดหงิดจาก "อเมริกา" ก็ผวาเข้าหา "จีน"

อ่อนไหวถึงขนาด "เพ้อฝัน" ว่าจีนจะเข้ามาลงทุนด้วยเงินของตนเองในโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อมอบให้กับไทย

เป็นการให้ฟรีๆ ด้วยน้ำใจอันใหญ่หลวงของ "พี่ใหญ่"

อ่อนไหวถึงขนาด "เพ้อฝัน" และมองข้ามสภาพความเป็นจริงที่จีนมีการสร้างเขื่อนตอนต้นของแม่น้ำโขงมากกว่า 5 เขื่อน

จีนนั้นไม่มีอะไร "เปลี่ยน" ไทยต่างหากเล่าที่ "เปลี่ยน"

จีนนั้นเป็นตัวของตัวเองอย่างยิ่ง ไทยต่างหากเล่าที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง

ผู้นำจีนจากยุคของ "เหมาเจ๋อตุง" กระทั่งยุคของ "เติ้งเสี่ยวผิง" มีความเชื่ออย่างหนึ่งในทาง "ความคิด"

นั่นก็คือ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจาก "ความเป็นจริง" และความเป็นจริงนั้นดำเนินการค้นหาจากหลักคิดที่ว่า "หาสัจจะจากความเป็นจริง" ถอดนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรมให้จงได้

ความจริงนี้ของจีนไม่ว่าเมื่อ 50 ปีก่อนหรือปัจจุบันไม่เคยเปลี่ยน
-

ทรราช คสช. อ่อนไหวถึงขนาด “เพ้อฝัน” และมองข้ามสภาพความเป็นจริง

กรณี ศึกษาจีน รถไฟ ความเร็วสูง น้ำ จากแม่โขง

ไม่ว่าปัญหาว่าด้วยรถไฟ "ความเร็วสูง"

ไม่ว่าปัญหาว่าด้วยภาวะแล้งและผลสะเทือนส่วนหนึ่งจาก "เขื่อน" ในแม่น้ำโขงตอนบน

ทุกสายตามองไปยัง "จีน"

เพราะว่าแนวคิดในเรื่องรถไฟ "ความเร็วสูง" มีจุดเริ่มจากการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจากลาว เส้นทางรถไฟจากคุนหมิง

โดยมี "ต้นทาง" อยู่ที่ "จีน"

เพราะว่าปัญหาว่าด้วยภาวะภัยแล้ง ส่วนหนึ่งมีผลสะเทือนจากเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบน และบังเอิญที่มีการเปิดเขื่อนในห้วงแห่งการประชุม 5 ชาติแม่น้ำโขงที่เกาะไหหลำ

โดยมี "ต้นทาง" อยู่ที่ "จีน"

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ด้านหลักของปัญหา "ภัยแล้ง" เป็นเรื่องอันเกิดขึ้นภายในไม่ว่าจะเป็นที่ลาว ที่ไทย ที่กัมพูชา หรือที่เวียดนาม

โดยมี "จีน" เป็นเพียง "องค์ประกอบ" 1

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ด้านหลักของโครงการรถไฟ "ความเร็วสูง" เป็นความริเริ่มโดยตรงของไทยหรือแม้กระทั่งของลาว โดยมีจีนเป็นเพียงองค์ประกอบ 1 ในองค์ประกอบใหญ่

ความอ่อนไหวทั้งหมดจึงมาจาก "ปัจจัยภายใน"

เป็นความจริงที่แรงผลักดันอย่างสำคัญในเรื่องรถไฟ "ความเร็วสูง" มาจากยุทธศาสตร์ใหญ่ของจีนในการเปิด "เส้นทางสายไหม" ยุคใหม่

เป็นพัฒนาการและความต่อเนื่องจาก "ยุคเจิ้งเหอ" ในราชวงศ์ "หมิง"

กระนั้น ภาวะแปรปรวน พลิกผัน ต้องยอมรับว่าเกิดจากปัญหาและความขัดแย้ง "ภายใน" ของสังคมประเทศไทยเราเองอย่างเป็นด้านหลัก

จากยุค นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถึงยุค นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ

ในยุคของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จำกัดกรอบแห่งงบประมาณอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาท แต่ไม่ว่าเอ่ยปากอะไรออกมาล้วนถูกคัดค้าน ต่อต้าน

ไม่เพียงแต่เสียงคัดค้านอันมาจาก "พรรคประชาธิปัตย์"

หากกระบวนการของการต่อต้านบานปลายและขยายไปยัง "องค์กรอิสระ" กระทั่ง "ศาลรัฐธรรมนูญ" ก็เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ

จำ "ยอดคำเท่" ว่าด้วย "ถนนลูกรัง" ได้หรือไม่

ความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งอยู่ตรงที่เมื่อถึงยุค นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กระบวนการคัดค้านต่อต้านเดิม หายไปจนหมดสิ้น หลายคนได้รับการปูนบำเหน็จรางวัลทางการเมือง บางคนนั่งอยู่ในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

รถไฟ "ความเร็วสูง" จึงเป็นกระจกอย่างดีในทาง "การเมือง"

รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ไม่เพียงแต่ทำให้เรื่องเลวๆ ในยุคของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับเป็นเรื่องดีๆ หากแต่ยังทำให้โฉมหน้าคนดีปรากฏอย่างโจ่งแจ้ง

คนดีๆ เหล่านี้แหละที่ทำให้ภาพของ "จีน" บิดเบี้ยว แปรเปลี่ยน

ไม่ว่าเรื่องเขื่อนในแม่น้ำโขง ไม่ว่าเรื่องรถไฟความเร็วสูง จีนดำรงจุดมุ่งหมายและสะท้อนความเป็นตัวตนของตนไม่แปรเปลี่ยน

นั่นก็คือ ยืนอยู่บน "ผลประโยชน์" จีนด้วยความ "มั่นแน่ว"

มีแต่ไทยเราต่างหากที่เกิดการแปรเปลี่ยน พลิกกลับไป พลิกกลับมา เพราะความอ่อนไหวในความรู้สึกต่อจีน

เมื่อหงุดหงิดจาก "อเมริกา" ก็ผวาเข้าหา "จีน"

อ่อนไหวถึงขนาด "เพ้อฝัน" ว่าจีนจะเข้ามาลงทุนด้วยเงินของตนเองในโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อมอบให้กับไทย

เป็นการให้ฟรีๆ ด้วยน้ำใจอันใหญ่หลวงของ "พี่ใหญ่"

อ่อนไหวถึงขนาด "เพ้อฝัน" และมองข้ามสภาพความเป็นจริงที่จีนมีการสร้างเขื่อนตอนต้นของแม่น้ำโขงมากกว่า 5 เขื่อน

จีนนั้นไม่มีอะไร "เปลี่ยน" ไทยต่างหากเล่าที่ "เปลี่ยน"

จีนนั้นเป็นตัวของตัวเองอย่างยิ่ง ไทยต่างหากเล่าที่ไม่เป็นตัวของตัวเอง

ผู้นำจีนจากยุคของ "เหมาเจ๋อตุง" กระทั่งยุคของ "เติ้งเสี่ยวผิง" มีความเชื่ออย่างหนึ่งในทาง "ความคิด"

นั่นก็คือ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นจาก "ความเป็นจริง" และความเป็นจริงนั้นดำเนินการค้นหาจากหลักคิดที่ว่า "หาสัจจะจากความเป็นจริง" ถอดนามธรรมออกมาเป็นรูปธรรมให้จงได้

ความจริงนี้ของจีนไม่ว่าเมื่อ 50 ปีก่อนหรือปัจจุบันไม่เคยเปลี่ยน
-

สมุนทรราช กรธ.ไม่ ‘ขัดใจ’ ยกให้ ทรราช คสช. ลากตั้ง ส.ว. 250 คนเอง

สมุนทรราช กรธ.ไม่ 'ขัดใจ' ยกให้ ทรราช คสช. ลากตั้ง ส.ว. 250 คนเอง

——————————–

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนลงประชามติ ได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรกมี 250 คน มาจาการคัดลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ด้วยเหตุว่าจะเข้ามาประคับประคองประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี

เรื่องที่เป็นประเด็นร้อนและมีการถกเถียงของสังคม ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนลงประชามติ คงหนีไม่พ้นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ในวาระแรกเริ่ม ที่มาจากข้อเสนอของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า

"ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่เริ่มจัดระเบียบทางการเมืองใหม่ ควรให้ ส.ว. ชุดแรกมาจากการคัดสรร หรือแต่งตั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ ปลอดจากพรรคการเมือง สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน ช่วยประคับประคองความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ดูแลการขับเคลื่อนการปฏิรูป และการสร้างความสามัคคีปรองดองร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร

ด้านคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ตอบสนองข้อเสนอนี้ โดยกำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา 269 สรุปได้ว่า

ในวาระเริ่มแรก ให้ ส.ว. ประกอบด้วยสมาชิก 250 คน โดยให้ คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาที่มีความรู้ ประสบการณ์ด้านต่างๆ เป็นกลางทางการเมือง 9-12 คน ทำหน้าที่สรรหาผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ว. จำนวนไม่เกิน 400 คน เพื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือ 194 คน และคัดชื่อสำรองอีก 50 คน

อีกส่วนหนึ่ง มาจากผู้ที่เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

และส่วนสุดท้ายได้จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการจัดให้มีการเลือก ส.ว. โดยให้ผู้มีความรู้ ประสบการณ์หลายด้าน กลุ่มวิชาชีพ หรือกลุ่มผลประโยชน์ เลือกกันเองให้ได้ 200 คน แล้วนำรายชื่อให้ คสช. เลือกให้เหลือ 50 คน และคัดชื่อสำรองไว้อีก 50 คน จากที่มาสามทางนี้ก็จะได้ ส.ว.ครบ 250 คนพอดี

ส.ว.ชุดนี้จะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีอำนาจหน้าที่ติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศ จัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ดูแลกฎหมายที่จะกระทบต่อการดำเนินการกระบวนการยุติธรรม

ทำไมต้องมี ส.ว.สรรหา 250 คน?

เป็นคำถามที่ผู้สื่อข่าวถาม มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. หลังการแถลงเปิดตัวร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ มีชัยตอบว่าเดิม คสช.ขอมาให้มี ส.ว.สรรหาเลยทั้ง 250 คน แต่ กรธ.ขอว่าให้ คสช. เลือกมา 200 คนก็พอ ส่วนอีก 50 คน ให้มาทดลองระบบใหม่ โดยให้มีการเลือกกันทั้งประเทศ เหลือ 200 คน แล้วให้ คสช. เลือกเหลือ 50 คน

มีชัยกล่าวต่อไปว่า ถ้าถามว่าทำไม กรธ. จึงยอมใส่เรื่องนี้ในร่างรัฐธรรมนูญ ก็เพราะ คสช. ให้เหตุผลมาว่า

ความเรียบร้อยทั้งหลายที่ คสช. เคยมุ่งหมายไว้ยังไม่ดี

การปฏิรูปก็ยังไม่ครบถ้วน จึงอยากทำต่อ แต่ไม่สามารถให้ตัวเองทำได้ จึงควรให้ ส.ว. คอยเร่งรัด ตรวจสอบ ท้วงติง การปฏิรูปต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวม

เทียบข้อเสนอเดิมของ คสช. แทบไม่ต่าง แค่ตัดอำนาจอภิปรายไม่ไว้วางใจออก

เมื่อย้อนดูข้อเสนอของ คสช. ก่อนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเผยโฉม จะเห็นว่า แทบไม่มีความแตกต่างจากเดิมเลย เพียงแต่มีการลงรายละเอียดในส่วนของที่มา ส.ว. ให้ชัดเจนขึ้น และตัดอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจออกไป เรียกว่า กรธ. รับเอาข้อเสนอของ คสช. มาเต็มๆ

คสช. เสนอว่า ส.ว. มีวาระ 5 ปี ควรมีจำนวนกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรหรือ 250 คน มาจากการสรรหาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นอิสระและกลาง 8-10 คน และให้มี ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน ซึ่งจะเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงแห่งชาติ ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ส่วนอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. คสช. เสนอว่า ไม่มีอำนาจหน้าที่เลือกหรือกำหนดตัวนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี แต่ควรให้มีอำนาจหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ดูแลการขับเคลื่อนการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจหรืออื่น ๆ ตามกติการะบบรัฐสภาและกระบวนการยุติธรรมในระหว่างช่วงการเปลี่ยนผ่านด้วย


Cr. โดย iLaw



สมุนทรราช กรธ.ไม่ ‘ขัดใจ’ ยกให้ ทรราช คสช. ลากตั้ง ส.ว. 250 คนเอง

สมุนทรราช กรธ.ไม่ 'ขัดใจ' ยกให้ ทรราช คสช. ลากตั้ง ส.ว. 250 คนเอง

——————————–

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนลงประชามติ ได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรกมี 250 คน มาจาการคัดลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ด้วยเหตุว่าจะเข้ามาประคับประคองประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี

เรื่องที่เป็นประเด็นร้อนและมีการถกเถียงของสังคม ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับก่อนลงประชามติ คงหนีไม่พ้นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ในวาระแรกเริ่ม ที่มาจากข้อเสนอของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า

"ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่เริ่มจัดระเบียบทางการเมืองใหม่ ควรให้ ส.ว. ชุดแรกมาจากการคัดสรร หรือแต่งตั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ ปลอดจากพรรคการเมือง สามารถสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน ช่วยประคับประคองความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ดูแลการขับเคลื่อนการปฏิรูป และการสร้างความสามัคคีปรองดองร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร

ด้านคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ตอบสนองข้อเสนอนี้ โดยกำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา 269 สรุปได้ว่า

ในวาระเริ่มแรก ให้ ส.ว. ประกอบด้วยสมาชิก 250 คน โดยให้ คสช. แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาที่มีความรู้ ประสบการณ์ด้านต่างๆ เป็นกลางทางการเมือง 9-12 คน ทำหน้าที่สรรหาผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่ง ส.ว. จำนวนไม่เกิน 400 คน เพื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือ 194 คน และคัดชื่อสำรองอีก 50 คน

อีกส่วนหนึ่ง มาจากผู้ที่เป็น ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

และส่วนสุดท้ายได้จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการจัดให้มีการเลือก ส.ว. โดยให้ผู้มีความรู้ ประสบการณ์หลายด้าน กลุ่มวิชาชีพ หรือกลุ่มผลประโยชน์ เลือกกันเองให้ได้ 200 คน แล้วนำรายชื่อให้ คสช. เลือกให้เหลือ 50 คน และคัดชื่อสำรองไว้อีก 50 คน จากที่มาสามทางนี้ก็จะได้ ส.ว.ครบ 250 คนพอดี

ส.ว.ชุดนี้จะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีอำนาจหน้าที่ติดตาม เสนอแนะ เร่งรัดการปฏิรูปประเทศ จัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ดูแลกฎหมายที่จะกระทบต่อการดำเนินการกระบวนการยุติธรรม

ทำไมต้องมี ส.ว.สรรหา 250 คน?

เป็นคำถามที่ผู้สื่อข่าวถาม มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. หลังการแถลงเปิดตัวร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ มีชัยตอบว่าเดิม คสช.ขอมาให้มี ส.ว.สรรหาเลยทั้ง 250 คน แต่ กรธ.ขอว่าให้ คสช. เลือกมา 200 คนก็พอ ส่วนอีก 50 คน ให้มาทดลองระบบใหม่ โดยให้มีการเลือกกันทั้งประเทศ เหลือ 200 คน แล้วให้ คสช. เลือกเหลือ 50 คน

มีชัยกล่าวต่อไปว่า ถ้าถามว่าทำไม กรธ. จึงยอมใส่เรื่องนี้ในร่างรัฐธรรมนูญ ก็เพราะ คสช. ให้เหตุผลมาว่า

ความเรียบร้อยทั้งหลายที่ คสช. เคยมุ่งหมายไว้ยังไม่ดี

การปฏิรูปก็ยังไม่ครบถ้วน จึงอยากทำต่อ แต่ไม่สามารถให้ตัวเองทำได้ จึงควรให้ ส.ว. คอยเร่งรัด ตรวจสอบ ท้วงติง การปฏิรูปต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวม

เทียบข้อเสนอเดิมของ คสช. แทบไม่ต่าง แค่ตัดอำนาจอภิปรายไม่ไว้วางใจออก

เมื่อย้อนดูข้อเสนอของ คสช. ก่อนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเผยโฉม จะเห็นว่า แทบไม่มีความแตกต่างจากเดิมเลย เพียงแต่มีการลงรายละเอียดในส่วนของที่มา ส.ว. ให้ชัดเจนขึ้น และตัดอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจออกไป เรียกว่า กรธ. รับเอาข้อเสนอของ คสช. มาเต็มๆ

คสช. เสนอว่า ส.ว. มีวาระ 5 ปี ควรมีจำนวนกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรหรือ 250 คน มาจากการสรรหาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นอิสระและกลาง 8-10 คน และให้มี ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน ซึ่งจะเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงแห่งชาติ ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ส่วนอำนาจหน้าที่ของ ส.ว. คสช. เสนอว่า ไม่มีอำนาจหน้าที่เลือกหรือกำหนดตัวนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี แต่ควรให้มีอำนาจหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ดูแลการขับเคลื่อนการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจหรืออื่น ๆ ตามกติการะบบรัฐสภาและกระบวนการยุติธรรมในระหว่างช่วงการเปลี่ยนผ่านด้วย


Cr. โดย iLaw



ส.ว.แต่งตั้งคุมการเมืองยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ

ส.ว.แต่งตั้งคุมการเมืองยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ
-
สุขุม กล่าวว่า ในยุคนั้น ข้าราชการสามารถเป็น ส.ว. ได้ มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีคนเดียว พลเอกเกรียงศักดิ์เป็นคนตั้ง ส.ว. ชุดแรก อำนาจของ ส.ว. ตอนนั้นมีอยู่ 2 ช่วง ช่วงแรกมีอำนาจเท่ากับ ส.ส. คือร่วมโหวตในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี รวมทั้งโหวตกฎหมายสำคัญๆ และการแก้รัฐธรรมนูญ กล่าวได้ว่าเป็นดุลพินิจของรัฐบาลที่จะให้ ส.ว. ร่วมโหวตในเกือบทุกเรื่อง ส่วนช่วงที่ 2 ส.ว. เหลือเฉพาะหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายเท่านั้น แต่ ส.ว. ก็ยังมีบทบาทสูงในทางการเมือง
-
"ก็ตัวประธานรัฐสภามาจาก ส.ว. สมัยก่อนการเลือกนายกฯ ไม่ได้ระบุว่าต้องทำในที่ประชุมสภา อย่างตอนปี 2526 ที่คุณอุทัยได้เป็นประธานสภาผู้แทน คุณจารุบุตร เรืองสุวรรณ เป็นประธานวุฒิสภาและก็เป็นประธานรัฐสภาด้วย คุณอุทัยออกมาบอกว่าเดี๋ยวเราจะประชุมเลือกนายกฯ กันแล้วเอาชื่อไปให้ประธานรัฐสภาเพราะต้องเป็นคนรับสนองพระบรมราชโองการ คุณจารุบุตรบอก เปล่า ผมไม่มีสิทธิ์เรียกประชุม ส.ส. ผมเป็นคนหานายกฯ เพราะฉะนั้นขอให้หัวหน้าพรรคมาเสนอชื่อกับผมว่าจะให้ใครเป็นนายกฯ ผมจะดูคะแนนตามที่พรรคต่างๆ เสนอ คือเขาไม่ให้ประชุมสภาผู้แทนเพื่อเลือกนายกฯ"
-
"เรื่องวิ่งเต้นเป็น ส.ว. ไม่ต้องห่วงเลย ทุกยุคทุกสมัย ยุคผม ผมไม่ทราบหรอกครับว่าเขาวิ่งเต้นกันยังไง แต่ว่าก็เคยทราบมา เช่น อาจารย์บางคนในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นอธิการบดีก็ได้เป็น ส.ว. มีคนพูดว่า อาจารย์ไม่รู้เหรอว่าเขาทำยังไงถึงได้เป็น เขาไปกราบเมียของนายพลคนหนึ่ง ปวารณาตัวรับใช้ ซึ่งบางทีเราก็นึกไม่ถึงว่าคนเราจะขายศักดิ์ศรีได้ถึงขนาดนั้น"
-
พรรค ส.ว. พรรคใหญ่สุดหลังรัฐธรรมนูญ 2559
-
รศ.สุขุม วิเคราะห์ว่า ตอนนี้ สิ่งที่ผู้ถืออำนาจพยายามทำคือไม่ให้พรรคเพื่อไทยมีโอกาสเป็นรัฐบาล ซึ่งด้วยระบบเลือกตั้งที่วางเอาไว้ไม่สนับสนุนให้มีพรรคขนาดใหญ่ พรรคที่จะมีที่นั่งมากสุดก็ไม่น่าเกินร้อยหกสิบ ร้อยเจ็ดสิบ แต่การจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียวต้องมีที่นั่ง 260 ขึ้นไป
-
"ผมไม่แน่ใจว่าพรรคการเมืองขนาดกลางจะมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้นหรือเปล่า แต่ผมว่าจะทำอะไรไม่ค่อยได้ ถ้ารัฐธรรมนูญผ่าน แล้วมีการเลือกตั้ง มันจะได้รัฐบาลที่ว่านอนสอนง่าย รัฐบาลที่จะถูกควบคุมโดย ส.ว. ถ้า ส.ว. มองดูว่าไม่เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่เขาร่างไว้และกำหนดให้รัฐบาลต้องรายงานทุก 3 เดือน ถ้าไม่ทำก็ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ จบ รอบนี้ ดูแล้วเขาจะใช้ ส.ว. นี่แหละ ไม่ให้นายกฯ ไม่ให้รัฐมนตรีกระดิกได้ ในยุคชาติชายไม่มีกฎบังคับว่ารัฐบาลต้องทำอะไรบ้าง แต่รอบนี้มียุทธศาสตร์บอกว่าต้องทำอะไรๆ บ้าง คือถ้า คสช. ตั้งนายกฯ เองอาจจะถูกต่อต้าน จึงมาใช้วิธีคุมด้วยกฎ แล้วเอาองค์กรมากำกับ ก็ต้องคอยดูกันว่าอีกฝั่งเขาจะดิ้นยังไง ถ้าเขาได้ขึ้นมา"
-
"การเมืองไทยหลังรัฐธรรมนูญ 2559 พรรค ส.ว. น่าจะเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุด เพียงแต่ว่าเขาใช้ในทางนิติบัญญัติและควบคุม ไม่ได้ใช้อำนาจบริหาร"
-
"วันก่อนมีคนให้ผมไปทอล์คโชว์เรื่องประเทศไทยก้าวไปข้างหน้า ผมบอกว่าถ้าผมปิดตาทุกคน แล้วเดินจูงไป ท่านทั้งหลายก็จะรู้สึกว่าก้าวไปข้างหน้า แต่ทันทีที่ผมเปิดผ้าปิดตาออก พวกท่านก็จะหันมาต่อว่าผม ทำไมพามาเจอของเก่าแบบนี้ เพราะมันไม่ได้ก้าวไปข้างหน้า แต่เดินเป็นวงกลม"
-
หน้าตาการเมืองไทยมีโอกาสย้อนหลังกลับสู่ปี 2521 ถึงแม้อำนาจหน้าที่ของ ส.ว. ในร่างรัฐธรรมนูญ 2559 กับในยุคประชาธิปไตยครึ่งใบจะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักการแย่งยื้ออำนาจจากนักการเมืองและการควบคุมการเมืองไม่ได้แตกต่างกัน ทว่า สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนคือบริบทแวดล้อมต่างจากเมื่อ 40 ปีก่อนมาก คำถามคือระบบการเมืองที่ถอยหลังไป 4 ทศวรรษจะตอบโจทย์ประชาชนได้อย่างไร และหากตอบไม่ได้ มันจะนำไปสู่อะไร


42D6BC2C-F33F-4E4E-B376-535C6AB86076

จากไลน์....

บทเรียนจากการสอดส่องประชาชนในต่างประเทศ: เมื่อรัฐลุแก่อำนาจและทำลายเศรษฐกิจดิจิทัล

บทเรียนจากการสอดส่องประชาชนในต่างประเทศ: เมื่อรัฐลุแก่อำนาจและทำลายเศรษฐกิจดิจิทัล

เมื่อ 31 มี.ค. 2559 โดย iLaw
2985
ชุดกฎหมายมั่นคงดิจิทัลกำลังจะกลับมา หลังจากคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวเสร็จสิ้น ก่อนที่จะส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ในหลักการและเนื้อหาสาระของกฎหมายยังคงมีปัญหาที่ควรถกเถียงกันอีกมา โดยบทเรียนจากต่างประเทศก็ได้พิสูจน์แล้วว่า การให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในกฎหมายจนเกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วนเหล่านี้ ไม่มีประสิทธิภาพในการปราบปรามการกระทำความผิด และเสี่ยงต่อการใช้ในทางที่ผิด รวมถึงอาจส่งผลเสียต่อสิ่งที่เรียกว่า "เศรษฐกิจดิจิทัล" อีกด้วย
 
อ่านต่อที่ http://ilaw.or.th/node/4072

ประเทศไทย กำลังก้าวไปสู่อนาคตที่น่าสะพึงกลัวนัก! (บทความ ดร. เพียงดิน รักไทย)


ประเทศไทย กำลังก้าวไปสู่อนาคตที่น่าสะพึงกลัวนัก!

เนื่องจากเครือข่ายระบอบราชาธิปไตย ได้ตัดสินใจเลือกวิธีอันกดขี่ข่มเหง (oppression) ทั้งด้วยตัวบทกฎหมายที่พวกเขาสร้างขึ้นเอง กลไกที่เจ้าไทยสร้างไว้เรียกใช้ วัฒนธรรมความเชื่อที่กดจิตสำนึกปวงชนให้สยบยอม รวมถึงมาตรการในการทำให้เกิดความกลัวหลายระดับ  วันนี้ ทางเลือกที่จะเป็นการประนีประนอมของสังคมไทย จึงเหลือน้อยลงทุกที 

รัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นเผด็จการเชิงโครงสร้างอย่างสุดโต่ง และพฤติกรรมการบีบจะให้ได้ผลประชามติตามใจพวกตนอย่างบ้าคลั่ง กำลังสร้างให้แรงต้านของฝั่งประชาธิปไตยนิยมยอมรับไม่ได้และเกิดแรงอัดอั้นตันใจชนิดที่รุนแรงถึงขั้นน่าจะใกล้จุดระเบิดเต็มที  

ในเมื่อฝ่ายหนึ่งจะเอาให้ได้ดั่งใจแบบยอมหัก ไม่ยอมงอ เพราะกลัวจะเ "เสียของ"  และอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ยอมไม่ได้ เพราะหากยอมก็แปลว่า พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิง "หมดตัว" เช่นกัน หากเป็นเกมบนโต๊ะพนัน ก็เรียกกันว่า เทกันหมดหน้าตัก หรือ Winner takes all! เลยทีเดียว

หากรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ด้วยเล่ห์กลและอำนาจมืด ก็ไม่ได้แปลว่า ฝั่งประชาธิปไตยจะยอมรับได้ แม้ว่าโจรกบฏจะมีข้ออ้างว่าชอบธรรมได้เต็มปากยิ่งขึ้น แต่มันจะไม่สามารถเพิ่มการยอมรับหรือสยบยอมในฝั่งประชาธิปไตย ที่รู้เท่าทันและเห็นถึงอันตรายของการมีระบอบเผด็จการราชาธิปไตยที่เขม็งเกลียวกระชับวงจรให้มีฤทธิ์พิฆาตเหี้ยมโหดยิ่งขึ้น และนั่นก็แปลว่า เผด็จการก็จะได้เปรียบในการอ้างเพื่อจัดการกับผู้หัวแข็งและเรียกร้องประชาธิปไตย  กล่าวคือ การเผชิญหน้าในเชิงท้าทายและการใช้กำลังก็จะมีความเป็นไปได้สูงขึ้นด้วย



​หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ความเสี่ยงต่อการเผชิญหน้าก็จะไม่ได้ลดน้อยลง เพียงแต่ฝั่งเผด็จการ จะหาข้ออ้างด้านความชอบธรรมในการรักษาอำนาจและคุมเกมอำนาจก้าวต่อไปยากยิ่งขึ้น และประชาชนฝั่งนิยมประชาธิปไตย ก็จะมีข้ออ้างในการลุกฮือขับไล่ฝั่งเผด็จการได้มากขึ้น แต่ไม่ได้แปลว่า ฝั่งเผด็จการจะลดเจตนารมย์ในการใช้กำลังสำหรับการกดขี่ให้ศัตรูสยบยอม อันเป็นสันดานของเจ้าของระบอบราชาธิปไตยที่ฝังรากลึกในอวัยวะสำคัญของเครือข่ายเผด็จการหลงยุคนี้

ภารกิจของการช่วยบ้านเมืองให้พ้นจากสงครามกลางเมือง เลือดท่วมท้องช้าง จึงเป็นสิ่งที่คนไทยที่มีบารมีและความสามารถต้องมานั่งระดมสมองและคิดแผนปฏิบัติการกู้ชาติโดยไม่ชักช้า... เพราะนาฬิกาเวลาสู่ความพินาศแบบใกล้สิ้นชาติ มันเดินทุกวินาที ไม่ได้หยุดหย่อน

ให้เป็นห่วงแผ่นดินแม่ยิ่งนัก

piangdin
April 2, 2016
San Francisco, California​

ประเทศไทย กำลังก้าวไปสู่อนาคตที่น่าสะพึงกลัวนัก! (บทความ ดร. เพียงดิน รักไทย)


ประเทศไทย กำลังก้าวไปสู่อนาคตที่น่าสะพึงกลัวนัก!

เนื่องจากเครือข่ายระบอบราชาธิปไตย ได้ตัดสินใจเลือกวิธีอันกดขี่ข่มเหง (oppression) ทั้งด้วยตัวบทกฎหมายที่พวกเขาสร้างขึ้นเอง กลไกที่เจ้าไทยสร้างไว้เรียกใช้ วัฒนธรรมความเชื่อที่กดจิตสำนึกปวงชนให้สยบยอม รวมถึงมาตรการในการทำให้เกิดความกลัวหลายระดับ  วันนี้ ทางเลือกที่จะเป็นการประนีประนอมของสังคมไทย จึงเหลือน้อยลงทุกที 

รัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นเผด็จการเชิงโครงสร้างอย่างสุดโต่ง และพฤติกรรมการบีบจะให้ได้ผลประชามติตามใจพวกตนอย่างบ้าคลั่ง กำลังสร้างให้แรงต้านของฝั่งประชาธิปไตยนิยมยอมรับไม่ได้และเกิดแรงอัดอั้นตันใจชนิดที่รุนแรงถึงขั้นน่าจะใกล้จุดระเบิดเต็มที  

ในเมื่อฝ่ายหนึ่งจะเอาให้ได้ดั่งใจแบบยอมหัก ไม่ยอมงอ เพราะกลัวจะเ "เสียของ"  และอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ยอมไม่ได้ เพราะหากยอมก็แปลว่า พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิง "หมดตัว" เช่นกัน หากเป็นเกมบนโต๊ะพนัน ก็เรียกกันว่า เทกันหมดหน้าตัก หรือ Winner takes all! เลยทีเดียว

หากรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ด้วยเล่ห์กลและอำนาจมืด ก็ไม่ได้แปลว่า ฝั่งประชาธิปไตยจะยอมรับได้ แม้ว่าโจรกบฏจะมีข้ออ้างว่าชอบธรรมได้เต็มปากยิ่งขึ้น แต่มันจะไม่สามารถเพิ่มการยอมรับหรือสยบยอมในฝั่งประชาธิปไตย ที่รู้เท่าทันและเห็นถึงอันตรายของการมีระบอบเผด็จการราชาธิปไตยที่เขม็งเกลียวกระชับวงจรให้มีฤทธิ์พิฆาตเหี้ยมโหดยิ่งขึ้น และนั่นก็แปลว่า เผด็จการก็จะได้เปรียบในการอ้างเพื่อจัดการกับผู้หัวแข็งและเรียกร้องประชาธิปไตย  กล่าวคือ การเผชิญหน้าในเชิงท้าทายและการใช้กำลังก็จะมีความเป็นไปได้สูงขึ้นด้วย



​หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ความเสี่ยงต่อการเผชิญหน้าก็จะไม่ได้ลดน้อยลง เพียงแต่ฝั่งเผด็จการ จะหาข้ออ้างด้านความชอบธรรมในการรักษาอำนาจและคุมเกมอำนาจก้าวต่อไปยากยิ่งขึ้น และประชาชนฝั่งนิยมประชาธิปไตย ก็จะมีข้ออ้างในการลุกฮือขับไล่ฝั่งเผด็จการได้มากขึ้น แต่ไม่ได้แปลว่า ฝั่งเผด็จการจะลดเจตนารมย์ในการใช้กำลังสำหรับการกดขี่ให้ศัตรูสยบยอม อันเป็นสันดานของเจ้าของระบอบราชาธิปไตยที่ฝังรากลึกในอวัยวะสำคัญของเครือข่ายเผด็จการหลงยุคนี้

ภารกิจของการช่วยบ้านเมืองให้พ้นจากสงครามกลางเมือง เลือดท่วมท้องช้าง จึงเป็นสิ่งที่คนไทยที่มีบารมีและความสามารถต้องมานั่งระดมสมองและคิดแผนปฏิบัติการกู้ชาติโดยไม่ชักช้า... เพราะนาฬิกาเวลาสู่ความพินาศแบบใกล้สิ้นชาติ มันเดินทุกวินาที ไม่ได้หยุดหย่อน

ให้เป็นห่วงแผ่นดินแม่ยิ่งนัก

piangdin
April 2, 2016
San Francisco, California​