ประชาไท 20 สิงหาคม 2555 >>>ศปช. เปิดตัวรายงานฉบับสมบูรณ์ 933 หน้า รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. 53 เชื่อเป็นฉบับผู้สูญเสียที่
ละเอียดสุดในประวัติศาสตร์
การเมืองไทย แต่ยังติดเข้าไม่ถึงข้อมูลรัฐ เบื้องต้นดูได้ที่
www.pic2010.org เตรียมปรับครั้งสุดท้ายก่อนพิ
มพ์จำหน่าย 1 ก.ย. ขณะที่ฉบับ คอป. ยังเงียบ ส่วน กสม. เสร็จแล้ว รอผ่านกรรมการชุดใหญ่
19 ส.ค. 55 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดแถลงข่าวรายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์
และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53” ของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รั
บผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดื
อน เม.ย.-พ.ค.53 หรือ (ศปช.) พร้อมเตรียมเดินสายอภิ
ปรายรายงานทั่วประเทศ เช่น จ.เชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี เป็นต้น
ทั้งนี้ ศปช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 53 โดยกลุ่มนักกิจกรรมร่วมกับนักวิ
ชาการกลุ่มสันติประชาธรรม มีเจ้าหน้าที่ทำงาน 5-6 คนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสัมภาษณ์พยาน ผู้ได้รับผลกระทบฯ เคยแถลงข่าวมาแล้ว 2 ครั้ง ส่วนในครั้งนี้เป็นการสรุ
ปรายงานร่างฉบับสมบูรณ์ 932 หน้า ซึ่งมีกำหนดพิมพ์เพื่อวางแผงทั่
วไปในวันที่ 1 กันยายนนี้ นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ดังกล่าวยังมีการย่
อยข้อมูลต่างๆ เป็นแผนภาพ แผนที่ต่างๆ ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบจั
ดทำรายงานเรื่องการสลายการชุมนุ
มปี 2553 อีกหน่วยคือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้
นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่
งชาติ (คอป.) ซึ่งหมดอายุการทำงานเมื่อสิ้
นเดือน ก.ค. และมีกำหนดว่ารายงานฉบับเต็
มจะออกราวเดือน ส.ค. นี้เช่นกัน ขณะที่อีกหน่วยหนึ่งคือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
นั้น เคยมีร่างรายงานดังกล่าวเล็
ดรอดออกมาจนเป็นที่วิพากษ์วิ
จารณ์อย่างมากเมื่อเดือน ก.ค. ปีที่ผ่านมา และนำกลับไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ หนึ่งในอนุกรรมการที่ร่วมจั
ดทำรายงานกล่าวว่า ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เขียนเสร็
จแล้ว แต่จะต้องเข้าที่ประชุมใหญ่
ของคณะกรรมการสิทธิก่อนเผยแพร่
สู่สาธารณะ ซึ่งน่าจะดำเนินการได้เร็วๆ นี้
พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการจากกลุ่มสันติ
ประชาธรรม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ถือเป็นการบันทึ
กข้อเท็จจริง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกั
บประชาชน โดยมุ่งหวังว่าในอนาคต การรวบรวมข้อมูลนี้
จะสามารถนำไปสู่การสร้างความเป็
นธรรมกับผู้ได้รั
บผลกระทบและนำคนผิดมาลงโทษได้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญของคณะทำงานคื
อการเข้าไม่ถึงข้อมูลจากภาครัฐ ไม่มีอำนาจในการเรียกเอกสารหรื
อเจ้าหน้าที่มาให้ข้อมูล แต่ก็ได้มีการรวบรวมข้อมู
ลเอกสารทางการเท่าที่มี
การเผยแพร่และหามาได้ไว้ทั้งหมด รวมถึงหลักฐานจำพวกคลิปวิดีโอที
่ถูกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็
ตจำนวนมาก และส่วนใหญ่ถูกลบไปแล้ว
“นี่เป็นรายงานที่สะท้อนเสี
ยงและมุมมองของประชานที่ตกเป็
นเหยื่อ และเป็นเสมือนคำประกาศต่อสั
งคมไทย ว่า เราจะไม่มีวันยอมรั
บความพยายามใดๆ ที่จะให้ผู้ตกเป็นเหยื่
อของความรุนแรง ผู้ที่สูญเสีย ลืม เงียบเฉยและยอมจำนน ต่อความอยุติธรรม เราไม่มีวันยอมรับการเปลี่
ยนการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนให้
เป็นสิ่งถูกกฎหมาย เราไม่มีวันไม่ยอมรับวั
ฒนธรรมการบู
ชาความปรองดองและความมั่
นคงของรัฐ แต่ดูถูกเหยียบย่ำสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ของผู้ถูกกระทำ เราจะไม่มีวันยอมรับวั
ฒนธรรมการเมืองที่ช่วยโอบอุ้
มประเพณีของการปล่อยให้ผู้
กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล” พวงทอง กล่าว
กฤตยา อาชวนิจกุล อาจารย์จากศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า รายงาน ศปช. เป็นหนังสือเล่มแรกใน ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยที่ให้
รายละเอียดผู้เสียชีวิตเป็นรายๆ ไป เมื่อก่อนแม้มีการทำรายงาน ก็เป็นเพียงเชิงอรรถ เป็นฟุตโน้ตเล็กๆ ว่าใครตายจำนวนเท่าไร แต่งานนี้ต้องการบอกว่า เชิงอรรถนี้มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้
การอำพราง ความอัปลักษณ์และความอำมหิต ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่
าง คอป. ก็อิหลักอิเหลื่อ มีความขัดแย้งในตนเอง ในหน้าที่ค้นหาความจริงกั
บการปรองดอง ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่
งชาติก็ล้มเหลวในการทำหน้าที่
กฤตยา ยังกล่าวถึงประเด็นสำคัญเกี่
ยวกับ “ความตายที่พร่าเลือน” ซึ่งเป็นผลจากการชันสูตรพลิกศพ และสามารถสรุปได้เลยว่าไม่ได้รั
บความเอาใจใส่จากแพทย์
มากพอในการทำรายงานการชันสู
ตรพลิกศพที่ละเอียด ที่มีอยู่ก็มีความหละหลวม และมีข้อมูลผิดพลาดหลายราย จนญาติของผู้เสียชีวิตต้
องทำคำร้อง เช่น กรณีนายอัครเดช ขันแก้ว ผู้เสียชีวิตที่ถูกยิงในวัดปทุ
มฯ รายงานชันสูตรศพบอกว่า ถูกทุบด้วยของแข็ง
“ที่สำคัญ รายงานเหล่านี้ไม่เผยแพร่
สาธารณะ เราขอเรียกร้องให้เปิดเผย เพราะในปี 2535 มีการนำเอกสารชันสูตรพลิกศพ เปิดเผยสาธารณะ และสามารถนำมาวิเคราะห์เชิงวิ
ชาการได้” กฤตยา กล่าว
นอกจากนี้กฤตยายังกล่าวอีกว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ การปฏิเสธความยุติธรรม ดังนั้นจึงเสนอให้ดีเอสไอโอนเรื
่องกลับให้สำนักงานตำรวจแห่
งชาติเพื่อให้มีการไต่สวนการตาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว ที่ผ่านมาดีเอสไอใช้เวลานานมาก จนถึงเดือนมกราคม 2554 ถึงยอมแถลงว่าการตายแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคิดว่าเป็นการกระทำกั
บ นปช. และกลุ่มเกี่ยวพัน จำนวน 12 ราย กลุ่มสอง พบพยานแล้วว่าเกี่ยวกั
บการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ตอนแรกระบุว่ามี 13 ราย แต่เมื่อ 18 พ.ค. ที่ผ่านมาระบุว่ามี 22 ศพ กลุ่มสาม สอบสวนแล้วแต่ไม่ปรากฏตัวผู้
กระทำผิด 64 ราย แบ่งเป็น 18 คดี
เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมงาน กล่าวว่า กลุ่ม นปช. ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา จัดการเลือกตั้งใหม่ ถือเป็นข้อเรียกร้องทางการเมื
องตามครรลอง แต่สถานการณ์กลับพาไปสู่ความรุ
นแรง โดยความรุนแรงเริ่มต้
นจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ของรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 เม.ย. จากเหตุการณ์ล้อมสภาของกลุ่ม นปช. ซึ่งไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็เป็
นการจัดการที่เกินกว่าเหตุ และการใช้กฎหมายนี้นำไปสู่
การใช้กำลังของหน่วยทหารจนเกิ
ดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการประกาศ “ขอคืนพื้นที่” ในวันที่ 10 เม.ย. 2553 ซึ่งเกิดการปะทะกัน ดันกันในพื้นที่โดยรอบราชดำเนิน แต่ความรุนแรงถึงขั้นนองเลื
อดเกิดขึ้นหลัง 5 โมงเย็นถึง 3 ทุ่มครึ่ง
เกษม กล่าวถึงปมปัญหาสำคัญเรื่อง “ชายชุดดำ” ซึ่งคนเสื้อแดงเห็นว่าเป็นฮีโร่
มาช่วยในเวลาที่เพลี่ยงพล้ำ ขณะที่ ศอฉ.เห็นว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนั
้น เขาเห็นว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่
มีหน่วยงานใดให้ความชัดเจนได้ และเป็นปริศนาภายในกองทัพเอง ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่า ชายชุดดำเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ ฉวยใช้สถานการณ์เพื่อสลายขั้
วอำนาจในกองทัพ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกั
บคนเสื้อแดงเลยแม้แต่น้อย นอกจากนี้ทหารกับคนชุดดำยังไล่
ล่ากัน ออกมานอกบริเวณปะทะ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่สวนสัตว์
ดุสิต เสียชีวิตเพราะลูกหลงจากการปะทะ และจากหลักฐานชี้ชัดว่าถูกยิ
งโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
เกษมกล่าวว่า สิ่งที่เห็นต่อเนื่องจากเหตุ
การณ์ความรุนแรงคือ คนเสื้อแดงก้าวพ้นจากข้อกล่
าวหาว่าอยู่ในเงาของทักษิณ เขามีพลวัตรทางการเมื
องของตนเองและมีการเรียกร้
องความเป็นธรรม ยอมไม่ได้กับคนเจ็บคนตาย ทำให้หน่วยการเมืองต้องคล้อยตาม และพยายามจัดการเรื่องนี้
ขวัญระวี วังอุดม จากโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิ
มนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล กล่าวว่า การวิเคราะห์จากเอกสารทางการ เอกสารชันสูตรศพ มีข้อจำกัดที่เอกสารเหล่านี้
อาจระบุข้อมูลคลาดเคลื่อน และ ศปช. ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านกระสุนปืน แต่ก็พยายามตรวจเช็
คจากพยานในเหตุการณ์และญาติ โดยมีการสัมภาษณ์พยานเกือบ 80 คน ซึ่งถึงที่สุดรายงานนี้
ควรนำมาเทียบดูกับฉบับของ คอป.ที่กำลังจะออกมาเพื่อให้ได้
ข้อมูลที่สมบูรณ์
ขวัญระวี เสนอว่าสิ่งที่ต้องดำเนินการต่
อไป คือ ต้องสร้างความจริงให้ปรากฏ ไม่ว่าผ่านวิธีการไต่สวน ตั้งคณะกรรมการอิสระที่เป็
นกลาง, นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ,ห้
ามใช้ศาลทหาร หรือพิจารณาคดีลับ, สร้างหลักประกันว่ามาตรา 17 พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะไม่มีอุปสรรค, ห้ามใช้โทษประหารชีวิต, ชดเชยเยียวยาอย่างทั่วถึง, ปฏิรูปกลไก สถาบันทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม ทนายความอิสระ ที่ร่วมรวบรวมข้อมูลเรื่
องการบาดเจ็บและเสียชีวิ
ตจากการชุมนุมกล่าวว่า การรวมรวมข้อมูลยากมากเพราะไม่
ใช่หน่วยงานของรัฐ เมื่อมีการทำจดหมายขอข้อมูลไป บางหน่วยงานก็ไม่ให้เพราะถือว่
าไม่ใช่คู่ความในคดี นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลจากผู้จับกุมต่างๆ ในหมู่ประชาชนเองก็เกิดสงสั
ยหวาดระแวงว่าอาจจะเป็น กอ.รมน. หรือเปล่าก็จะถูกปฏิเสธการให้ข้
อมูลจากประชาชนด้วย
ในการชุมนุมที่เก็บข้อมูลหลังจากสลายการชุมนุมปี 2553 จนถึง เม.ย. 2555 พบว่า ประชาชนที่ถูกจับกุมมี 1,857 คน ซึ่งบางคนไม่ได้ร่วมชุมนุมด้วย และจากจำนวนทั้งหมดถูกดำเนินคดี 1,763 คน โดยกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีคดีมากที่สุด รองลงมาคือภาคอีสาน โดยแยกลักษณะการฟ้องได้ 3 ลักษณะ คือ คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, คดีอาญาทั่วไปที่ไม่ได้ฟ้องด้วย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และการฟ้อง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ร่วมกับความผิดอาญาฐานอื่นในการดำเนินคดีมีการรวบรัด มีหลายคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ตัดสินคดีโดยลงโทษจำคุก 1 ปี แล้วจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ยกฟ้องเพราะการดำเนินคดีในศาลชั้นต้นผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์เชื่อว่าไม่ได้แจ้งสิทธิให้จำเลย คำพิพากษาไม่ชอบก็ต้องกลับมาดำเนินคดีใหม่ เมื่อมาดำเนินคดีใหม่ก็ปัญหาคือ พยานโจทก์ที่ใช้ส่วนมากเป็นทหาร ต้องไปสืบพยานกันตามแหล่งที่อยู่ของทหารตามจังหวัดต่างๆ ทำให้ผู้เสียหายจำนนในการต่อสู้เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงจากการอ่านคำฟ้องหลายคดีพบว่า พยานหลักฐานหลายชิ้นที่ถูกนำมาใช้เพื่ออ้างว่าผู้ต้องหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. คือ ตีนตบ ธง นปช. หมวก ผ้าพันคอ พลุ ตะไล เป็นต้นเสาวลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีผู้ที่ติดคุกอยู่
ระหว่างการพิจารณาคดี ไม่ได้รับการประกันตัวอีก 22 คน โดยเธอระบุว่าการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่งผลกระทบต่อกระบวนการดำเนิ
นคดีคือมีการซ้อม มีการจูงใจให้รับสารภาพ แต่ปัญหากระบวนการยุติธรรมนั้
นมีมาอย่างยาวนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมีช่วงเสื้อแดงชุมนุ
ม เพียงแต่การชุมนุมในทางการเมื
องทำให้เห็
นสองมาตรฐานของกระบวนการยุติ
ธรรม และขอเรียกร้องให้รัฐบาลพรรคเพื
่อไทยซึ่งเป็นรัฐบาลที่เติ
บโตมาจากหยาดเหงื่อและเลือดเนื้
อของคนเสื้อแดงดำเนินการให้สิ
ทธิประกันตัวแก่นักโทษการเมื
องเหล่านั้น
หมอนิรันดร์ ร่วม “ปฏิญญาหน้าศาล” ย้ำการมีนักโทษการเมืองคือการละเมิดสิทธิฯ
ชี้หลักสิทธิมนุษยชนของสั
งคมไทยกำลังถูกท้าทาย และเปลี่ยนผ่าน เสนอสิทธิในการรับรู้ความจริง-
สิทธิในการที่จะเอาคนผิ
ดมาลงโทษ-สิทธิที่จะได้รั
บการชดเชยและเยียวยา คือสิทธิสำคัญ ต้องสู้ต่อไป
19 ส.ค. 55 เวลา 14.00 น. บริเวณหน้าศาลอาญา รัชดาภิเษก กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลซึ่งจัดกิ
จกรรมหน้าศาลอาญาทุกอาทิตย์ ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “นักโทษการเมืองกับสิทธิมนุ
ษยชน” โดยมี นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อนุกรรมการด้านสิทธิพลเมื
องและสิทธิทางการเมือง ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่
งชาติ มาเป็นวิทยากร
นายแพทย์นิรันดร์กล่าวว่าคำที่
ตรงกว่าคำว่านักโทษการเมือง คือนักโทษที่มีความคิดเห็นที่ต่
าง การมีความคิดเห็นที่แตกต่
างในระบอบประชาธิปไตยถือว่าเป็
นเรื่องดี และสะท้อนความเป็นประชาธิปไตย ถ้ากำหนดให้คิดเหมือนกันนั่นคื
อระบอบเผด็จการ ปัญหาการมีคนคิดเห็นต่างแล้วต้
องเข้าไปอยู่ในคุก โดยใช้กระบวนการยุติธรรมเป็
นเครื่องมือนั้น ยืนยันว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุ
ษยชนทั้งสิ้น
ในอดีต คนที่เห็นต่างทางการเมืองหรื
อเห็นต่างในเรื่องนโยบายสาธารณะ ก็มักถูกกล่าวโทษด้วยกฎหมายอาญา เช่น ถูกตราหน้าว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ในสมัยสงครามเย็น หรือนักศึกษาในสมัย 6 ตุลา 2519 ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ กรณี 4 รัฐมนตรีจากภาคอีสานสมัยทศวรรษ 2490 ที่ถูกมองว่าจะแบ่งแยกดินแดน รางวัลที่ได้รับคือถูกฆ่าตาย รวมทั้งพี่น้องภาคใต้ เช่น กรณีหะยีสุหลง ก็มีความเห็นต่างทางนโยบายให้
สามจังหวัดภาคใต้มีอิสระในการจั
ดการนโยบายตนเอง ก็ถูกกล่าวหาว่าแบ่งแยกดินแดน และรางวัลที่ได้รับคือถูกฆ่
าตายเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจว่าการต่อสู้
ในเรื่องความเห็นต่างทางการเมื
องมีมาตลอด และใน 4-5 ปีนี้ก็มีกรณีหลายอย่างที่ทำให้
เกิดการละเมิดสิทธิคนที่มี
ความเห็นต่าง อันทำให้เกิดนักโทษการเมือง เช่น การใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์, กฎหมายความมั่นคง, กฎหมายการชุมนุมต่างๆ
แม้แต่กรณีชาวบ้านชุมนุมเรียกร้
องประเด็นทรัพยากร อย่างกรณีเขื่อนปากมูนหรือเขื่
อนราษีไศลที่ถูกจับ ก็คือข้อหาก่อการร้าย ฉะนั้นเวลาที่จะจัดการกับคนที่
เห็นต่างหรือขัดต่ออำนาจ มักจะถูกหาเหตุจากในเรื่
องกฎหมาย ถ้าเป็นเรื่องทรัพยากรก็
จะเอากฎหมายสิ่งแวดล้อมมาใช้ เช่น ชาวบ้านที่อยู่ในป่าก็โดนข้
อหาทำให้โลกร้อน หรือที่หนองแซง ซึ่งคัดค้านโรงไฟฟ้า ก็ถูกตำรวจใช้กฎหมายสลายการชุ
มนุม
ส่วนกรณีมาตรา 112 ปัญหาของกฎหมายนี้คือการบังคั
บใช้ และคนที่ใช้อำนาจ เช่น ตำรวจ อัยการ และตุลาการ จุดอ่อนสำคัญของกฎหมายคื
อใครไปแจ้งความก็ได้ ทำให้เกิดปัญหาว่าคนที่กล่
าวหานำสถาบันมาใช้ทำลายล้างฝ่
ายตรงข้าม คู่ต่อสู้ทางการเมือง หรือคนที่คิดเห็นต่างทางการเมื
อง
ประเด็นที่สำคัญของการแก้ปั
ญหาจากมาตรา 112 คือการสร้างความชัดเจนให้เกิ
ดความสมดุลระหว่างเสรี
ภาพในการแสดงความคิดเห็นกั
บการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ สังคมต้องแยกให้ออกว่าตรงไหนคื
อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แบบไหนคือการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย รวมทั้งความสับสนระหว่างพื้นที่
ศักดิ์สิทธิ์กับพื้นที่สาธารณะ ต้องแยกให้ออก ถ้าแยกไม่ออกจะเป็นช่องทำให้
คนนำสถาบันมาทำลายล้างกัน และจะทำให้สถาบันเสื่อมเสียเสี
ยเอง นอกจากนั้น 112 ยังถูกใช้พ้องไปกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้ในการปิดเว็บไซต์หลายหมื
่นเว็บ มีส่วนที่กระทบต่อเสรี
ภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็
นจำนวนมาก
ตั้งแต่ช่วงก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมการสิทธิฯ ได้มีการตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่องการบังคับใช้มาตรา 112 โดยมีนายจอน อึ้งภากรณ์เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งรายงานการศึกษาปัญหาเรื่องนี้ใกล้แล้วเสร็จ จึงจะได้มีการแถลงถึงข้อสรุปดังกล่าวต่อไปนายแพทย์นิรันดร์ยังกล่าวถึ
งการใช้กฎหมายความมั่นคง เช่น พ.ร.บ.ความมั่นคง หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทั้งในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้
และในการชุมนุทางการเมือง ว่าล้วนเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุ
ดและทำให้ยิ่งแก้ไม่ได้ เพราะนำไปสู่การใช้อำนาจละเมิ
ดสิทธิต่างๆ ทำให้มีการใช้
แนวทางการทหารมานำการเมือง ทั้งที่ปัญหาต่างๆ ล้วนเป็นปัญหาทางการเมือง ตนมีความเห็นไปถึงนายกฯ ว่าไม่ควรประกาศใช้ไม่ว่ารั
ฐบาลไหนทั้งสิ้น และต้องเน้นการคุ้มครองสิทธิ
ในการชุมนุมอย่างสงบ การชุมนุมทางการเมืองในช่วงที่
ผ่านมาต้องยอมรับว่ามีการละเมิ
ดสิทธิการชุมนุ
มและการแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก รวมถึงการฆ่ากันตาย 90 กว่าศพ
ส่วนในหลายกรณีที่ถูกจำคุกไปแล้
ว ก็ต้องเน้นที่สิทธิ
ในกระบวนการยุติธรรม เช่น การถูกพิจารณาเป็นผู้บริสุทธิ์
อยู่จนกว่าศาลจะตัดสิน การให้สิทธิการประกันตัว สิทธิการดูแลสุขภาพ กระบวนการพิจารณาที่รวดเร็ว ซึ่งสิทธิเหล่านี้รัฐธรรมนูญคุ้
มครองไว้ทั้งสิ้น แต่ในความเป็นจริงมันก็ไม่ได้
เป็นเช่นนั้น
นายแพทย์นิรันดร์ย้ำว่าปัญหาเรื
่องสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่คนต้
องการสิทธิ ต้องเป็นฝ่ายต่อสู้เรียกร้อง ถ้าไม่ต่อสู้ ก็ไม่มีใครอยู่ๆ มามอบให้ ไม่มีรัฐบาลไหนมอบให้ บางเรื่องที่ยากก็อาจต้องใช้
เวลานาน และยังต้องทำให้หน่วยงานรั
ฐยอมรับว่าอำนาจเป็นของประชาชน ไม่ใช่ของคุณ ถ้าหากอ้างกฎหมาย แล้วบอกว่าคุณใหญ่กว่า ก็มีลักษณะของนักเลง
นายแพทย์นิรันดร์เสนอว่าสิทธิ 3 ประการที่สำคัญและต้องต่อสู้เรี
ยกร้องต่อไป คือ หนึ่ง สิทธิในการรับรู้ความจริง เพราะสังคมไทยมักไม่ยอมรั
บความจริงและความจริงไม่ถู
กทำให้ปรากฏ สอง สิทธิในการที่จะเอาคนผิดมาลงโทษ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการอาฆาตแค้
น แต่ประเด็นคือไม่ต้องการให้มี
การทำผิดซ้ำอีก ส่วนจะให้อภัยกันหรือนิ
รโทษกรรมนั้นเดี๋ยวค่อยว่ากันอี
กที แต่ต้องคุยกันให้ได้ก่อนว่
าใครผิด และสาม สิทธิที่จะได้รับการชดเชยและเยี
ยวยา
นายแพทย์นิรันดร์มองว่
ากระบวนการต่อสู้
ของประชาชนในขณะนี้ ไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องการแบ่
งฝ่าย แต่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้เพื่
อความเป็นธรรมและความถูกต้องด้
วย และต้องยอมรับว่ากระบวนการยุติ
ธรรมได้ทำลายสิทธิและความเป็
นธรรมในสังคม โดยตนก็ไม่รู้เหมือนว่าถ้
ากระบวนการยุติธรรมไม่สามารถเป็
นที่พึ่งให้ได้ บ้านเมืองจะเกิดอะไรขึ้น
ในช่วงท้าย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้
สอบถามนายแพทย์นิรันดร์ว่าคิ
ดอย่างไรเรื่องการปฏิบัติกับนั
กโทษที่อยู่ระหว่างการต่อสู้คดี
เหมือนกับนักโทษในคดีที่สิ้นสุ
ดแล้ว นายแพทย์นิรันดร์กล่าวว่าเป็
นเรื่องที่มีมาตลอด คุกถูกทำให้เป็นที่ขังคนจน ตัวอย่างในพื้นที่สามจังหวั
ดภาคใต้ ปัญหาเรื่องการประกันตัว การมีทนายดูแล จะหนักกว่านี้อีก หลายคนไม่กล้ามาร้องเรียน รวมทั้งยังมีการซ้อมทรมานต่างๆ ซึ่งเราคงจะหวังให้คนภายในแก้
ไม่ได้ แต่ประชาชนคงต้องเป็นฝ่ายต่อสู้
เรียกร้องเอง
นอกจากนั้นยังมีคำถามจากผู้ฟังอีกว่ารู้สึกอย่างไรที่ต้องทำงานภายใต้การแบ่งขั้วทางการเมือง และทำงานอย่างไรภายใต้แรงกดดัน นายแพทย์นิรันดร์กล่าวว่าไม่ค่อยลำบากใจ ก่อนเป็นคณะกรรมการสิทธิฯ ตนก็เคยเป็น ส.ว. มาก่อน ก็ถูกหาว่าเป็นเสื้อเหลือง บางทีก็ถูกเสื้อเหลืองหาว่าเข้าข้างเสื้อแดง แต่ยืนยันว่าส่วนตัวทำงานโดยหลักการมาตลอด ไม่ได้ยึดในสีเสื้อหรือตัวบุคคล แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางอย่างก็ทำได้ บางอย่างทำได้ช้า หรือบางอย่างก็ทำไม่ได้ แต่ในภาพรวมเห็นว่าการเมืองภาคประชาชนมันโตขึ้น มีคนใหม่ๆ เกิดขึ้น อย่างกลุ่มปฏิญญาหน้าศาลนี้เป็นต้น และตอนนี้สังคมไทยอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน สิ่งที่ต้องระวังคือความขัดแย้งและแตกต่างกลายเป็นการฆ่ากันและละเมิดสิทธิต่อกัน ส่วนการวิจารณ์คณะกรรมการสิทธิฯ ก็เป็นเรื่องที่รับฟังได้นายแพทย์นิรันดร์ได้กล่าวสรุ
ปในตอนท้ายว่า ประเด็นนักโทษการเมืองเกิดขึ้
นจากผลพวงของการละเมิดสิทธิมนุ
ษยชนและระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะสิทธิมนุษยชนเรื่องเสรี
ภาพและความเสมอภาค ที่ถูกละเมิดมาก และคนละเมิดก็คือคนที่มี
อำนาจทางการเมือง เมื่อมีปรากฏการณ์เกิดขึ้น มีคนต้องการการเปลี่ยนแปลง คนมีอำนาจเห็นว่าคุณต่างก็ต้
องโดนจับ แต่หลักสิทธิมนุษยชนของสั
งคมไทยในช่วงนี้กำลังถูกท้าทาย และกำลังเป็นช่วงเปลี่ยนผ่
านของการต่อสู้เรื่องสิทธิมนุ
ษยชนในทุกด้าน ทั้งสิทธิชุมชน สิทธิความเป็นคน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งกำลังตื่นขึ้นทั่วประเทศ
""""""""""""""""""""""""""""""
""""""""""""""""""""""""""""""
End"""""""""""""""""""""""""""
"""""""""""""""""""""""""
แถลงการณ์ 'อัมสเตอร์ดัม' กรณีถูก 'กองทัพไทย' แจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท
ประชาไท 20 สิงหาคม 2555 >>>18 ส.ค. 55 เว็บไซต์โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม (ไทย) เผยแพร่ แถลงการณ์นายอัมสเตอร์ดัมกรณี
กองทัพไทยเข้าแจ้งความข้อหาหมิ่
นประมาท ระบุเนื้อหา ดังนี้
ในวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555 หนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยมติชนรายงานว่า ผู้บัญชาการทหารบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชามอบหมายให้ พ.ท.สายัณห์ ขุนขจีฟ้องร้องดำเนินคดีหมิ่นประมาททางอาญาต่อนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ที่ปรึกษากฎหมายของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.)
การแจ้งความเกิดจากคำปราศรัยของนายอัมสเตอร์ดัมในกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 วันครบรอบที่กองทัพปราบปรามการชุมุนมอย่างทารุณซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตของประชาชน 98 ราย ในระหว่างการปราศรัย ซึ่งสามารถเข้าไปดูวิดีโอแบบเต็มได้ที่นี่ นายอัมสเตอร์ดัมประณามประวัติการสังหารหมู่พลเรือนของกองทัพไทยและวิจารณ์รัฐบาลสหรัฐว่าขายอาวุธและฝึกกองทัพไทยเพื่อสังหารพลเรือนอยู่เป็นประจำ คำปราศรัยของนายอัมสเตอร์ดัมถูกแปลเป็นภาษาไทย ดังนั้น จึงมีการแจ้งความดำเนินคดีต่อล่ามด้วยเช่นกัน พลเอกประยุทธ์กล่าวหาว่าข้อความดังกล่าวทำลายชื่อเสียงของกองทัพไทย
ข่าวเรื่องการแจ้งความทางอาญาต่อนายอัมสเตอร์ดัมและล่ามเกิดขึ้นในปลายสัปดาห์นี้ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กองทัพไทยและอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ได้ออกมาข่มขู่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งมีหน้าที่สอบสวนการปราบปรามการชุมนุมปี 2553 อย่างเปิดเผย รวมถึงตอบโต้สื่อที่ถามเรื่องการใช้พลซุ่มยิงสังหารประชาชนในปี 2553 อย่างรุนแรง เป็นเรื่องชัดเจนที่นายอภิสิทธิ์และพลเอกประยุทธ์รู้สึกจนตรอกมากขึ้นเรื่อยๆ ในความพยายามที่จะปกป้องระบบการทำผิดแล้วลอยนวลซึ่งบ่งบอกถึงถึงความมีประสิทธิภาพของการทำงานของนายอัมสเตอร์ดัมและทีมงาน
นายอัมสเตอร์ดัมยังคงยืนยันตามคำปราศรัยของเขาและมุ่งมั่นทำงานเพื่อนำตัวผู้นำระดับสูง (รวมถึงพลเอกประยุทธ์และอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) มาลงโทษในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่ก่อขึ้นในระหว่างการปรามปรามการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี 2553 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แน่นอนในครั้งนี้คือ คนที่สังหารพลเรือนเพื่อปกป้องอำนาจและอภิสิทธิ์ของตนจะไม่สามารถรอดพ้นจากการรับผิดในการกระทำของพวกเขาอย่างแน่นอน
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""End""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
เตรียมคุมเข้ม 'ศาลอาญา' ถอนประกันตัวแกนนำ นปช. 22 ส.ค. นี้
กรุงเทพธุรกิจ 20 สิงหาคม 2555 >>>นครบาล เตรียมพร้อมคุมเข้ม" ศาลอาญา " วันพิจารณาถอนประกันตัวแกนนำเสื
้อแดง 22 ส.ค. นี้
พล.ต.ต.สำเริง สุวรรณพงษ์ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 2 กล่าวถึงการดูแลความสงบเรียบร้
อยรักษาความปลอดภัยศาลอาญา ในวันที่ 22 ส.ค. นี้ที่ศาลจะมีการพิ
จารณาถอนประกันตัวแกนนำเสื้อแดง 18 คน โดยตำรวจนครบาลจะใช้มาตรการเดิ
มที่ใช้ในการดูแลความปลอดภัยครั
้งที่ผ่านมาคือใช้กำลังตำรวจคุ
มเข้มดูแลความสงบเรียบร้อย 3 กองร้อย พร้อมทั้งประกาศห้ามผู้ชุมนุ
มเข้ามาภายในบริเวณศาลเช่นเดิม ซึ่งกองบั
ญชาการตำรวจนครบาลจะประชุมผู้ที
่เกี่ยวข้องทบทวนการปฏิบัติเพื่
อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอี
กครั้งวันที่ 20 ส.ค. นี้
นอกจากนี้ตำรวจได้ประสานไปยั
งแกนนำเสื้อแดงทั้ง 18 คนที่จะมาศาลว่า ให้เดินทางมาด้วยความสงบห้ามใช้
เครื่องขยายเสียงอย่างเด็
ดขาดและห้ามบุกรุกเข้าพื้นที่ต้
องห้ามเข้าพื้นที่ศาลเพราะจะเป็
นการรบกวนประชาชนผู้มาติดต่
อราชการซึ่งแกนนำก็ตอบรับพร้
อมรับปากจะให้ความร่วมมือเป็
นอย่างดี
จากการประชุมร่วมกันระหว่
างตำรวจนครบาล ตำรวจปราบปราม อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ มีการสั่งกำชับให้คุมเข้มการรั
กษาความปลอดภัยเน้นตรวจเข้
มจำเลยและผู้ติดตามที่จะเข้าห้
องพิจารณาต้องแลกบัตรจำแนกสี การเข้าออกของสื่อมวลชน ผู้เดินทางมาชุมนุมสนับสนุนให้
กำลังใจต้องอยู่ในพื้นที่ที่
จะเตรียมไว้ให้ และการอำนวยความสะดวกให้คู่
ความและประชาชน
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""End"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
'อัมสเตอร์ดัม' ยันคำปราศรัย ไม่สะท้านถูกแจ้งความ
ไทยรัฐ 20 สิงหาคม 2555 >>>'โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม' ยืนยันตามคำปราศรัยแม้ถูกกองทั
พบกแจ้งความหมิ่นประมาท ฟุ้งลุยเอาผิดคนสั่งการสั
งหารประชาชน ชี้ไม่มีทางรอดความผิด...
เมื่อวันที่ 20 ส.ค. มีรายงานว่า นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความ ซึ่งรับทำคดีสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในกระบวนการยุติธรรมนอกประเทศ ที่ถูกกองทัพบกแจ้งความดำเนินคดีหมิ่นประมาทกรณีปราศรัยที่เวทีราชประสงค์ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2555 โดยมีล่ามแปลเป็นภาษาไทย มีเนื้อหาเกี่ยวกับสไนเปอร์ การซื้ออาวุธจากสหรัฐฯ และการเสียชีวิตในระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ได้นำเสนอเนื้อหาตอบโต้การถูกแจ้งความดำเนินคดีผ่านทางเว็บไซต์ชื่อทั้งนี้ นายอัมสเตอร์ดัมได้ยืนยั
นตามคำปราศรัยและจะเดินหน้
าทำงานเพื่อลงโทษผู้นำระดับสู
งที่มีส่วนสั่งสั
งหารประชาชนตามข้อหาอาชญากรรมต่
อมนุษยชาติ และไม่มีทางรอดพ้นความผิดที่ได้
กระทำ
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""End""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
′ธิดา′ ชี้หวังสกัด ′อัมสเตอร์ดัม′
มติชน 20 สิงหาคม 2555 >>>นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. กล่าวว่า เข้าใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ ฟ้องหมิ่นประมาททนายอัมสเตอร์ดั
ม เป็นเพียงการแสดงออกเชิงสัญลั
กษณ์เพื่อต้องการรักษาภาพลักษณ์
ของกองทัพเอาไว้ แต่อีกด้านหนึ่งเป็นการสกัดกั้
นไม่ให้ทนายอัมสเตอร์ดัมเข้
ามายังประเทศไทยเพื่อลุยงานต่อ เนื่องจากคดีความถึงศาล หลักฐานการสอบสวนหรือสำนวนต่างๆ ถูกเปิดเผยออกมา บางส่วนก็อยู่ในมือของทนายอั
มสเตอร์ดัมแล้ว อีกทั้งยังเป็นการสกัดกั้นไม่
ให้เขาเข้ามาไทย ซึ่งกำหนด จะมาวันที่ 15-16 กันยายน เพื่อร่วมงานครบรอบ 6 ปี การทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ นปช.จัดขึ้นที่อนุสาวรีย์
ประชาธิปไตย
"ความคิดของท่าน ผบ.ทบ. ยังอยู่ในปริมณฑลที่จะปกป้
องกองทัพ ความคิดดังกล่าวนั้นไม่ใช่เรื่
องผิด การที่ท่านแสดงออกแบบนี้ เป็นการส่งสัญญาณให้ทหารหรื
อคนในกองทัพเชื่อมั่นว่าท่
านปกป้องพวกเขาได้ แต่กลับกันเมื่อมีการดำเนินคดี
หรือกล่าวหาฝ่ายประชาชน ท่านไม่เห็นเคยออกมาปกป้
องพวกเราบ้างเลย แต่ทั้งหมดก็เป็
นไปตามกระบวนกฎหมาย การทำความจริงให้ปรากฏยังเป็
นเรื่องที่สำคัญสำหรั
บประเทศไทย" นางธิดา กล่าว
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""End""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""