ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Saturday, January 30, 2016

เลือกตั้งปลายปี 2560 จริงหรือ?

เลือกตั้งปลายปี 2560 จริงหรือ? 




เลือกตั้งปลายปี2560จริงหรือ? : คมวิเคราะห์การเมืองรอบสัปดาห์ โดยสมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์

           คำถามใหญ่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ในปี 2560 จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหรือไม่ จะเป็นตามปฏิทินเดิมคือ ประมาณกลางปี หรือจะต้องเลื่อนออกไปปลายปี หรือจะนานกว่านั้น?

         จุดเริ่มของคำถามนี้มาจาก "มีชัย ฤชุพันธุ์" ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เรื่องการทำประชามติเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ โดยนายมีชัยบอกทำนองว่า ไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะจะทำให้ประชาชนไม่สนใจดูเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะไปดูที่เงื่อนไขมากกว่า

         ประโยคที่ทำให้เป็นประเด็นขึ้นมาคือ เมื่อนักข่าวถามว่า หากไม่แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้วร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ จะทำอย่างไร ซึ่งมีชัยตอบว่า "ถ้าประชามติไม่ผ่าน รัฐธรรมนูญปัจจุบันก็บังคับใช้ต่อไป" ซึ่งมีบางคนไปตีความว่า หมายถึงจะเอารัฐธรรมนูญชั่วคราวมาใช้เป็นการถาวร หมายถึงจะไม่มีการเลือกตั้งในปี 2560 ตามโรดแม็พที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เคยกำหนดไว้หรือไม่

         ร้อนถึง "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกฯ ในฐานะหัวหน้า คสช. ต้องออกมายืนยันว่า จะให้มีการเลือกตั้งในปี 2560 ให้ได้ โดยระบุลงไปด้วยว่า เป็นเดือนกรกฎาคม 2560 ยกเว้นถ้าให้ไปเลือกตั้งแล้วยังทะเลาะกันไม่ไปเลือกตั้ง อันนั้นนายกฯ บอก ก็ช่วยไม่ได้แล้ว

         แค่วันเดียวหลัง พล.อ.ประยุทธ์ออกมาการันตีว่าจะให้มีการเลือกตั้ง กรกฎาคม 2560 ก็มีข่าวออกมาว่า การเลือกตั้งอาจขยับไปเป็นปลายปี 2560 เพราะในบทเฉพาะกาลได้เขียนกำหนดระยะเวลาในการออกกฎหมายลูก หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องออกให้เสร็จก่อนเลือกตั้งว่า ให้ใช้เวลาไม่เกิน 8 เดือน และให้ไปเลือกตั้งภายใน 5 เดือน หลังทำกฎหมายลูกเสร็จ

         นั่นหมายความว่า ระยะเวลาที่จะเดินไปสู่การเลือกตั้งตามโรดแม็พที่ คสช.เคยกำหนดไว้ และตามที่ "วิษณุ เครืองาม" รองนายกฯ เคยบอกออกมาเป็นสูตร 6+4+6+4 คือ เลข 6 ตัวที่สอง ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในการทำกฎหมายลูกถูกขยายเข้าไปเพิ่มไปอีก 2 เดือน และเลข 4 ตัวที่สองคือระยะเวลาในการไปสู่วันเลือกตั้งก็ขยายไปอีก

         คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเองก็ออกมายอมรับว่า ข้อกำหนดในบทเฉพาะกาลจะทำให้การเลือกตั้งลากยาวไปเป็นปลายปี

         เมื่อพิจารณารายละเอียดก่อนไปสู่การเลือกตั้งที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่งเปิดออกมา จะมี 3 ส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ 1.ระยะเวลาร่างกฎหมายลูก 2.ระยะเวลาที่ สนช.พิจารณาร่างกฎหมายลูก 3.ระยะเวลาในการเลือกตั้ง

         เรื่องแรก กำหนดไว้ในมาตรา 259 ว่า ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่จำเป็นรวม 10 ฉบับให้เสร็จภายใน 8 เดือน หากทำไม่เสร็จภายในกำหนด "ให้หัวหน้า คสช.ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่มาทำ" ซึ่งไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่าต้องให้เสร็จภายในเวลาเท่าใด

         แน่นอน ทันทีที่ปรากฏเนื้อหาส่วนนี้ออกมาย่อมเกิดคำถามว่า ตั้งใจเขียน "เปิดช่อง" เพื่อยื้อเวลาในการเลือกตั้งออกไปหรือไม่ เพราะคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทั้งชุดเดิมและชุดใหม่ที่จะตั้งขึ้นมาหากชุดปัจจุบันทำภารกิจไม่เสร็จ ก็ล้วนมาจากการแต่งตั้งของหัวหน้า คสช.

         ผู้สื่อข่าวจึงซักถามนายมีชัยอย่างหนัก ภายหลังการแถลงเปิด "ร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น" เมื่อวันศุกร์ (29 ม.ค.) ซึ่งแม้นายมีชัยจะบอกว่า มั่นใจว่าจะร่างทันภายใน 8 เดือน นักข่าวยังซักต่ออีก จนสุดท้ายนายมีชัย จึงบอกว่า "ถ้าติดใจกันมากจะไปตัดออก"

         อย่างไรก็ตาม การเขียน "เปิดช่อง" ไว้อย่างนี้ ทำให้บางคนมองไปถึงข้อกำหนดเรื่องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่ไม่ได้เขียนเอาไว้ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจะทำอย่างไร รวมถึงเรื่องเสียงที่จะใช้ในการผ่านประชามติจะต้องเป็นเท่าใดแน่ เพราะในรัฐธรรมนูญชั่วคราวเขียนว่า "ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติโดยเสียงข้างมาก" ซึ่งนักกฎหมายส่วนใหญ่ตีความว่า หมายถึง "เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง" ขณะที่ฝ่าย คสช.ยืนยันว่า หมายถึง "เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ" ซึ่งหากไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวเสียก่อนอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้

         นอกจากนี้ยังมีคำถามถึงประเด็นที่ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญต้องร่างกฎหมายลูกและกฎหมายที่จำเป็น ที่กำหนดไว้ทั้ง 10 ฉบับ ให้เสร็จก่อน จึงจะไปสู่ขั้นตอนการเลือกตั้งได้ จากที่รัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้หรือกระทั่งร่างรัฐธรรมนูญของ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" จะกำหนดกฎหมายที่ต้องทำให้เสร็จก่อนไปเลือกตั้งเพียง 3-4 ฉบับ หลักๆ คือ กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. กฎหมายว่าด้วยการได้ว่าของ ส.ว. กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งระยะเวลาจะอยู่ที่เพียง 3 เดือนเท่านั้น

         และทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ฝ่ายรัฐบาล และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเองก็เคยให้สัมภาษณ์ทำนองว่า กฎหมายที่จำเป็นต้องทำให้เสร็จก่อนก็มีเพียง 3-4 ฉบับนี้ เมื่อตัวบทบัญญัติกำหนดว่าต้องเสร็จก่อนทั้ง 10 ฉบับ จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นมาเช่นกัน

         ทั้งนี้กฎหมายที่ถูกกำหนดไว้ว่าต้องทำให้เสร็จภายใน 8 เดือน ได้แก่

         1.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

         2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

         3.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

         4.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 90

         5.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

         6.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

         7.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน

         8.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

         9.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

         10.กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ

         ส่วนที่สอง เรื่องการส่งร่างกฎหมายให้ สนช.พิจารณา ซึ่ง สนช.ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 2 เดือน ดูจะไม่ค่อยมีคำถาม เพราะถือเป็นขั้นตอนปกติ แต่อีกส่วนที่มีคำถามเช่นกัน คือ ระยะเวลาในการเลือกตั้ง ทำไมต้องยาวถึง 5 เดือน ทั้งที่ตามรัฐธรรมนูญที่ผ่านมารวมถึงร่างรัฐธรรมนูญของนายบวรศักดิ์ก็อยู่ที่ 3 เดือนเท่านั้น

         มีการตั้งข้อสังเกตว่า การกำหนดเวลาในการเลือกตั้งไว้นานถึง 5 เดือนนั้น เพราะต้องการอำนวยความสะดวกให้แก่บรรดาสมาชิก คสช., สนช.และ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ต้องการลงสมัคร ส.ส.หรือไม่

         ทั้งนี้ ในบทเฉพาะกาลกำหนดไว้ว่า หาก คสช. สนช. หรือ สปท. ต้องการจะลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. หรือสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.จะต้องลาออกภายใน 90 วัน ขณะที่มีข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะลงสมัคร ส.ส.ว่า ต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน

         จากทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวที่จะเป็นตัวชี้ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้เมื่อใด ในเบื้องต้นจึงบอกได้ว่า หากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญสามารถทำกฎหมายลูกได้เสร็จตามเวลาที่กำหนด คือ 8 เดือน ระยะเวลาในการเลือกตั้งจะไปตกที่ประมาณเดือนตุลาคม 2560 และในร่างรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ภายหลังการเลือกตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้เสร็จไม่ช้ากว่า 60 วัน เท่ากับว่าจะมีรัฐบาลใหม่ได้ประมาณปลายปี 2560

         นั่นคือ คสช.จะยังคงอยู่ต่อไปโดยมีอำนาจเต็มทุกประการตามที่บทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้จนถึงปลายปี 2560

         ยกเว้น! 1.นายมีชัยไม่ได้ไปตัดบทบัญญัติที่เขียนเปิดช่องให้หัวหน้า คสช.สามารถตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่มาจัดทำกฎหมายลูกใหม่ได้ 2.คณะกรรมการชุดนายมีชัยไม่สามารถทำกฎหมายลูกทั้ง 10 ฉบับได้เสร็จภายในกำหนดเวลา 3.ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้วไม่ผ่าน และ 4.ปัจจัยอื่น

         การเลือกตั้งจะเกิดภายในปี 2560 หรือไม่ จึงยังไม่แน่นอน!!

       อาสาหาข่าว
        31/1/59

เลือกตั้งปลายปี 2560 จริงหรือ?

เลือกตั้งปลายปี 2560 จริงหรือ? 




เลือกตั้งปลายปี2560จริงหรือ? : คมวิเคราะห์การเมืองรอบสัปดาห์ โดยสมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์

           คำถามใหญ่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ในปี 2560 จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหรือไม่ จะเป็นตามปฏิทินเดิมคือ ประมาณกลางปี หรือจะต้องเลื่อนออกไปปลายปี หรือจะนานกว่านั้น?

         จุดเริ่มของคำถามนี้มาจาก "มีชัย ฤชุพันธุ์" ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 เรื่องการทำประชามติเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ โดยนายมีชัยบอกทำนองว่า ไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะจะทำให้ประชาชนไม่สนใจดูเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะไปดูที่เงื่อนไขมากกว่า

         ประโยคที่ทำให้เป็นประเด็นขึ้นมาคือ เมื่อนักข่าวถามว่า หากไม่แก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้วร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ จะทำอย่างไร ซึ่งมีชัยตอบว่า "ถ้าประชามติไม่ผ่าน รัฐธรรมนูญปัจจุบันก็บังคับใช้ต่อไป" ซึ่งมีบางคนไปตีความว่า หมายถึงจะเอารัฐธรรมนูญชั่วคราวมาใช้เป็นการถาวร หมายถึงจะไม่มีการเลือกตั้งในปี 2560 ตามโรดแม็พที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เคยกำหนดไว้หรือไม่

         ร้อนถึง "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกฯ ในฐานะหัวหน้า คสช. ต้องออกมายืนยันว่า จะให้มีการเลือกตั้งในปี 2560 ให้ได้ โดยระบุลงไปด้วยว่า เป็นเดือนกรกฎาคม 2560 ยกเว้นถ้าให้ไปเลือกตั้งแล้วยังทะเลาะกันไม่ไปเลือกตั้ง อันนั้นนายกฯ บอก ก็ช่วยไม่ได้แล้ว

         แค่วันเดียวหลัง พล.อ.ประยุทธ์ออกมาการันตีว่าจะให้มีการเลือกตั้ง กรกฎาคม 2560 ก็มีข่าวออกมาว่า การเลือกตั้งอาจขยับไปเป็นปลายปี 2560 เพราะในบทเฉพาะกาลได้เขียนกำหนดระยะเวลาในการออกกฎหมายลูก หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องออกให้เสร็จก่อนเลือกตั้งว่า ให้ใช้เวลาไม่เกิน 8 เดือน และให้ไปเลือกตั้งภายใน 5 เดือน หลังทำกฎหมายลูกเสร็จ

         นั่นหมายความว่า ระยะเวลาที่จะเดินไปสู่การเลือกตั้งตามโรดแม็พที่ คสช.เคยกำหนดไว้ และตามที่ "วิษณุ เครืองาม" รองนายกฯ เคยบอกออกมาเป็นสูตร 6+4+6+4 คือ เลข 6 ตัวที่สอง ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในการทำกฎหมายลูกถูกขยายเข้าไปเพิ่มไปอีก 2 เดือน และเลข 4 ตัวที่สองคือระยะเวลาในการไปสู่วันเลือกตั้งก็ขยายไปอีก

         คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเองก็ออกมายอมรับว่า ข้อกำหนดในบทเฉพาะกาลจะทำให้การเลือกตั้งลากยาวไปเป็นปลายปี

         เมื่อพิจารณารายละเอียดก่อนไปสู่การเลือกตั้งที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่งเปิดออกมา จะมี 3 ส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ 1.ระยะเวลาร่างกฎหมายลูก 2.ระยะเวลาที่ สนช.พิจารณาร่างกฎหมายลูก 3.ระยะเวลาในการเลือกตั้ง

         เรื่องแรก กำหนดไว้ในมาตรา 259 ว่า ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่จำเป็นรวม 10 ฉบับให้เสร็จภายใน 8 เดือน หากทำไม่เสร็จภายในกำหนด "ให้หัวหน้า คสช.ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่มาทำ" ซึ่งไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่าต้องให้เสร็จภายในเวลาเท่าใด

         แน่นอน ทันทีที่ปรากฏเนื้อหาส่วนนี้ออกมาย่อมเกิดคำถามว่า ตั้งใจเขียน "เปิดช่อง" เพื่อยื้อเวลาในการเลือกตั้งออกไปหรือไม่ เพราะคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทั้งชุดเดิมและชุดใหม่ที่จะตั้งขึ้นมาหากชุดปัจจุบันทำภารกิจไม่เสร็จ ก็ล้วนมาจากการแต่งตั้งของหัวหน้า คสช.

         ผู้สื่อข่าวจึงซักถามนายมีชัยอย่างหนัก ภายหลังการแถลงเปิด "ร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น" เมื่อวันศุกร์ (29 ม.ค.) ซึ่งแม้นายมีชัยจะบอกว่า มั่นใจว่าจะร่างทันภายใน 8 เดือน นักข่าวยังซักต่ออีก จนสุดท้ายนายมีชัย จึงบอกว่า "ถ้าติดใจกันมากจะไปตัดออก"

         อย่างไรก็ตาม การเขียน "เปิดช่อง" ไว้อย่างนี้ ทำให้บางคนมองไปถึงข้อกำหนดเรื่องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่ไม่ได้เขียนเอาไว้ว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจะทำอย่างไร รวมถึงเรื่องเสียงที่จะใช้ในการผ่านประชามติจะต้องเป็นเท่าใดแน่ เพราะในรัฐธรรมนูญชั่วคราวเขียนว่า "ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติโดยเสียงข้างมาก" ซึ่งนักกฎหมายส่วนใหญ่ตีความว่า หมายถึง "เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง" ขณะที่ฝ่าย คสช.ยืนยันว่า หมายถึง "เสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ" ซึ่งหากไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวเสียก่อนอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้

         นอกจากนี้ยังมีคำถามถึงประเด็นที่ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญต้องร่างกฎหมายลูกและกฎหมายที่จำเป็น ที่กำหนดไว้ทั้ง 10 ฉบับ ให้เสร็จก่อน จึงจะไปสู่ขั้นตอนการเลือกตั้งได้ จากที่รัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้หรือกระทั่งร่างรัฐธรรมนูญของ "บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" จะกำหนดกฎหมายที่ต้องทำให้เสร็จก่อนไปเลือกตั้งเพียง 3-4 ฉบับ หลักๆ คือ กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. กฎหมายว่าด้วยการได้ว่าของ ส.ว. กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งระยะเวลาจะอยู่ที่เพียง 3 เดือนเท่านั้น

         และทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ฝ่ายรัฐบาล และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเองก็เคยให้สัมภาษณ์ทำนองว่า กฎหมายที่จำเป็นต้องทำให้เสร็จก่อนก็มีเพียง 3-4 ฉบับนี้ เมื่อตัวบทบัญญัติกำหนดว่าต้องเสร็จก่อนทั้ง 10 ฉบับ จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นมาเช่นกัน

         ทั้งนี้กฎหมายที่ถูกกำหนดไว้ว่าต้องทำให้เสร็จภายใน 8 เดือน ได้แก่

         1.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

         2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

         3.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

         4.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 90

         5.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

         6.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

         7.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน

         8.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

         9.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

         10.กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ

         ส่วนที่สอง เรื่องการส่งร่างกฎหมายให้ สนช.พิจารณา ซึ่ง สนช.ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 2 เดือน ดูจะไม่ค่อยมีคำถาม เพราะถือเป็นขั้นตอนปกติ แต่อีกส่วนที่มีคำถามเช่นกัน คือ ระยะเวลาในการเลือกตั้ง ทำไมต้องยาวถึง 5 เดือน ทั้งที่ตามรัฐธรรมนูญที่ผ่านมารวมถึงร่างรัฐธรรมนูญของนายบวรศักดิ์ก็อยู่ที่ 3 เดือนเท่านั้น

         มีการตั้งข้อสังเกตว่า การกำหนดเวลาในการเลือกตั้งไว้นานถึง 5 เดือนนั้น เพราะต้องการอำนวยความสะดวกให้แก่บรรดาสมาชิก คสช., สนช.และ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ต้องการลงสมัคร ส.ส.หรือไม่

         ทั้งนี้ ในบทเฉพาะกาลกำหนดไว้ว่า หาก คสช. สนช. หรือ สปท. ต้องการจะลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. หรือสมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.จะต้องลาออกภายใน 90 วัน ขณะที่มีข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะลงสมัคร ส.ส.ว่า ต้องสังกัดพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 90 วัน

         จากทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวที่จะเป็นตัวชี้ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้เมื่อใด ในเบื้องต้นจึงบอกได้ว่า หากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญสามารถทำกฎหมายลูกได้เสร็จตามเวลาที่กำหนด คือ 8 เดือน ระยะเวลาในการเลือกตั้งจะไปตกที่ประมาณเดือนตุลาคม 2560 และในร่างรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ภายหลังการเลือกตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้เสร็จไม่ช้ากว่า 60 วัน เท่ากับว่าจะมีรัฐบาลใหม่ได้ประมาณปลายปี 2560

         นั่นคือ คสช.จะยังคงอยู่ต่อไปโดยมีอำนาจเต็มทุกประการตามที่บทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้จนถึงปลายปี 2560

         ยกเว้น! 1.นายมีชัยไม่ได้ไปตัดบทบัญญัติที่เขียนเปิดช่องให้หัวหน้า คสช.สามารถตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่มาจัดทำกฎหมายลูกใหม่ได้ 2.คณะกรรมการชุดนายมีชัยไม่สามารถทำกฎหมายลูกทั้ง 10 ฉบับได้เสร็จภายในกำหนดเวลา 3.ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้วไม่ผ่าน และ 4.ปัจจัยอื่น

         การเลือกตั้งจะเกิดภายในปี 2560 หรือไม่ จึงยังไม่แน่นอน!!

       อาสาหาข่าว
        31/1/59

ชาวบ้านมึนถูกเวนคืนที่ดินสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษไม่รู้ตัว เผยราคาที่ดินถูกปั่นสูงลิ่ว ....ที่มา http://transbordernews.in.th/home/?p=11519 .

ชาวบ้านมึนถูกเวนคืนที่ดินสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษไม่รู้ตัว เผยราคาที่ดินถูกปั่นสูงลิ่ว 


ที่ดินของชาวบ้าน เชียงแสนซึ่งจะถูกยึดไปเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยที่ชาวบ้านยังไม่รู้ข้อมูล ที่ดินของชาวบ้านเชียงแสนซึ่งจะถูกยึดไปเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยที่ชาวบ้าน ยังไม่รู้ข้อมูล เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2559 นายวิชรุจน์ สิงห์คะ ครูประจำศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน บ้านสบกก ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า หลังรัฐบาลประกาศนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงแสนในพื้นที่ กว่า 600 ไร่ ชาวบ้านในหมู่บ้านสบกกเป็นหนึ่งในชุมชนที่อาจจะต้องถูกทางการเวนคืนที่ดิน ทั้งหมดกว่า 100 หลังคาเรือน ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขาย เนื่องจากเชียงแสนเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงราย และบ้านสบกกก็ไม่ได้ไกลจากเมืองมากนัก ชาวบ้านจึงมีรายได้พอยังชีพ แต่ต่อมาเมื่อมีแผนพัฒนาท่าเรือเชียงแสนและล่าสุดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเกิด ขึ้นนายทุนก็เข้ามาปั่นราคาที่ดินให้แพงขึ้น ขณะนี้ราคาที่ดินอยู่ที่ไร่ละประมาณ500,000 บาทแล้ว ซึ่งหากปล่อยให้มีการเก็งกำไรไปเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเชื่อว่าไม่ สามารถสร้างความมั่นคงแก่เชียงแสนได้ ที่สำคัญที่ดินโดยส่วนมากในตำบลบ้านแซวก็เป็นที่ดิน สปก. เป็นที่สำหรับการทำเกษตรของชาวบ้านมานาน มีแค่บางส่วนเท่านั้นที่มีโฉนดที่ดิน แต่ไม่ถึงร้อย 50ของที่ทั้งหมด ดังนั้นเป็นไปได้ว่าที่ดินบางแปลงที่มีโฉนดอาจมีกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง แต่กรณีชาวบ้านสบกกที่ทำกินอยู่ขณะนี้มีพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินประมาณ ครัวเรือนละ5-6ไร่เท่านั้น ส่วนมากปลูกข้าวโพดและผักทั่วไป ไม่ได้มีการทำกำไรใดๆในที่ดินที่เกินความจำเป็น 12607343_512027492291483_307498904_n นายวิชรุจน์ กล่าวด้วยว่า หากถูกเวนคืนที่ดินจริง ขณะนี้ชาวบ้านไม่ทราบว่าอนาคตจะต้องถูกโยกย้ายไปที่ใด เบื้องต้นมีข่าวว่ารัฐบาลอาจจะจ่ายชดเชยให้ไร่ละ 100,000 บาท แต่ส่วนมากลงความเห็นว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่สามารถชดเชยพื้นที่ทำกินและที่ อยู่อาศัยได้ เพราะนายทุนปั่นราคาให้สูงแล้ว และแปลงที่ใกล้ท่าเรือเชียงแสน ส่วนมากนายทุนก็ซื้อขาดไปแล้ว ถ้าชาวสบกกต้องถูกเวนคืน หมายความว่า อาจจะต้องย้ายถิ่นที่อยู่ไกลจากบ้านเกิด เสี่ยงก่อผลกระทบด้านความมั่นคงทางที่อยู่อาศัย และที่ทำกิน 12665707_512027495624816_996282645_n "ชาวบ้านไม่รู้เลยว่ามาตรา 44 จะมาเอาที่ดินไป ผมว่าเหมือนมัดมือชก แบบนี้เราก็ตาย หลายคนที่สบกกเคยถูกเวนคืนตอนสร้างท่าเรือแล้ว มาตอนนี้จะเอาไปสร้างเศรษฐกิจพิเศษอีก เราไม่ใช่ผัก ปลานะ จะย้ายไป ไหนก็ได้ ผมว่ารัฐบาลน่าจะปล่อยเชียงแสนให้เป็นไปตามกลไกท้องถิ่นบ้าง เราอยู่ใกล้เพื่อนบ้านไม่ได้แปลว่าเราต้องแข่งขันกันทางเศรษฐกิจแบบ อุตสาหกรรม เราอยู่แบบพึ่งพาเกษตร แลกเปลี่ยนผลผลิตกันเรื่อยๆได้ มันไม่คุ้มเลยที่จะย้ายชาวบ้านออกเยอะขนาดนี้ รุ่นหลังจะมีอะไรอยู่ มีอะไรทำกินกันละในอนาคต ถ้ารัฐเอาแต่ต้อนเราออกแบบนี้ ผมอยากให้เขาให้ข้อมูลชาวบ้านที่ลึกกว่านี้ว่า เศรษฐกิจพิเศษที่ว่าจะทำอะไร ทำแล้วชาวบ้านได้อะไร แล้วบอกมาให้ชัดว่า600 ไร่ นี้ตรงไหนย้ายออกบ้าง ตรงไหนอยู่ต่อได้ ไอ้ที่ย้ายเราออกเอาที่ดินไปทำอะไร เพราะมันไม่ชัดเจนว่ารายละเอียดเศรษฐกิจพิเศษคืออะไรบ้าง พิเศษแค่ไหน " นายวิชรุจน์ กล่าว อนึ่ง ข้อมูลจากจังหวัดเชียงรายระบุถึงแนวคิดเขตเศรษฐกิจพิเศษไว้ว่า เน้นเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำเมืองต้นผึ้ง กับแขวงบ่อแก้วของประเทศลาว โดยอำเภอเชียงแสน เป็นท่าเรือสู่จีนตะวันตก และการท่องเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำ และ อำเภอแม่สาย เป็นตลาดการค้าชายแดนไทย-พม่า และการท่องเที่ยวเชื่อมกรุงมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า

....ที่มา http://transbordernews.in.th/home/?p=11519 .

....ที่มา http://transbordernews.in.th/home/?p=11519 .

ดร. เพียงดิน รักไทย ชวนคิดชวนลุย 30 ม.ค. 2559 ตอน "ชวนคุ้ยร่างรัฐธรรมนูญฉบับโจรเฒ่า 2559"

ดร. เพียงดิน รักไทย ชวนคิดชวนลุย   30 ม.ค. 2559
ตอน "ชวนคุ้ยร่างรัฐธรรมนูญฉบับโจรเฒ่า 2559"
YouTube 
>>>
รายการ World Events 30 ม.ค. 2559 
สุกิจ ทรัพย์เอนกสันติ 
หัวข้อ "ผลกระทบของราคาน้ำมันโลกตกต่ำ
YouTube

57 01 17IMG 2891 รถขนน้ำมันดิบ 30,000ลิตร กงไกรลาศ สุโขทัย

ดร. เพียงดิน รักไทย ชวนคิดชวนลุย ตอน "ชวนคุ้ยร่างรัฐธรรมนูญฉบับโจรเฒ่า 2559"

ดร. เพียงดิน รักไทย ชวนคิดชวนลุย   ตอน "ชวนคุ้ยร่างรัฐธรรมนูญฉบับโจรเฒ่า 2559"

https://youtu.be/XzXBiLV2lA8

หรือ

https://youtu.be/J_VkuX1oLT4

 

----------------------

สนับสนุนการเผยแพร่โดย ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และมหาวิทยาลัยประชาชน เพื่อสาธารณะประโยชน์ ในการสร้างจิตสำนึกทางประชาธิปไตย สันติวิธี และการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน

----------------------

สนับสนุนแนวทางมดแดงล้มช้าง ของ คณะราษฎรเสรีไทย กับ ดร. เพียงดิน

ส่งข้อมูลลับผ่านช่องทางที่ปลอดภัยทางลิ้งค์ต่อไปนี้

http://tinyurl.com/o2rzao8

หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt