ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Tuesday, August 23, 2016

คสช.​ทำผิดสนธิสัญญากับ UN จริงหรือ?

โดย อ. ธนบูลย์


ตามคำพิพากษาในคดีที่ชื่อว่า Dusan Tadic หรือ Dusko Tadic นั้น ต้องถามว่า เขาถกเถียง เรื่องอะไรกัน? และ


มีผลสะท้อนกลับมาช่วยคนไทยผู้ใฝ่รู้ ให้นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ กับ เหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ในประเทศไทย หรือ กำลัง จะเกิด ต่อไปในประเทศ อย่างไร?ู้

๑. ต้องขอให้ บทนำแก่ ท่านผู้อ่านทั้งหลายว่า ข้อเขียนของ ผมเกี่ยวกับ คดีๆนี้ นั้น เมื่อท่านได้อ่านแล้ว คิดว่าผม ยังมิได้ ให้คำตอบครบถ้วนแก่ ท่านผู้อ่านทั้งหลาย นั้น

๒. เมื่อท่าน ได้อ่านบทความเหล่านี้ ต่อไปเรื่อยๆ ท่านจะเห็นคำตอบ ที่ผมได้ตั้งไว้ ตั้งแต่ต้น ไปในตัว โดยเมื่อท่าน ได้อ่านแล้ว ขอให้คิด และ ใช้สมอง หรือ ปัญญา คิดตามไปด้วย เพราะนั่น คือปัญหาใหญ่ของ การสอนของผม ต่อ ท่านผู้อ่านทั้งหลาย

๓. ในปัญหาของคดี ที่นำมาเสนอนี้ จะเกี่ยวกับ เขตอำนาจของ ศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ในการพิจารณา และ พิพากษา ที่จำเลยในคดี Dusan Tadic ยกขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ที่สำคัญในคดี มีความเกี่ยวพัน กับ :

๓.๑ อำนาจของ คณะมนตรีความมั่นคง ตามกฎบัตรของ องค์การสหประชาชาติ หรือ The Charter of United Nations ซึ่งเป็น สนธิสัญญาหลายฝ่าย หรือ พหุภาคี (Multilateral Treaty) ว่า การที่คณะมนตรีความมั่นคง ได้ออกข้อบัญญัติที่ 764 ในวันที่ ๑๓ กรฎาคม ปี ค.ศ. ๑๙๙๒ ในขณะที่มีเหตุรบพุ่งกัน อย่างเป็นศัตรู (Hostilities) ในระหว่างชาวเซริบร์ กับ ชาว โครแอต, ชนกลุ่มน้อยผู้นับถือ ศาสนาอิสลาม ในแคว้นบอสเนีย อันเป็น จุดเริ่มต้นของ สงครามกลางเมือง ในแคว้นบอสเนียฯ คณะมนตรีความมั่นคงทำได้ หรือไม่?

๓.๒ ต่อมาในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ปี ค.ศ.๑๙๙๓ คณะมนตรีความมั่นคง ได้ออกข้อบัญญัติ (Resolutions) ที่ ๘๒๗ (๑๙๙๓) ก่อตั้งศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ มาเพื่อพิจารณา และ พิพากษา คดี ที่จำเลย ต้องหาว่า ได้กระทำความผิดในทางอาญาระหว่างประเทศ ทำได้ หรือไม่?

๓.๓ ความผิดดังกล่าว เป็น ความผิดอาญาระหว่างประเทศ ตามสนธิสัญญาแห่ง กรุงเจนีวา ปี ค.ศ. ๑๙๔๙ (The Geneva Conventions, 1949) และ บรรดาสนธิสัญญาทั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องกับ สนธิสัญญาฉบับนี้ ที่เป็น ความผิดในทางอาญาระหว่างประเทศ ตามสนธิสัญญา ที่เกิดใหม่ เช่น สนธิสัญญาว่าด้วย การทรมานฯ ปี ค.ศ. ๑๙๘๔, สนธิสัญญาแห่งกรุงเฮก ปี ค.ศ. ๑๘๙๙ - ๑๙๐๗ ฯลฯ เป็นต้น

๓.๔ ในกรณีแห่งความผิดในทางอาญาระหว่างประเทศ เช่นที่เกิดในคดีนี้ จึงมีความเกี่ยวพัน กับ หลายๆสนธิสัญญา ที่มีรัฐคู่ภาคีของ ในแต่ละสนธิสัญญา ตามที่อ้างถึงอยู่แล้ว จึงมีความจำเป็น หรือไม่? ที่ต้องออกข้อบัญญัติ (Resolutions) ที่ ๘๒๗ (๑๙๙๓) ตามออกมา และ กลายเป็นข้อต่อสู้สำคัญของ จำเลยในคดีนี้

๔. ในกรณีของ จำเลย ในคดีนี้ ที่ได้ยกข้อสู้ต่อสู้ ในคดีมาแต่ต้น โดยได้ต่อสู้ว่า สงครามกลางเมือง ที่เกิดในแคว้นบอสเนียฯ ไม่มีคุณลักษณะ ที่เป็นสงคราม ที่เกี่ยวพันกับ ต่างประเทศ (Characterized as International Conflict)

๕. ความเกี่ยวพัน กับ ต่างประเทศ นั้น จะเป็นตัวชี้ว่า จำเลยในคดีนี้ ควรต้องรับโทษในฐานที่เป็น "อาชญากรสงคราม" หรือ "war Criminal" ตามที่โจทก์ฟ้องในคดีหรือไม่? มาถึงตรงนี้ เห็นควรต้อง อธิบาย ให้ท่านผู้อ่านเข้าใจ ในข้อกฎหมายเสียก่อนว่า

๖. ในช่วงต่อของ สงครามโลกครั้งที่สอง ในห้วงเวลาของ สงคราม และ ความสงบ และสันติสุข ที่มนุษย์ส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ โดยเฉพาะบนพื้นแผ่นดินยุโรป และ ทวีปอเมริกาเหนือ นั้น ได้แผชิญ กับ ภาพอันเลวร้าย และ หฤโหดของ สงครามโลกครั้งที่สอง นั่นคือ ภาพของการรบพุ่งกัน บนพื้นแผ่นดินยุโรป และ ในเอเซีย {กองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตร กับ กองทัพของลูกพระอาทิตย์ ภาพการฆ่า ด้วยวิธีการล้างเผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติ คือ ชาวยิวกว่า -๔,๐๐๐,๐๐๐ (สี่ล้าน) คน ในค่ายกักกันมนุษย์ของ พรรคนาซีเยอรมัน) บนพื้นดินยุโรป และ ภาคพื้นเอเชีย}

๗. ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาซึ่งการก่อตั้งสนธิสัญญาฉบับสำคัญๆ ๕ ฉบับ เป็นอย่างน้อย คือ:

๗.๑ (สนธิสัญญา ) ลอนดอนชาร์เตอร์ ปี ค.ศ. 1938 หรือ London Charter, 1938 ที่บัญญัติความผิด และ โทษที่จะใช้ลง โดยศาลนูเรมเบริกก์ ตามสนธิสัญญานี้ เมื่อผู้กระทำความผิด เป็นทหาร แล้วไปกระทำการฝ่าฝืนต่อ บทบัญญัติของ ลอนดอนชาร์เตอร์ ปี ค.ศ. 1938 โทษที่จะลงก็คือ การลงโทษด้วยการประหารชีวิต ด้วยการแขวนคอสถานเดียว สนธิสัญญานี้ ยังมีผลบังคับใช้อยู่

๗.๒ หากไม่ทำการ เปิดศาลที่เมืองนูเรมเบริกก์ มาเป็นศาลพิจารณาโทษ ก็ยอมให้ชาติ หรือ รัฐคู่ภาคีสมาชิกของกฎบัตรสหประชาชาติ (โดยความยินยอมของ คณะมนตรีความมั่นคง ตั้งศาล และ เลือกตัวผู้พิพากษาร่วมผสม กับ ผู้พิพากษาที่องค์การสหประชาชาติ เลือกตั้งมาจากชาติสมาชิก โดยกระจายตามภูมิภาค มาป็นองค์คณะ ที่มีอำนาจพิจารณา และ พิพากษาโทษ ที่อาชญากรสงครามแต่ละคน ได้ก่อให้เกิดขึ้น) โดยพิจารณาโทษ โดยศาลภายในประเทศ หรือ

๗.๓ ให้ศาลโลกที่กรุงเฮก ใช้สำนักงานศาลโลก และตัวศาล ร่วมกันกับศาลในประเทศ ที่การกระทำความผิด ได้เกิดขึ้น ทำการพิจารณา และ พิพากษาแก่โทษ ที่อาชญากรสงคราม (War Criminals) แต่ละคน เราเรียกว่าใช้ หลักการ Ex - Officio หรือ Good่ Office แก่ความผิด ที่ได้กระทำความผิดลงไป อย่างที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต คือ คดี ล็อคเคอร์บี้ (Lockerbie Case, การระเบิดเครื่องบิน Pan AM เที่ยวบินที่ 103 พร้อมผู้โดยสาร นักบิน และ ลูกเรือ เสียชีวิต ทั้งลำ จำนวนกว่า -๒๐๐ (สองร้อย) คน จนเครื่องบินตก ที่เมือง ล็อคเคอร์บี้ ในสก็อตแลนด์ ประเทศอังกฤษ

๘. ด้วยเหตุนี้ จึงต้องขอเตือนไปยัง คณะ คสช. บรรดานายทหารทั้งหลาย ในกองทัพทั้งสามของ ประเทศไทยว่า การที่ท่านแส่ สอดแทรก เข้าไปจัดการ ในเกือบทุกๆเรื่อง ที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ตามอำนาจหน้าที่ ที่ควรเป็นของ รัฐบาลพลเรือน ตามคำสั่ง "ท่านผู้นำ" ของคณะ คสช. ท่านมีโอกาศสูงเกินกว่า -90%- ที่จะต้อง ตกเป็น ผู้ต้องหาในฐานความผิดเป็น "อาชญากรสงคราม"

๙. ตาม (สนธิสัญญา) ลอนดอนชาร์เตอร์ ปี ค.ศ. 1938 เมื่อใดก็ตามที่ คณะมนตรีความมั่นคงของ องค์การสหประชาชาติ เกิดบ้าเลือดขึ้นมา และ ประกาศใช้ อำนาจพิจารณา และ มีคำสั่ง ตามอำนาจหน้าที่ และ การใช้อำนาจ หน้าที่ของ คณะมนตรีความมั่นคง ตาม บทที่ 7 หรือ Chapter VII บทบัญญัติที่ 51 กฎบัตรของ องค์การสหประชาชาติ ฉะนั้น ขอได้โปรด "เลิกบ้าอำนาจ" ได้แล้ว จึงต้องขอเตือนสติไว้ด้วย บทความบทนี้. ................(มีต่อ)

ประเทศไทยจะซ่อนการกบฎไว้ใต้พรมได้จริงหรือ?

ประเทศไทยจะซ่อนการกบฎไว้ใต้พรมได้จริงหรือ?

NY Times ลงบทความ commentary วิพากษ์ปฏิกริยาของทหารต่อการก่อการร้ายในไทย อ่านแล้วน่าสนใจมาก

Matt Wheeler ผู้เขียนเริ่มต้นจากประเด็นเหตุระเบิดและเพลิงไหม้ในภาคใต้ช่วงหลังประชามติที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐได้ออกมาปฏิเสธอย่างทันทีว่าไม่ใช่การก่อการร้าย และพลเอกประยุทธยังกล่าวเสริมด้วยว่าเป็นฝีมือของกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ทางการเมืองจากผลประชามติ

กลุ่มคนที่ถูกมองว่าเป็นศัตรูของรัฐบาล (opponents of the government) รวมถึงกลุ่มเสื้อแดงถูกจับกุม แม้ว่าการระเบิดครั้งนี้จะไม่ได้มีความคล้ายคลึงกับความรุนแรงครั้งก่อนๆ โดยฝ่ายที่นิยมทักษิณ รวมถึงว่าไม่ได้มีลักษณะเหมือนกับการระเบิดศาลพระพรหมเอราวัณเมื่อปี 2015 ด้วย 

ในทางกลับกัน การระเบิดครั้งนี้มีลักษณะเดียวกับเหตุระเบิดอื่นๆ โดยกลุ่ม BRN (กลุ่มก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนใต้) โดยปกติแล้วกลุ่ม BRN ก็จะไม่ออกมาเคลมว่าเป็นผู้ลงมือ และการสืบสวนจากทางตำรวจก็ปรากฏว่าระเบิดที่ใช้เป็นแบบเดียวกับกลุ่มติดอาวุธในสามจังหวัดชายแดนใต้

ผู้เขียนกล่าวต่ออีกว่า เจ้าหน้าที่รัฐไทยมักจะใช้ขั้วตรงข้ามทางการเมืองภายในประเทศเป็นแพะรับบาปของการก่อการร้าย เช่นคดีเผาโรงเรียนสามจังหวัดในปี 1993 ถูกโยนให้ "กลุ่มอำนาจเก่า" และคดีระเบิดเกาะสมุยปี 2015 ก็ถูกอ้างว่าเป็นฝีมือของกลุ่มนักการเมืองที่สูญเสียอำนาจจากการรัฐประหาร แต่การกล่าวหาเหล่านั้นก็ไม่เคยมีหลักฐานที่จับต้องได้ และตำรวจก็เชื่อมโยงเหตุระเบิดกับสามจังหวัดชายแดนใต้ในที่สุด

คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมรัฐบาลทหารไทยถึงกระตือรือร้นกับการเบี่ยงความสนใจออกจากกลุ่มก่อการร้าย (และยัดเยียดความผิดให้ศัตรูทางการเมือง) ขนาดนั้น? Matt ตั้งข้อสังเกตว่าเจ้าหน้าที่รัฐกำลังปฏิเสธว่าไทยกำลังตกเป็นเป้าของการก่อการร้าย เนื่องจากต้องการรักษาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ ที่ให้รายได้ทางอ้อมคิดเป็นราวๆ 20% ของ GDP ประเด็นที่สองคือ การนิยามให้เป็นเพียง "การก่อกวน" ก็เป็นการช่วยกลบเกลื่อนนัยยะทางการเมืองของเหตุการณ์เหล่านี้ หากยอมรับ "การก่อการร้าย" ก็เท่ากับว่าทหารไทยต้องยอมรับความล้มเหลวในการแก้ปัญหาของตนเองด้วย

นอกจากนี้ เสียงส่วนใหญ่ของทั้งสามจังหวัดยังโหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด สื่อถึงการต่อต้านกองทัพและการรวมศูนย์อำนาจ 

ในตอนท้าย ผู้เขียนยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงเหตุผลในการขยับขยายบริเวณการก่อเหตุของกลุ่มก่อการร้ายว่า การก่อการร้ายได้สามจังหวัดเพียงอย่างเดียวไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจอีกต่อไป นอกจากนี้ ผู้นำกลุ่ม BRN ยังได้ปฏิเสธกระบวนการเจรจาที่ไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลทหารด้วย พวกเขามองว่ากระบวนการเหล่านี้เป็นเพียงการพูดคุยที่ปราศจากสาระของการเจรจาต่อรอง นอกจากนี้ ผลประชามติยังบ่งบอกว่า ความหวังของการเจรจากับรัฐบาลกลางที่มาจากการเลือกตั้งก็ริบหรี่เต็มที เพราะรัฐบาลทหารจะยังคงกุมอำนาจไปอีกอย่างน้อยหกปี

จากที่กล่าวมาทั้งหมด การที่กลุ่มติดอาวุธก่อเหตุครั้งล่าสุดนี้อาจบ่งบอกว่า ความขัดแย้งได้ยกระดับเข้าสู่ระยะใหม่ ซึ่งอาจเพิ่มความขัดแย้งทางศาสนา และอาจเติมเชื้อไฟให้กลุ่มติดอาวุธชาวพุทธด้วย

อาจกล่าวได้ว่าเหล่านายพลผู้บริหารประเทศนั้น "สายตาสั้น" หากพวกเขายังคงปฏิเสธการมีอยู่ของการก่อการร้ายให้กลายเป็นเพียงความขัดแย้งทางการเมืองที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับภาคใต้ ทางที่ดีที่สุดคือการตระหนักว่ามันเป็นปัญหาทางการเมือง ที่จำเป็นต้องมีการแก้ไขทางการเมืองด้วย ซึ่งหมายถึงการให้เสรีภาพในการแสดงออกแก่ประชาชน การเจรจากับกลุ่มติดอาวุธอย่างจริงใจ และหาทางกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

ปล. เห็นว่าน่าสนใจดีเลยแปลเล่นๆ ถ้ามีตรงไหนผิดหรือตกหล่นรบกวนชี้แนะด้วยค่ะ :)

ประวิทย์ กับ ประวัติที่ไม่เคยผ่านการรบ!?

"ปัจจุบันเป็นผลของอดีต และ ปัจจุบันเป็นเหตุแห่งอนาคต"

"โกหกให้อนุชนรุ่นหลังฟังดูดีในสายตาคนไม่รู้"

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นทหารรับใช้ เปิดประตูรถยนต์ให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมัยเป็นนายกรัฐมนครี เคยไปรบที่ไหนสมรภูมิใดครับ?
ช่างพูดจนเกินจริงขนาดในภาพด้านล่าง
ยกตนข่มผู้สื่อข่าวและประชาชนที่เกิดไม่ทัน
เอาความดีตรงไหนมากล่าวตามภาพ

แค่คิดก็ผิดหรือ?

ทำงานอาชีพข้าราชการทหาร ไม่ใช่ จะมีสิทธิเหนือคนอื่น เกษียณอายุ 12 ปี ยังอยู่บ้านพักข้าราชการทหารในกรมทหารราบที่๑๑ บางเขน
สงสัยไม่กล้าออกมาอยู่นอกกรมฯกลัวตายม้าง?

==============================

ประวัติจากวิกีพีเดีย
ค้นหามาลงให้อ่านและอ้างอิงตามข้อมูลที่หาได้
ผมมักพบกับคนที่คุยด้วยในสังคมที่เป็นจริงและสรุปคำโต้แย้งได้พอมีสาระสำคัญตามนี้
สลิ่มชอบเถียงว่า อ้างวิกีพีเดียเชื่อถือไม่ได้
(ใครพูดแบบนี้หันธง "สลิ่มแท้100%)

===========================+
ด้วยสนใจที่มาของแต่ละบุคคลที่เป็นข่าว
จึงต้องสืบค้นหาอ่านเท่าที่ค้นหาได้
===========================
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ 

ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ประวิตร วงษ์สุวรรณ

รองนายกรัฐมนตรี
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557
นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้า สมชาย วงศ์สวัสดิ์
ถัดไป ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
11 กันยายน พ.ศ. 2557
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548
ก่อนหน้า ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
ถัดไป สนธิ บุญยรัตกลิน
แม่ทัพภาคที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546
ก่อนหน้า พรชัย เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา
ถัดไป ไพศาล กตัญญู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (71 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนา พุทธ
การเข้าเป็นทหาร
สังกัด กองทัพบกไทย
ปีปฏิบัติงาน พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2548
ยศ  พลเอก
บังคับบัญชา กองทัพบก
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หรือ บิ๊กป้อม ลูกสาว วรรณนิศา วงษ์สุวรรณ (11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 -) รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนปัจจุบัน รองหัวหน้าและประธานคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1] รองประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ , อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ [2] และอดีตผู้บัญชาการทหารบก

ประวัติ แก้ไข

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของพลตรี ประเสริฐ วงษ์สุวรรณ กับนางสายสนี วงษ์สุวรรณ มีน้องชาย 4 คน คือ พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ นายพงษ์พันธุ์ วงษ์สุวรรณ และนาย พันธุ์พงษ์ วงษ์สุวรรณ ลูกสาว วรรณนิศา วงษ์สุวรรณ[3] ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารองประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง[4]

การศึกษา แก้ไข

พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จากนั้นในปี พ.ศ. 2508 ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 พ.ศ. 2512 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17 พ.ศ. 2521 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 56 และในปี พ.ศ. 2540 สำเร็จหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 พ.ศ. 2556 ได้รับมอบเกียรติบัตรพิเศษ วิชาการคอมมิวนิสต์ จากวิทยาลัยสังคมนิยมจีน รุ่นที่ 15

การทำงาน แก้ไข

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เริ่มรับราชการทหาร[5] ดังต่อไปนี้

พ.ศ. 2512 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 3
พ.ศ. 2514 ผู้บังคับหมวดเครื่องยิงหนัก กองร้อยเครื่องยิงหนัก กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2517 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2519 นายทหารยุทธการและการฝึก กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2520 ประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2522 นายทหารฝ่ายยุทธการ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2523 รองผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2524 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2527 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2529 รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2532 ผู้บังคับการกรมทหาราบที่ 12 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2536 รองผู้บัญชาการกองพลทหาราบที่ 2 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2539 ผู้บัญชาการกองพลทหาราบที่ 2 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2540 รองแม่ทัพภาคที่ 1
พ.ศ. 2541 แม่ทัพน้อยที่ 1
พ.ศ. 2543 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พ.ศ. 2544 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
พ.ศ. 2545 แม่ทัพภาคที่ 1
พ.ศ. 2546 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการทหารบก
ในปีพ.ศ. 2554 ได้รับตำแหน่ง เป็นคณะดำเนินคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกรณีประเทศกัมพูชาฟ้องร้องประเทศไทย[6]

ในปีพ.ศ. 2558เขาเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี 12 คณะกรรมการ[7]และเป็นรองประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

ภารกิจพิเศษที่ได้รับมอบและรางวัลที่ได้รับ แก้ไข

ราชองครักษ์เวร ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน
ผู้อำนวยการ กองอำนวยการร่วมถวายความปลอดภัยวังไกลกังวล ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2545 จนถึง 30 กันยายน 2546
ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งแต่ 1 เมษายน 2539 จนถึง 1 ตุลาคม 2540
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าบริเวณพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด(ภาคตะวันออก) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (2545-2546)
ประธานกรรมการโครงการสวนป่าเฉลิมพระเกียรติในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดราชบุรี (2545-2546)
ประธานนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 (ทบ.)
ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจำปีพุทธศักราช 2540 สาขาการพัฒนาทางทหาร
ชีวิตและการเมือง แก้ไข

พล.อ.ประวิตร มีชื่อเล่นว่า "ป้อม" จึงได้รับการเรียกขานเล่น ๆ จากสื่อมวลชนว่า "บิ๊กป้อม" เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 6 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 17 รุ่นเดียวกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน และ พล.อ.วินัย ภัทธิยะกุล ระหว่างเรียนมีรหัส 7647

พล.อ.ประวิตร ถือได้ว่าเป็นนายทหารที่เติบโตมาจากกองทัพภาคที่ 1 ทางภาคตะวันออกมาโดยตลอด โดยสังกัดกับกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือที่เรียกกันว่า "ทหารเสือราชินี" ถือได้ว่าเป็นนายทหารรุ่นพี่ที่สนิทสนมกับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตผู้บัญชาการทหารบก และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันด้วย

พล.อ.ประวิตร เป็นผู้ที่มีชื่อมาตั้งแต่แรกว่าจะได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแล้วตั้งแต่ นายสมัคร สุนทรเวชและนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป ถึงแม้นว่าทางฝ่ายพรรคเพื่อไทยจะได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลก็ตาม

ในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 ในวันที่ 12 เมษายน เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีประกาศใช้พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินที่กระทรวงมหาดไทยในช่วงเวลาเที่ยง เมื่อกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติได้บุกเข้าไปในพื้นที่กระทรวง พล.อ.ประวิตรซึ่งอยู่ ณ ที่แห่งนั้น ต้องวิ่งหลบหนีเพื่อความปลอดภัยด้วย

ปลายปี พ.ศ. 2553 สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายาว่า "ป้อมทะลุเป้า" สืบเนื่องจากผลงานด้านความมั่นคงในการสลายการชุมนุมเสื้อแดงที่บรรลุเป้าหมาย รวมถึงการขออนุมัติงบประมาณต่างๆที่ถูกครหาด้วย[8] ในปี พ.ศ. 2557 หลังการยึดอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษา และเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[9] และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานด้านความมั่นคง

14 มิถุนายน พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 แต่งตั้ง นายปฏิคม วงษ์สุวรรณ ลูกพี่ลูกน้องพลเอกประวิตร เป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์[10]

ชีวิตส่วนตัว พล.อ.ประวิตร ครองตนเป็นโสดมิได้เคยผ่านการสมรสมาก่อน[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)

เหรียญชัยสมรภูมิ (กรณีสงครามเวียดนาม)

เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ชั้นที่1)

เหรียญราชการชายแดน

เหรียญจักรมาลา

เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[13]
อ้างอิง แก้ไข

↑ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 122/2557 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131, ตอนพิเศษ 181 ง , 15 กันยายน พ.ศ. 2557, หน้า 2
↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
http://www.rta.mi.th/COMMAND/command17/_history/his_pravit.htm ประวัติพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณผู้บัญชาการทหารบก
↑ ฉายานักการเมืองปี 53
↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
↑ จาก "ผบ.ทบ.โสดสนิท" คนแรก สู่ "รมว.กลาโหมที่ไม่มีภริยา" คนแรก ในประวัติศาสตร์
↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖) เล่ม 120 ตอนที่ 19ข วันที่ 1 ธันวาคม 2546
↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี 2551
แหล่งข้อมูลอื่น 

อ่านในภาษาอื่น
Last edited 16 days ago by an anonymous user