ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Thursday, March 19, 2015

ความฝันลม ๆ แล้ง ๆ ของ คสช. เรื่องการยื่นเรื่องต่อสหรัฐอเมริกา เพื่อขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน จากเหตุบึ้ม ฯลฯ ???

โดย อ.ธนบูรณ์ จิรานุวัฒน์
เครดิตภาพ:  http://chaoprayanews.com/blog/socialtalk/2014/12/22/1746/
การที่ประเทศไทยจะให้มีการส่งตัวคนไทย หรือคนสัญชาติ สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ร้ายข้ามแดน มาพิจารณาคดีอาญาในไทย ตามสนธิสัญญาสองฝ่าย (Bilateral Treaty) คือ สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน และสนธิสัญญาความร่วมมือในทางอาญาไทย – สหรัฐอเมริกา ทำได้แน่หรือ? การกล่าวอ้างเช่นนี้ มีเหตุผลตามกฏหมายใดมาสนับสนุน








คุณๆทั้งหลายครับ Common Law คือระบบกฏหมายที่ใช้ วันนี้มีใช้อยู่ในประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศในเครือจักรภพ ส่วนในสหรัฐอเมริกา ระบบที่ใช้อยู่ในศาล อาจลอกเลียนมาจากอังกฤษ แต่สหรัฐอเมริกา ก็ได้พยายามสร้าง ระบบกฏหมาย ที่เป็นตัวของสหรัฐอเมริกาเอง เราเรียกระบบกฏหมายในสหรัฐอเมริกาว่า "Anglo - Saxon Law"..............................................................................................................ฯ

แม้จะพิจารณาโดยผิวเผิน อาจคล้ายกัน แต่เมื่อนำมาใช้ในทางปฏิบัติแล้วไม่เหมือนกัน ในระบบกฏหมาย Anglo - Saxon มีความลึกมากกว่าในแง่ที่มุ่งไปหาความจริง ให้ใกล้ที่สุด เพื่อจะค้นหาความยุติธรรม ออกมาให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น Stare Decisis การที่ต้องถือตามคำพิพากษาของศาลสูง ในระบบ Common Law อาจดูหรือพิจารณาแล้วง่ายกว่า ในระบบของ Anglo - Saxon ในระบบของสหรัฐอเมริกา ต้องเป็นข้อที่ศาลสูงว่าไว้ ตรงกับประเด็นในคดีที่กำลังพิพาทกันอยู่ จึงจะเกิดการถือตาม หรือยึดถือตาม ได้.......................................................................................................................ฯ

ผมพูดในเรื่องนี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า การจะอ้างโยงข้อเท็จจริงใด เพื่อให้เกิดการถือตามคำพิพากษาศาลสูงได้ ข้อพิพาท หรือประเด็นพิพาท ที่กำลังว่าอยู่ในคดี หรือ เป็นข้อถกเถียงกัน ต้องตรงตามประเด็น ที่ได้พิพากษาไว้แล้วโดยศาลสูง อย่างนี้ทนายฝ่ายที่ ต้องการให้ถือตาม ต้องเป็นคนริเริ่ม ในคดีของตน เมื่อคดีนั้นไปสู่การวินิจฉัยของ ศาลสูง................................................................................................................................. ฯ

ในเรื่องที่ผม นำเสนอเกี่ยวกับ การจะโยง บุคคลภายนอก ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ เข้ามาในสำนวนเพื่อกล่าวหาเขาว่า กระทำความผิด ก็เห็นตั้งแต่ต้นแล้วว่า เป็นเรื่องการใช้กฏหมายคนละระบบ คือ ระหว่าง "ระบบกล่าวหา หรือ Adversary System แบบไทยๆ" กับระบบไต่สวนทั้งใน Common Law แบบอังกฤษ และ Anglo - Saxon แบบสหรัฐฯ ที่พิจารณาดูแล้วใกล้เคียงกัน คือเป็น " ระบบ Inquisitorial System" :ซึ่งเป็นระบบ ไต่สวน............................................................................................................. ฯ


เมื่อคุณไปขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับเขา แม้จะมีสนธิสัญญาความร่วมมือกันในทางอาญา ระหว่างสหรัฐฯ กับไทย แต่ในเนื้อหาของการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ จะปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่ว่านั้นได้ และ ที่เป็นสนธิสัญญา Bilateral Treaty เวลาจะส่งคนร้าย ที่ขอตัวมาให้แก่กันได้ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน สนธิสัญญาที่ว่านั้นจะปฏิบัติต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อไม่ขัด หลักกฎหมายของ การส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ใช้อยู่ในสหรัฐฯ ไม่ใช่ว่าเมื่อมีสนธิสัญญาต่อกันแล้ว จะบังคับใช้สนธิสัญญาในแบบดุ่ยๆ ไปได้ เลย.................................................................................................................................ฯ

ท่านผู้อ่านท่านใดสนใจ ให้ไปอ่านคดีในประเภทนี้ ที่มีชื่อว่า " In re Extradition of Signh, ที่ศาลอุทธรณ์เขต ๙ ของสหรัฐฯพิจารณาและพิพากษาเอาไว้เมื่อประมาณปีค.ศ.๒๐๐๐ ผ่านเครื่องอ่านของกูเกิ้ล โดยท่านพิมพ์ชื่อคดีใส่ลงในช่องสี่เหลี่ยมของกูเกิ้ล ท่านก็จะพบคดีที่ผมอ้างถึงนี้ ที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกับคดีอาญา ที่กำลังเริ่มในประเทศไทย มีประเด็น ที่กล่าวอ้างในคดีว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย" เหมือนกัน.............................ฯ

ในคดีของคุณ Signh รัฐบาลอินเดีย กล่าวหา Signh ว่า "เป็นผู้ก่อการร้าย" ในกรณีที่เขาเป็นหัวหน้าฝูงชน เข้ายึดวิหารทองคำในรัฐปัญจาบ ของอินเดีย และถูกรัฐบาลอินเดียส่งกองกำลังทหาร – ตำรวจ เข้าล้อมปราบด้วยอาวุธ Signh เป็นบุคคลในระดับหัวหน้าคนหนึ่ง ที่หนีหลุดรอดไป ได้....................................................................................ฯ

และต่อมาไปซ่อนตัวอยู่ในสหรัฐฯ รัฐบาลอินเดีย ทำเรื่องขอตัว Signh กลับมาอินเดีย ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน ตามสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างสหรัฐฯ และอินเดีย ศาลสหรัฐไม่ส่งตัวให้ อ้างเหตุว่า คดีอาญาที่ Signh ต้องข้อกล่าวหา เป็น Offenses characterized as Political Offenses ( Offense คือข้อหาในทางอาญา) ชื่อเต็มของคดี คือ "Kulvir Signh BARAPIND, 360 F 3d. 1061" เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้

เรื่อง นี้ ขึ้นอยู่กับว่า ประเทศไทย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอตัวผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ผ่านกระทรวงต่างประเทศของไทย ไปสู่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ไทย - สหรัฐฯ (อันนี้เรียกว่า Diplomatic Channel) หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ของ ไทย ขอให้อัยการสูงสุดของไทย เป็นคนกลางประสานไปยัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ภายใต้สนธิสัญญาความร่วมมือทางอาญา ไทย - สหรัฐฯ ตาม Bilateral Treaty ระหว่างไทย - สหรัฐฯ (ฉบับล่าสุด) ขณะนี้มีแต่ข่าว ยังไม่เห็นการกระทำของฝ่ายไทย เรายังพูดไม่ได้ว่า ทางไทยจะขอไปใน Channel ใด ครับ.


No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.