ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Monday, October 5, 2015

กษัตริย์ภูมิพลทรงร่วมให้การ ปรักปรำนายปรีดี และผู้บริสุทธิ์ทั้งสามคน

กษัตริย์ภูมิพลทรงร่วมให้การ
ปรักปรำนายปรีดี
และผู้บริสุทธิ์ทั้งสามคน
พระราชดำรัสให้การต่อศาลอาญาในปี 2493 ที่ทรงให้การเป็นพยานโจทก์ในวันศุกร์ที่ 12 และวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2493 ตีพิมพ์ใน สยามนิกร วันที่ 18 พฤษภาคม 2493 เฉพาะที่นัยยะสำคัญมีดังนี้
คำให้การพยานโจทก์
คดีหมายเลขดำที่ 1898/2493
ศาลอาญา
วันที่ 12 พฤษภาคม 2493
ความอาญาระหว่าง อัยการ โจทก์
นายเฉลียว ปทุมรส กับพวก จำเลย
ข้าพเจ้าขอให้การว่า ข้าพเจ้าชื่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และขอให้การต่อไป (ทรงตอบโจทก์)
[2] ในเช้าวันที่ 9 มิถุนายนนั้น ฉันกินอาหารเช้าเวลาใดบอกไม่ใคร่ถูก แต่ประมาณราว 8.30 น. กินที่มุขพระที่นั่งชั้นบนด้านหน้า กินอาหารแล้วฉันได้เดินไปทางห้องบรรทมในหลวงรัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นเวลา 9.00 น.ได้พบนายชิตกับนายบุศย์ อยู่ที่หน้าห้องแต่งพระองค์ เห็นนั่งอยู่ นายชิต นายบุศย์ นั่งอยู่เฉยๆ ฉันได้ถามเขาว่า ในหลวงพระอาการเป็นอย่างไร ได้รับตอบว่าพระอาการดีขึ้น ใครเป็นผู้ตอบจำไม่ได้ เขาตอบไปว่าทรงสบายดีขึ้น ได้เสด็จห้องสรงแล้ว ต่อจากนั้น ฉันได้เดินไปยังห้องของฉัน เดินไปตามเฉลียงด้านหลัง ตรงเข้าไปในห้องนอนของฉัน แล้วก็เข้าไปในห้องเครื่องเล่น เดินเข้าๆออกๆอยู่ที่สองห้องนี้ ระหว่างนั้นซึ่งเป็นเวลาประมาณ 9.25 น. ได้ยินเสียงคนร้อง ได้ยินในขณะที่อยู่ในห้องเครื่องเล่น ก่อนได้ยินเสียงร้องได้เห็นคนวิ่งผ่านประตูห้องบันไดซึ่งอยู่ติดกับห้อง เครื่องเล่น เสียงคนร้องเป็นเสียงใครจำไม่ได้ ได้ยินเสียงร้องแล้ว ฉันได้ออกจากห้องเครื่องเล่นไปยังเฉลียงด้านหน้าโดยผ่านทางห้องบันได ได้พบน.ส.จรูญ ที่หน้าห้องข้าหลวง ถาม น.ส.จรูญ ว่ามีอะไรเกิดเรื่องอะไร ได้รับตอบว่าในหลวงยิงพระองค์ ฉันได้ยินดังนั้นก็ตรงไปยังห้องพระบรรทมในหลวงรัชกาลที่ 8
[3] เมื่อเข้าไปถึงห้องพระบรรรทมแล้ว เห็นสมเด็จพระราชชนนีและพระพี่เลี้ยงเนื่องอยู่บนพระแท่นบรรทม สมเด็จพระราชชนนี ประทับอยู่เบื้องปลายพระบาทในหลวง โดยพระองค์อยู่บนพระแท่นครึ่งพระองค์ ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่องอยู่บนพระแท่นบรรทม และอยู่ตอนไปทางด้านพระเศียร

|เห็นในหลวงบรรทมอยู่บนพระแท่นในท่าหงายอย่างปรกติ เห็นที่พระนลาตมีรอยโลหิต พระเนตรหลับ สังเกตเห็นพระกรยืดอยู่ข้างพระวรกาย อยู่ท่าคนนอนธรรมดา พระกรแนบพระวรกาย ห่างจากพระวรกายตรงขอบพระหัตถ์ด้านในประมาณ 5 ซ.ม. ที่ว่านี้หมายถึงพระกรซ้าย ส่วนพระกรข้างขวาเป็นอย่างไรไม่เห็น สังเกตเห็นพระหัตถ์อยู่ในท่าธรรมดา นิ้วพระหัตถ์ไม่งอแต่พระหัตถ์งอบ้างอย่างธรรมดา คืองอนิดหน่อย มีผ้าคลุมพระบรรทมคลุมอยู่ด้วย พระกรอยู่ภายนอกผ้านั้น เห็นแต่ข้างซ้าย ข้างขวาไม่ได้เห็น ผ้าคลุมพระองค์ขึ้นมาเสมอพระอุระ
[4] เมื่อฉันเห็นเช่นนั้นก็บอกกับคนที่อยู่ที่นั่นให้ไปตามหมอมา แล้วฉันได้เข้าไปประคองสมเด็จพระราชชนนีมาประทับที่พระเก้าอี้ปลายพระแท่น บรรทม ต่อจากนั้น หลวงนิตย์ฯได้มาถึง จะมาถึงภายหลังที่ฉันเข้าไปในห้องพระบรรทมแล้วนานเท่าใด กะไม่ถูก หลวงนิตย์ฯเข้าไปดูแล้วกก็ไม่ได้พูดว่ากะไร แต่ฉันเห็นหน้าหลวงนิตย์ฯก็รู้ได้ว่าไม่มีหวังแล้ว สมเด็จพระราชชนนีได้เสด็จไปประทับในห้องทรงพระอักษรต่อไป
[5] เมื่อทราบว่าหมดหวังแล้ว ต่อมาได้เรียกพระยาชาติฯขึ้นมาถามว่าจะทำอย่างไรต่อไป พระยาชาติฯบอกถึงพระราชพิธีเกี่ยวกับพระบรมศพแล้ว ฉันก็สั่งให้เขาจัดการไปตามระเบียบ
วันที่ 15 พฤษภาคม 2493 (ทรงตอบโจทก์) ต่อจากวันที่ 12 พฤษภาคม 2493
[10] ฉันเคยทราบว่านายเฉลียว ได้นั่งรถยนตร์เข้าไปถึงหน้าพระที่นั่งบรมพิมาน ในหลวงรัชกาลที่ 8 จะทรงพอพระราชหฤทัยในการกระทำเช่นนั้นหรือไม่ ฉันไม่รู้ เคยมีครั้งหนึ่งที่สมเด็จพระราชชนนีรับสั่งเรียกรถยนตร์ไม่ได้มา เหตุที่ไม่ได้มา เพราะคันหนึ่งไปซ่อม อีกคันหนึ่งเอาไปให้นายปรีดี เขาว่ากันว่า นายเฉลียว เป็นผู้จัดส่งรถไปให้นายปรีดี แล้วนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ได้ส่งรถมาถวายให้ทรงใช้แทน
[11] ในหลวงรัชกาลที่ 8 ไม่เคยรับสั่งอะไรกับฉันถึงการเข้าเฝ้าของนายเฉลียวว่ามีคารวะหรือไม่ การที่นายเฉลียวพ้นตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์นั้น น่าจะเป็นด้วยในหลวงไม่พอพระราชหฤทัย เหตุที่ไม่พอพระราชหฤทัย เพราะอะไรไม่ได้รับสั่งแก่ฉันให้ทราบ
[12] ในคราวเสด็จประพาสหัวหิน นายปรีดีโดยเสด็จด้วย ในคราวนั้นนายปรีดีได้สั่งเอารถจี๊ปไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาต และนายปรีดีได้เคยจัดให้มีงานเลี้ยงขึ้นที่นั่น เลี้ยงพวกใต้ดิน จัดเลี้ยงโดยไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาต ในการเลี้ยงนั้นมีเสียงเอะอะ
[13] นายปรีดีเคยว่า จะสั่งให้เอาเปียโนมาถวาย จะสั่งมาจากไหนไม่ได้บอก ขณะนำมาถวายฉันไม่ได้อยู่ด้วย ในขั้นต้นฉันเข้าใจว่า เปียโนนั้นเป็นของนายปรีดี ต่อมาพระยาชาติฯบอกว่าเป็นของสำนักพระราชวัง
[14] เกี่ยวกับการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในการที่ในหลวงรัชกาลที่ 8 จะเสด็จต่างประเทศนั้น ฉันได้รู้บ้าง ความเห็นของนายปรีดีในการจะตั้งผู้สำเร็จราชการ จะตรงกับพระราชดำริหรือไม่ ฉันไม่ทราบ
[15] เกี่ยวกับการตั้งราชเลขานุการแทนนายเฉลียวที่พ้นตำแหน่ง ฉันรู้บ้าง ในหลวงมีพระราชประสงค์จะทรงตั้งท่านนิกรเทวัญ เทวกุล นายปรีดีปฏิบัติการสนองพระราชประสงค์นั้นชักช้า
[16] ในการที่ในหลวงจะเสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ โดยผ่านไปทางประเทศอเมริกาและยุโรปนั้น เป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน และทรงพระประสงค์จะได้เสด็จไปโดยเร็ว พระราชประสงค์นี้จนใกล้จะสวรรคตก็มิได้เปลี่ยนแปลง รัฐบาลจัดการเรื่องเสด็จนั้นเร็วช้าประการใดไม่ทราบ ในที่สุด ได้กำหนดเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ 13 มิถุนายน 2489
[17] นายมี พาผล เคยบอกฉันว่า วันที่ 13 จะเสด็จกลับไม่ได้ บอกเมื่อในหลวงเสด็จสวรรคตแล้วราว 2-3 อาทิตย์ ว่านายชิตเป็นผู้พูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับวันที่ 13
[18] ตามที่ตอบไว้เมื่อวันก่อนว่า เห็นคนวิ่งผ่านห้องบันไดไปนั้น ต่อมาฉันได้สอบสวนดู ฉันเคยถามนายชิตเขาบอกว่า เขาวิ่งมาทางหน้าพระที่นั่ง และบอกอีกครั้งหนึ่งว่าวิ่งมาทางหลังพระที่นั่งแล้วออกไปทางหน้า เขาไม่แน่ใจ นายชิตบอกและชี้ทางด้วย แต่ก็เป็นเรื่องไม่แน่นอน
[24] นายฉันท์ หุ้มแพร เป็นคนจงรักภักดี และเป็นห่วงในความสุขสบายของเรา เกี่ยวกับการปลอดภัย เขาเป็นห่วงเหมือนกัน นายฉันท์ฯไม่เคยพูดกับฉันมาก เป็นแต่เคยบอกกับฉันว่า ต้องระวัง ที่ว่าต้องระวังนั้น เข้าใจว่าระวังคน บอกตั้งแต่ฉันมาถึงเมืองไทย
[25] รถจี๊ปที่นายปรีดีเอาไปใช้นั้น เป็นรถส่วนพระองค์
[33] การที่นายปรีดีโดยเสด็จไปหัวหินด้วยนั้น นายปรีดีไม่มีหน้าที่โดยเสด็จ แต่จะเป็นพระราชประสงค์หรือเปล่า ฉันไม่รู้
[34] เรื่องสมเด็จพระราชชนนี ทรงเรียกรถใช้ไม่ได้นั้น จะก่อนหรือหลังกลับจากหัวหินจำไม่ได้ ได้ยินเขาพูดกันว่า รถนั้นนายปรีดีเอาไปใช้ โดยนายเฉลียวส่งไปให้
ลงพระปรมาภิไธย
ภูมิพล ปร.

คำให้การของกษัตริย์ภูมิพลก็เป็นเพียงการปรักปรำที่หาพยานหลักฐานเชื่อมโยงกับการปลงพระชนม์ไม่ได้เลย ที่จริงศาลที่ยึดหลักนิติธรรมก็ไม่น่าจะรับฟัง แต่ศาลก็พยายามโยง จับแพะชนแกะเพื่อหาเหตุมาลงโทษจำเลย รวมทั้งการปั้นพยานเท็จขึ้นมารองรับเรื่องโกหกที่แต่งกันขึ้นมา 
เป็นไปได้ว่ากษัตริย์ภูมิพลก็มีส่วนรวมในการแสดงละครโกหก เป็นคนให้การเพื่อที่ศาลจะได้อ้างเอาไปเล่นงานจำเลยผู้บริสุทธิ์ สังเกตได้จากคำพิพากศาลฎีกาที่ว่า....นายเฉลียวเป็นคนสนิทชิดชอบของนายปรีดี เป็นคนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ..ในหลวงกับนายปรีดีมีข้อขัดแย้งกันในการจะตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายปรีดีได้พูดกับนายวงศ์ เชาวนะกวี เมื่อก่อนสวรรคตเพียงวันเดียว ว่าจะไม่คุ้มครองราชบัลลังก์........นายเฉลียวขาดความเคารพยำเกรงต่อพระเจ้าอยู่หัว ส่งรถยนต์ประจำพระองค์ไปให้ผู้อื่นใช้ จนขัดข้องแก่การที่จะทรงใช้ นั่งรถยนต์ไขว่ห้างล่วงล้ำเข้าไปถึงหน้าพระที่นั่ง ถวายหนังสือราชการด้วยอาการขาดคารวะ จูบหญิงพนักงานในที่ทำการซึ่งอยู่ตรงหน้าพระที่นั่งพระบรมพิมานจนพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็น เหล่านี้เป็นการเหยียดหยามพระราชประเพณีและพระองค์ท่าน ไม่เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย ทรงรับสั่งแก่นายปรีดีขอเปลี่ยนราชเลขานุการ ต่อมา นายเฉลียวมีอาการกระด้างกระเดื่องต่อรัชกาลที่ 8 ไม่เกรงพระทัย นายชิตและนายบุศย์เป็นลูกน้องนายเฉลียว ส่วนเรือเอก วัชรชัยมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชองค์รักษ์ตามสมควร ขาดราชการบ่อย ๆ ฝักใฝ่อยู่ทางทำเนียบท่าช้าง ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ภายหลังที่ถูกปลดจากตำแหน่งราชองครักษ์แล้ว ก็ได้เป็นเลขานุการนายกรัฐมนตรี แถมศาลฎีกายังโยงเรื่องไปถึงนายฉันท์ หุ้มแพร ผู้เป็นห่วงในหลวงให้พกปืนและคอยระแวดระวัง แต่นายฉันท์ก็มาตายเสียก่อนเมื่อสวรรคตแล้วไม่ถึงเจ็ดวัน และนายชิตผู้พูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับวันที่ 13 มหาดเล็กคอยเตือนเรื่องความปลอดภัย...ซึ่งล้วนมาจากการปะติดปะต่อคำให้การหรือการปรักปรำของกษัตริย์ภูมิพลทั้งสิ้น เป็นการปรักปรำให้ร้ายใส่ความโดยไม่เกี่ยวกับพยานหลักฐานแม้แต่น้อย ประกอบกับการให้การของพยานที่ไม่มีหัวนอนปลายเท้าที่คือนายตี๋ ศรีสุวรรณที่พระพินิจชนคดีจ้างมาให้การ เท็จ ว่านายตี๋แอบไปได้ยินการวางแผนได้ยินเสียงพูดกันในห้องรับแขกของพลเรือตรี กระแสว่า "ผมไม่นึกเลย เด็กตัวนิดเดียว ปัญญาจะเฉียบแหลมถึงเพียงนี้.... พี่ชายว่าจะสละราชสมบัติให้น้อง คิดจะสมัครเป็นผู้แทน เป็นนายกฯ... เขาคิดเรื่องนี้สำเร็จออกไปได้ พวกเราจะเดือดร้อน ไม่ได้ อย่าให้พ้นไปได้ รีบกำจัดเสีย....นั่นตกเป็นพนักงานพวกผมเอง..พวกผมทำสำเร็จแล้ว ขอให้เลี้ยงดูให้ถึงขนาดก็แล้วกัน ...แล้วนายตี๋ก็ให้การว่าเห็นนายปรีดีคนเดียวออกจากบ้านไป พลเรือตรี กระแสตามออกไปส่ง ส่วนพวกที่มากับนายปรีดีอีกห้าคนนั้นออกไปนั่งดื่มสุรากันใต้ต้น มะม่วง...เรื่องปัญญาอ่อนแบบนี้ แต่ศาลฎีกาก็ยังมีเจตนาที่จะเชื่อเรื่องโกหกทุกเรื่อง ทั้งๆที่ไม่เกี่ยวกับการปลงพระชนม์แม้แต่น้อย ที่ฝรั่งเรียกว่าทฤษฎีสมคบคิด หรือ เป็นการสมรู้ร่วมคิดเตรียมการกันมา... โดยมีคนเขียนบท เขียนคำให้การให้กษัตริย์ภูมิพล และเขียนบทให้พระพินิจชนคดีไปจ้างพยานเท็จและเป็นคนเดียวกันที่เขียนคำ พิพากษาให้ศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์เพื่อปิดคดีให้กษัตริย์ภูมิ พลพ้นมลทินจากการเป็นผู้ต้องสงสัย
ก็คงไม่ต่างจากการที่พรรคประชาธิปัตย์สร้างพยานเท็จเพื่อให้ศาลรัดทำมะนวยที่หาเรื่องยกเลิกการเลือกตั้ง ยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน รวมทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับนักการเมืองที่รับรับเรื่องจากคตส.ให้จำคุก นายกทักษิณสองปีเพราะไปเซ็นรับรองให้ภรรยาไปประมูลซื้อที่ดินจากองทุนฟื้นฟู เป็นเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่าศาลไทยที่แขวนรูปพระเจ้าอยู่หัวไว้ในห้องพิจารณา คดี ได้ยึดถือเอาพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก เหนือกฎหมายและความชอบธรรมใดๆ ตั้งแต่เริ่มต้นรัชกาลที่ 9 เมื่อกว่า 60 ปีมาแล้ว
ประหารผู้บริสุทธิ์ 
เพื่อให้ท่านหลุดพ้นจากคดี 
ได้เป็นกษัตริย์ที่สง่างามสืบต่อไป
เช้ามืด ของวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 นักโทษชายที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกลางบางขวาง 3 คน ได้ถูกนำตัวไปยังหลักประหารของเรือนจำ คือ เฉลียว ปทุมรส ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 หรือเป็นเวลา 8 ปี 8 เดือน 8 วันก่อนหน้านั้น
การสวรรคต ของในหลวงอานันท์ เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดแต่ห้ามพูดถึงโดยเด็ดขาด 
ก่อนหน้ากรณีสวรรคตไม่กี่ปี ในช่วงที่คณะราษฎรยังเข้มแข็งสามัคคีกันดี สามารถปราบกบฏบวรเดชลงได้และศาลพิเศษ 2482 ยังได้วินิจฉัยว่ารัชกาลที่ 7 เป็นกบฏด้วยการบ่อนทำลายระบอบใหม่และช่วยเหลือกบฏบวรเดช แต่กรณีสวรรคตเกิดขึ้นในปี 2489 ในเวลาที่เริ่มเกิดการแตกหักระหว่างจอมพล ป.กับนายปรีดี และการเริ่มกลับมีบทบาทของกลุ่มนิยมกษัตริย์ที่เสียอำนาจไปเมื่อ 2475 กรณีสวรรคตจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นและสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่สร้างประเพณีห้ามพูดเรื่องของกษัตริย์
และเป็นโอกาสที่ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้หวนกลับมารื้อฟื้นทวงคืนอำนาจและอิทธิพลของระบอบราชาธิปไตยให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
ในความเงียบงันของคดีสวรคต ผู้ที่ได้รับผลโดยตรงหนักที่สุดก็คือ ผู้บริสุทธิ์ที่ถูกประหารชีวิตไปทั้ง สามคนนั่

No comments:

Post a Comment