สัมภาษณ์ผอ.รร.บ้านในหยง:กรณีผู้ปกครอง ร้องมูลนิธิมุสลิมเพื่อสันติ สาขาภูเก็ตเรื่องรร.ห้ามคลุมฮิญาบ
ประเด็นนี้ น่าคิดนะครับ ... หากทุกคนใช้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนาของตนได้ ผมถามเล่น ๆ ว่า ในโรงเรียนที่มีพี่น้องมุสลิมอยู่ด้วย สามารถมีพระพุทธรูปได้ไหม? คนพุทธที่ชอบหมู กินหมูในโรงเรียนได้ไหม? เมื่อยอมให้สองสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ พี่น้องมุสลิม ย่อมสามารถละหมาด และใส่ชุดมุสลิมได้
หากเราใจกว้างยอมรับความต่างซึ่งกันและกันได้ มันก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่การยอมต้องไม่ใช่ยอมข้างเดียว ต้องมีมาตรฐานเดียวกัน คือ ต้องเป็นตัวของตัวเองได้ แต่ต้องอยู่บนความต่างให้ได้ ยอมรับอะไรที่ขัดกับหลักที่ตนยึดถือได้ ที่ผอ. ท่านนี้พูด ก็มีเหตุผลให้ต้องนำมาคิดเช่นกัน ทุกฝ่ายยอมได้หรือไม่? หากยอมไม่ได้ ก็ต้องให้สถานที่นั้น เป็นที่ ๆ เป็นกลาง หาจุดประนีประนอม คือทุกฝ่ายสละองค์ประกอบทางอัตลักษณ์ของตน... เช่นในอเมริกา เขาก็พยายามกันศาสนาหนึ่งใด ออกไปจากโรงเรียน แม้ว่าโดยรากฐานแล้ว อเมริกาสร้างจากรากฐานความเชื่อในพระเจ้า แม้แต่ในเงินตราที่ใช้ ก็มีวลีว่า In God We Trust แต่เมื่อถึงรั้วโรงเรียนแล้ว เขาก็พยายามจะกำจัดความเหลื่อมล้ำทางศาสนา ด้วยการไม่ให้เอามาเป็นประเด็น คนไทยต้องลองพูดคุยกันนะครับ เพราะยังไงเสีย เราต้องยอมรับความจริงว่า ศาสนาที่นับถือพระเจ้า กับศาสนาพุทธ โดยพื้นแล้ว ไปกันไม่ได้ครับ แต่เราสามารถหาจุดอยู่ร่วมกันได้ไหมล่ะ?
Diversity ได้เป็นประเด็นในสังคมอเมริกันมาระยะหนึ่งแล้ว แต่สำหรับคนไทย เรามีปัญหาที่ซ่อนอยู่ใต้พรมมานาน และมันแสดงอาการมาระยะหนึ่งแล้ว เมื่อต้องมาเผชิญหน้ากัน คงต้องมาหาจุดพอดีร่วมกันครับ ... และในการตกลงกันตรงนี้ จะไม่มีใครได้ทุกอย่างหรือเสียทุกอย่างแน่นอนครับ เพราะหากเป็นเช่นนั้น มันก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งที่บานปลายในที่สุด อย่าลืมนะครับ ว่านิกายซุนนี และชีอะห์ ที่ไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันมากเหมือนพุทธ กับ อิสลาม และคริสต์ ก็ยังสามารถบานปลาย มีเหตุทางการเมืองเกี่ยวข้อง จนไล่ฆ่ากันอย่างไร้เหตุผลมาแล้วในหลายประเทศ ดังนั้น โจทย์นี้ คนไทยควรคิดกันให้ดี อย่าเอาแต่มุมมองของตนเป็นที่ตั้ง โลกวันนี้ ต้องการการใจกว้างทางมุมมองและการผ่อนปรนทางความเชื่อและวัฒนธรรมยิ่งกว่ายุคใด ๆ ที่ผ่านมาครับ
ประเด็นนี้ น่าคิดนะครับ ... หากทุกคนใช้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนาของตนได้ ผมถามเล่น ๆ ว่า ในโรงเรียนที่มีพี่น้องมุสลิมอยู่ด้วย สามารถมีพระพุทธรูปได้ไหม? คนพุทธที่ชอบหมู กินหมูในโรงเรียนได้ไหม? เมื่อยอมให้สองสิ่งนี้เกิดขึ้นได้ พี่น้องมุสลิม ย่อมสามารถละหมาด และใส่ชุดมุสลิมได้
หากเราใจกว้างยอมรับความต่างซึ่งกันและกันได้ มันก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่การยอมต้องไม่ใช่ยอมข้างเดียว ต้องมีมาตรฐานเดียวกัน คือ ต้องเป็นตัวของตัวเองได้ แต่ต้องอยู่บนความต่างให้ได้ ยอมรับอะไรที่ขัดกับหลักที่ตนยึดถือได้ ที่ผอ. ท่านนี้พูด ก็มีเหตุผลให้ต้องนำมาคิดเช่นกัน ทุกฝ่ายยอมได้หรือไม่? หากยอมไม่ได้ ก็ต้องให้สถานที่นั้น เป็นที่ ๆ เป็นกลาง หาจุดประนีประนอม คือทุกฝ่ายสละองค์ประกอบทางอัตลักษณ์ของตน... เช่นในอเมริกา เขาก็พยายามกันศาสนาหนึ่งใด ออกไปจากโรงเรียน แม้ว่าโดยรากฐานแล้ว อเมริกาสร้างจากรากฐานความเชื่อในพระเจ้า แม้แต่ในเงินตราที่ใช้ ก็มีวลีว่า In God We Trust แต่เมื่อถึงรั้วโรงเรียนแล้ว เขาก็พยายามจะกำจัดความเหลื่อมล้ำทางศาสนา ด้วยการไม่ให้เอามาเป็นประเด็น คนไทยต้องลองพูดคุยกันนะครับ เพราะยังไงเสีย เราต้องยอมรับความจริงว่า ศาสนาที่นับถือพระเจ้า กับศาสนาพุทธ โดยพื้นแล้ว ไปกันไม่ได้ครับ แต่เราสามารถหาจุดอยู่ร่วมกันได้ไหมล่ะ?
Diversity ได้เป็นประเด็นในสังคมอเมริกันมาระยะหนึ่งแล้ว แต่สำหรับคนไทย เรามีปัญหาที่ซ่อนอยู่ใต้พรมมานาน และมันแสดงอาการมาระยะหนึ่งแล้ว เมื่อต้องมาเผชิญหน้ากัน คงต้องมาหาจุดพอดีร่วมกันครับ ... และในการตกลงกันตรงนี้ จะไม่มีใครได้ทุกอย่างหรือเสียทุกอย่างแน่นอนครับ เพราะหากเป็นเช่นนั้น มันก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งที่บานปลายในที่สุด อย่าลืมนะครับ ว่านิกายซุนนี และชีอะห์ ที่ไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันมากเหมือนพุทธ กับ อิสลาม และคริสต์ ก็ยังสามารถบานปลาย มีเหตุทางการเมืองเกี่ยวข้อง จนไล่ฆ่ากันอย่างไร้เหตุผลมาแล้วในหลายประเทศ ดังนั้น โจทย์นี้ คนไทยควรคิดกันให้ดี อย่าเอาแต่มุมมองของตนเป็นที่ตั้ง โลกวันนี้ ต้องการการใจกว้างทางมุมมองและการผ่อนปรนทางความเชื่อและวัฒนธรรมยิ่งกว่ายุคใด ๆ ที่ผ่านมาครับ
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.