ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Monday, December 31, 2012

ปตท. ปล้นชาติ และหลักการต่อสู้เพื่อชิงอำนาจของประชาชน


Video streaming by Ustream

Tuesday, December 25, 2012

รัฐธรรมนูญคณะปฎิวัติประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 2556 (ฉบับสมมุติ)



ผมนั่งสมมุติว่า หากมีประเทศ ๆ หนึ่ง มีกษัตริย์เป็นประมุข แล้วเกิดการปฎิวัติล้มล้างการปกครองแบบเผด็จการราชาธิปไตย ประชาชนคิดการสำเร็จแล้ว แต่กำลังหาคนช่วยร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แล้วก็มาขอให้ผมช่วยร่าง ผมจะทำยังไงดี? อิ ๆ พอเหลียวไปเหลียวมา ไปเจอรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) 2549 ที่ คมช. หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้ให้นิติกรบริการร่างไว้อย่างดี จึงลองเอามาปรับแต่งเล่น ๆ เผื่อประชาชนประเทศตอแหลแลนด์ (สมมุติ) จะได้อำนาจมาแล้วสานต่อได้เลย ต้องขอบคุณ นักกฎหมายเก่ง ๆ ของไทยนะครับ ที่อำนวยความสะดวก (อิ ๆ)

ลองอ่านเล่น ๆ นะครับ

------------------------------------

รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2556

คณะปฎิวัติประชาชนชาวตอแหลแลนด์เพื่อเสรีประชาธิปไตย
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖
เป็นปีที่ ๑ ในยุคชาววิไล

สภาปฎิวัติประชาชนชาวตอแหลแลนด์ให้ประกาศว่า

โดยที่หัวหน้าคณะปฎิวัติล้มล้างระบบเผด็จการราชาธิปไตยอันมีหัวหน้าคณะปฎิวัติฯเป็นประมุข ในชื่อ คณะปฎิวัติประชาชนชาวตอแหลแลนด์เพื่อเสรีประชาธิปไตย ซึ่งได้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายนพุทธศักราช ๒๕๕๖ได้มีมติร่วมกับตัวแทนประชาชนทุกหมู่เหล่าว่า เหตุที่ทำการยึดอำนาจและประกาศให้ยกเลิก

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรตอแหลแลนด์เสียนั้น ก็โดยปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาในระบอบการปกครองเดิม ที่ความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ถูกครอบงำโดยมือที่มองไม่เห็น หรืออำนาจเหี้ย ๆ ของกษัตริย์และสมุนทั้งหลาย ทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยไม่อาจหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ เพราะกลไกต่าง ๆ ได้ถูกยึดไปเป็นของพรรคและเครือข่ายกษัตริย์เสียทั้งสิ้น จะเดินหน้าด้วยวิถีประชาธิปไตยแบบสันติวิธี ก็เป็นอันถูกขัดขวาง จนทำให้บ้านเมืองอึมครึม เสียหาย และนับวันแต่จะทวีความร้อนร้ายขึ้นทุกที ถือเป็นเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงทางการเมืองการปกครองเพียงเพราะพวกอภิสิทธิชนหัวโบราณภายใต้ระบอบการปกครอแบบราชาธิปไตย และปัญหาความขัดแย้งในมวลหมู่ประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้แบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายจนเสื่อมสลายความรู้รักสามัคคีของชนโดยกษัตริย์ไม่มีความเป็นกลาง ไม่มีทศพิธราชธรรม ใช้เครือข่ายหลอกลวง เป่าหัว และนำไปสู่การฆ่าฟันกันของประชาชน เพียงเพื่อหวังให้ตนเองและครอบครัวอยู่ต่อไปตลอดกาล โดยไม่สนใจว่า ประชาชนและประเทศชาติจะเสียหายปานใด ทำลายความสมดุลย์แห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน ก้าวล่วงจนระบบปกติไม่สามารถทำงานได้ แถมยังใช้ทหารและองค์กรอิสระ พร้อมกับพรรคการเมืองแห่งราชวงศ์ตอแหลปั่นป่วนบ้านเมือง พร้อมกับยุยงให้ประชาชนหลงผิด คิดจงรักภักดีกับตนอย่างไม่ละอาย และยุให้ประชาชนผู้หลงอย่างมืดบอดออกมาทำร้ายประชาชนและตัวแทนของประชาชนอย่างบ้าคลั่ง แม้หลายภาคส่วนที่มาจากประชาชนจริง ๆ ตามระบอบประชาธิปไตย จะได้ใช้ความพยายามแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าวแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล กลับมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นจนถึงขั้นใช้กำลังเข้าปะทะกัน
ซึ่งอาจมีการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อได้ นับว่าเป็นภยันตรายใหญ่หลวงต่อระบอบการปกครอง ระบบ
เศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของประเทศ จำเป็นต้องกำหนดกลไกทางปกครองที่เหมาะสมแก่
สถานการณ์เพื่อใช้ไปพลางก่อน โดยคำนึงถึงหลักประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ และไม่มีหัวหน้าคณะปฎิวัติฯเป็นประมุขหรือมาเกี่ยวข้องกับการปกครองอีกต่อไป

คณะปฎิวัติฯ จะให้คำมั่นในการการฟื้นฟูความรู้รักสามัคคี ดูแลระบบเศรษฐกิจและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เสริมสร้างระบบการตรวจสอบทุจริตที่เข้มแข็งและระบบจริยธรรมที่ดีงาม ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ พันธกรณีตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ การส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง ขณะเดียวกันก็เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชนในทุกขั้นตอน โดยตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง และเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ผ่านขั้นตอนการร่างและลงประชามติตามกรอบที่คณะปฎิวัติกำหนดแล้ว จะมอบอำนาจโดยเบ็ดเสร็จให้กับรัฐบาลและรัฐสภาของประชาชนต่อไป
จึงขอประกาศให้ใช้บทบัญญัติต่อไปนี้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรของประชาชน ภายใต้ระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยต่อไป

มาตรา ๑ ประเทศไทยเป็นของคนไทยทุกคนโดยเท่าเทียมกัน ใครจะทำตัวเหนือประชาชนหรือยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลของประชาชนไม่ได้

มาตรา ๒ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ผู้ใช้อำนาจนี้ จะต้องเป็นตัวแทนของประชาชนที่ผ่านการเลือกตั้งทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น

มาตรา ๓ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามหลักสากลที่ประเทศไทยเคยมีพันธกรณีมาก่อนและตามที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๔ ยกเลิกทุกมาตราที่เกี่ยวเนื่องด้วยอำนาจกษัตริย์และองคมนตรีทุกมาตรา และให้กษัตริย์ดำรงตำแหน่งประมุขทางสัญลักษณ์ ไม่มีอำนาจใด ๆ และไม่สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินใด ๆ ทั้งสิ้น ให้ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของแผ่นดิน คือของประชาชนทุกคน แต่ให้รัฐสภากำหนดเงินเดือนแก่กษัตริย์และราชวงศ์ตามสมควร โดยรัฐสภาจะต้องควบคุมและอนุมัติก่อนในทุกรายละเอียด
มาตรา ๕ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่แต่งตั้งโดยคณะปฎิวัติ ทำหน้าที่รักษาการจนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และมีการเลือกตั้งตัวแทนด้านบริหารและนิติบัญญัติภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว และให้ประธานสภานิติบัตติแห่งชาติทำหน้าที่ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีหัวหน้าคณะปฎิวัติฯ หรือตัวแทน ทำหน้าที่ประธานาธิบดี ในฐานะประมุขฝ่ายบริหาร ส่วนประมุขฝ่ายตุลาการนั้น ให้ประธานตุลาการแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งในลักษณะเดียวกัน

สมาชิกภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติและผู้ปฎิบัติงานด้านบริหารและตุลาการแห่งชาติสิ้นสุดลง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ถูกปลดโดยหัวหน้าคณะปฎิวัติฯ
(๔) ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
(๕) สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ

มาตรา ๗ หัวหน้าคณะปฎิวัติแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นประธานสภา
คนหนึ่ง และเป็นรองประธานสภาคนหนึ่งหรือหลายคนตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
การพ้นจากตำแหน่งของประธานสภา และรองประธาน ให้เป็นไปตามคำสั่งของคณะปฎิวัติฯ

มาตรา ๘ ในกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ใดกระทำการอันเป็นการเสื่อมเสีย
เกียรติศักดิ์ของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็นการขัดขวางต่อการปฏิบัติ
หน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพ
มติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียง
ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในวันลงคะแนน

มาตรา ๙ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของ
ประธานสภา รองประธานสภาและกรรมาธิการ วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างประชาบัญญัติ
การเสนอญัตติ การอภิปราย การลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และ
กิจการอื่นเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

มาตรา ๑๐ หัวหน้าคณะปฎิวัติตรากฎหมายประชาบัญญัติ ที่มีฐานะแทนประชาบัญญัติในการปกครองแบบเดิม โดยคำแนะนำและยินยอมของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ภายใต้บังคับมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ร่างกฎหมายประชาบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติร่วมกันจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือคณะรัฐมนตรี แต่ร่างประชาบัญญัติเกี่ยวด้วย
การเงิน จะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรี
ร่างประชาบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามวรรคสอง หมายความถึงร่างประชาบัญญัติว่าด้วย
ข้อความดังต่อไปนี้ทั้งหมดหรือแต่อย่างหนึ่งอย่างใด กล่าวคือ การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง
แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ รักษา จ่าย โอน
หรือก่อภาระผูกพันเงินแผ่นดิน การลดรายได้แผ่นดิน การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้ หรือ
ร่างประชาบัญญัติว่าด้วยเงินตรา
ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างประชาบัญญัติซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้เสนอจะเป็น
ร่างประชาบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่จะ
วินิจฉัย

มาตรา ๑๑ ในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี
ในเรื่องใดอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควร
เปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน หรือเมื่อเห็นว่าเป็นกระทู้
ที่ต้องห้ามตามข้อบังคับ
ในกรณีมีปัญหาสำคัญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนจะเข้าชื่อ
เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรีก็ได้ แต่จะลงมติไว้วางใจหรือ
ไม่ไว้วางใจไม่ได้

มาตรา ๑๒ ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารภารกิจแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรี
เห็นสมควรจะรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานาธิบดีจะแจ้งไปยัง
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้

มาตรา ๑๓ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใด ๆ ในทางแถลง
ข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด จะนำไป
เป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผู้นั้นในทางใดมิได้
เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ให้คุ้มครองถึงกรรมาธิการของสภา ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณารายงาน
การประชุมโดยคำสั่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะกรรมาธิการ บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุม
อนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดจน
ผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับ
อนุญาตจากประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย แต่ไม่คุ้มครองสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้กล่าว
ถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ หากถ้อยคำที่กล่าว
ในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณสภานิติบัญญัติแห่งชาติและการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็น
ความผิดอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ
ในกรณีที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติถูกควบคุมหรือขัง ให้สั่งปล่อยในเมื่อประธาน
สภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอ หรือในกรณีถูกฟ้องในคดีอาญา ให้ศาลพิจารณาคดีต่อไปได้ เว้นแต่
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติร้องขอให้งดการพิจารณาคดี

มาตรา ๑๔ หัวหน้าคณะปฎิวัติแต่งตั้งประธานาธิบดีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกจำนวน
ไม่เกินสามสิบห้าคนตามที่ประธานาธิบดีให้คำแนะนำ ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหาร
ภารกิจแผ่นดิน
หัวหน้าคณะปฎิวัติ มีอำนาจในการให้ประธานาธิบดีพ้นจากตำแหน่งตามที่
คณะปฎิวัติให้คำแนะนำ และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามที่
ประธานาธิบดีให้คำแนะนำ
การแต่งตั้งประธานาธิบดีและการให้ประธานาธิบดีพ้นจากตำแหน่ง ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ
แห่งชาติเป็นผู้ลงนาม
ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ หรือกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในขณะเดียวกันมิได้
ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีมีสิทธิเข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

มาตรา ๑๕ ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาแห่งอาณาจักร ความปลอดภัย
ของประเทศ ทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเมื่อมีความจำเป็น
ต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราที่ต้องพิจารณาโดยด่วนและลับ หัวหน้าคณะปฎิวัติฯไว้ซึ่ง
ประชาอำนาจในการตราประชากำหนดให้ใช้บังคับดังเช่นประชาบัญญัติ
เมื่อได้ประกาศใช้ประชากำหนดแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีเสนอประชากำหนดต่อสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติโดยไม่ชักช้า ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติอนุมัติแล้ว ให้ประชากำหนดนั้นมีผลใช้บังคับ
เป็นประชาบัญญัติต่อไป ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่อนุมัติ ให้ประชากำหนดนั้นตกไป แต่ทั้งนี้
ไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ประชากำหนดนั้น เว้นแต่ประชากำหนดนั้น
มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ให้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ก่อน
การแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกมีผลใช้บังคับต่อไปตั้งแต่วันที่การไม่อนุมัติประชากำหนดนั้นมีผลบังคับ
การอนุมัติหรือไม่อนุมัติประชากำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีไม่อนุมัติให้มีผล
ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๑๖ หัวหน้าคณะปฎิวัติฯมีอำนาจในการตราประชากฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อ
กฎหมาย
มาตรา ๑๗ บรรดาบทกฎหมาย หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ มีอำนาจสูงสุดในการอนุมัติหรือไม่ยอมรับตามมติเอกฉันท์ของคณะปฎิวัติฯ เว้นแต่
รัฐธรรมนูญนี้จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๘ ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยมีการรับรองด้วยลายมือของหัวหน้าคณะปฎิวัติฯ ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๑๙ ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยสมาชิกซึ่งให้แต่งตั้งตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มีจำนวนหนึ่งร้อยคน
หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง
และรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญอีกไม่เกินสองคน ตามมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติเป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง
ประธานสภาและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือดำรงตำแหน่งใด
ในพรรคการเมืองภายในเวลาสองปีก่อนวันได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
และต้องไม่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะเดียวกัน
ให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการของสภา ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณารายงานการประชุม
โดยคำสั่งของสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือคณะกรรมาธิการ บุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้
แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ และผู้ดำเนินการถ่ายทอด
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธาน
สภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓ เช่นเดียวกับสมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ให้นำมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับแก่องค์ประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญและให้นำ
ข้อบังคับของสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาใช้บังคับแก่การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๒๐ ให้มีสมัชชาแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งให้แต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี มีจำนวนไม่เกินสองพันคน
ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติตามวรรคหนึ่ง
ให้นำความในมาตรา ๕ วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การสรรหาบุคคลและการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม

มาตรา ๒๑ ในการประชุมสมัชชาแห่งชาติ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่
ประธานสมัชชาแห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รองประธานสมัชชา
แห่งชาติ
การประชุมสมัชชาแห่งชาติและวิธีการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่
ผู้ทำหน้าที่ประธานสมัชชาแห่งชาติกำหนด

มาตรา ๒๒ ให้สมัชชาแห่งชาติมีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกด้วยกันเองเพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อ
ผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนสองร้อยคน
ให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งแรก และเมื่อได้คัดเลือกสมาชิก
สภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่อาจคัดเลือกได้ครบถ้วน ให้สมัชชาแห่งชาติ
เป็นอันสิ้นสุดลง

การคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง ให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติมีสิทธิเลือกได้คนละไม่เกินสามรายชื่อ
และให้ผู้ได้คะแนนเสียงสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบสองร้อยคนเป็นผู้ได้รับเลือก ในกรณีที่
มีคะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใดอันจะทำให้มีผู้ได้รับเลือกเกินสองร้อยคน ให้ใช้วิธีจับสลาก
มาตรา ๒๓ เมื่อได้รับบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาแห่งชาติแล้ว ให้คณะมนตรี
แห่งชาติคัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้เหลือหนึ่งร้อยคน และนำความ
กราบบังคมทูลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ในกรณีที่สมัชชาแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่ไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๒๒
วรรคหนึ่ง ให้คณะปฎิวัติเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวนหนึ่งร้อยคน
เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเสนอแต่งตั้งต่อไป
ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติเป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ให้นำความในมาตรา ๕ วรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
และกรรมาธิการตามมาตรา ๒๕ ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๔ ในระหว่างที่สภาร่างรัฐธรรมนูญยังปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญนี้ไม่แล้วเสร็จ
หากมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ
คัดเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อตามมาตรา ๒๒ ที่เหลืออยู่ หรือจากบุคคลที่เคยเป็นสมาชิก
สมัชชาแห่งชาติ แล้วแต่กรณี เพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีตำแหน่งว่าง
ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ
ประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่

มาตรา ๒๕ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้คุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภาจำนวนยี่สิบห้าคน และผู้คุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิก
สภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวนสิบคนตามคำแนะนำของหัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประชากฤษฎีกา

มาตรา ๒๖ เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้จัดทำ
คำชี้แจงว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่นั้น มีความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๔๐ ในเรื่องใดพร้อมด้วยเหตุผลในการแก้ไขไปยังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ องค์กร
และบุคคลดังต่อไปนี้ (ซึ่งให้ปลดผู้อยู่ในตำแหน่งก่อนหน้านี้ให้หมด แล้วให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ แต่งตั้งใหม่) เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็น
(๑) คณะปฎิวัติ
(๒) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(๓) คณะรัฐมนตรี
(๔) ศาลฎีกา
(๕) ศาลปกครองสูงสุด
(๖) คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(๗) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(๘) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
(๙) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(๑๐) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(๑๑) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(๑๒) สถาบันอุดมศึกษา

ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารชี้แจงตามวรรคหนึ่ง
ให้ประชาชนทั่วไปทราบ ตลอดจนส่งเสริมและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนประกอบด้วย

มาตรา ๒๗ เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารตามมาตรา ๒๖ แล้ว
หากประสงค์จะแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม ให้กระทำได้เมื่อมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญลงชื่อรับรอง
ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีอยู่และต้องยื่นคำขอแปรญัตติพร้อมทั้ง
เหตุผลก่อนวันนัดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๒๘
สมาชิกที่ยื่นคำขอแปรญัตติหรือที่ให้คำรับรองคำแปรญัตติของสมาชิกอื่นแล้ว จะยื่นคำขอ
แปรญัตติหรือรับรองคำแปรญัตติของสมาชิกอื่นใดอีกไม่ได้

มาตรา ๒๘ เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ส่งเอกสารตามมาตรา ๒๖ ให้คณะกรรมาธิการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาความเห็นที่ได้รับมาตามมาตรา ๒๖ และคำแปรญัตติตามมาตรา ๒๗
พร้อมทั้งจัดทำรายงานการแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่แก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งเหตุผล เผยแพร่ให้ทราบ
เป็นการทั่วไป แล้วนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา
การพิจารณาของสภาร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่งเป็นการพิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ
หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและเฉพาะมาตราที่สมาชิกยื่นคำขอแปรญัตติตามมาตรา ๒๗
หรือที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอ โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจะแปรญัตติแก้ไข
เพิ่มเติมนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗ มิได้ เว้นแต่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเห็นชอบ
ด้วยหรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในห้าเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น

มาตรา ๒๙ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและพิจารณาให้แล้วเสร็จตาม
มาตรา ๒๘ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรก
เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียง
ประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งต้องจัดทำไม่เร็วกว่าสิบห้าวัน
และไม่ช้ากว่าสามสิบวันนับแต่วันที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่สภาร่างรัฐธรรมนูญประกาศกำหนด
การออกเสียงประชามติต้องกระทำภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร

มาตรา ๓๐ เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมาธิการ
ยกร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการยกร่างประชาบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์
ในการจัดให้มีการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ
เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการต่อไปซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ
ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญลงสมัคร
รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจาก
ตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

มาตรา ๓๑ ในการออกเสียงประชามติ ถ้าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของ
ผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแล้ว ให้ประธานสภานิติบัญญัติ
แห่งชาตินำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้

เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญและสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างประชาบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญตามมาตรา ๓๐ เสร็จแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๓๐ สุดแต่เวลาใด
จะถึงก่อน ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง

มาตรา ๓๒ ในกรณีที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายใน
กำหนดเวลาตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ก็ดี สภาร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ
ตามมาตรา ๒๘ วรรคสอง ก็ดี หรือในการออกเสียงประชามติตามมาตรา ๓๑ ประชาชนโดยเสียงข้างมาก
ของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ดี ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ
สิ้นสุดลง และให้คณะปฎิวัติประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน
สามสิบวันนับแต่วันออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อลง
พระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป
ในการประชุมร่วมกันตามวรรคหนึ่ง ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติทำหน้าที่
ประธานในที่ประชุม
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามมาตรานี้ ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้ลงนาม

มาตรา ๓๓ เงินประจำ ตำ แหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานสภาและ
รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในคณะมนตรี
แห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
และผู้ดำรงตำแหน่งในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในประชากฤษฎีกา

มาตรา ๓๔ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและแห่งชาติ ให้มี
คณะปฎิวัติ ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย อันมีหัวหน้าคณะปฎิวัติฯเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช
๒๕๕๖
หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติอาจแต่งตั้งสมาชิกคณะปฎิวัติ
เพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินสิบห้าคน
ให้หัวหน้า รองหัวหน้า สมาชิก เลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตย อันมีหัวหน้าคณะปฎิวัติฯเป็นประมุข เป็นประธาน รองประธาน สมาชิก
เลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฎิวัติ ตามลำดับ
ในกรณีที่หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธาน
คณะปฎิวัติตามลำดับที่หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติกำหนดทำหน้าที่
หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติ และในกรณีที่หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติและ
รองหัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้สมาชิกคณะมนตรี
แห่งชาติเลือกสมาชิกคณะปฎิวัติคนหนึ่งทำหน้าที่หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ
แห่งชาติ
ในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะปฎิวัติฯแห่งชาติหรือประธานาธิบดีอาจขอให้มี
การประชุมร่วมกันของคณะปฎิวัติและคณะรัฐมนตรี เพื่อร่วมพิจารณาและแก้ไข
ปัญหาใด ๆ อันเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและแห่งชาติ รวมตลอดทั้งการปรึกษา
หารือเป็นครั้งคราวในเรื่องอื่นใดก็ได้

มาตรา ๓๕ บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือเมื่อมี
ปัญหาว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งประกอบด้วย
ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรง
ตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ
จำนวนห้าคนเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่
ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับจำนวนสองคน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ธุรการ
และการอื่นใดตามที่ประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมอบหมาย
องค์คณะในการพิจารณาพิพากษา วิธีพิจารณา และการทำคำวินิจฉัย ให้เป็นไปตามที่คณะตุลาการ
รัฐธรรมนูญกำหนดโดยประกาศในประชากิจจานุเบกษา
บรรดาอรรถคดีหรือการใดที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญก่อนวันที่
๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ ให้โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการ
รัฐธรรมนูญ

มาตรา ๓๖ บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฎิวัติฯ หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฎิวัติฯ ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใดและไม่ว่าจะประกาศหรือ
สั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปและ
ให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้นไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศ
หรือคำสั่งนั้นจะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประกาศหรือคำสั่งหรือการปฏิบัติ
ที่ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

มาตรา ๓๗ บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจ
การปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ ของหัวหน้าและคณะปฎิวัติ รวมตลอดทั้งการกระทำของ
บุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฎิวัติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่ง
จากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไป เพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมา
ทั้งหมดนี้ ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ
รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ
ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลัง
วันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

มาตรา ๓๘ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้น
ไปตามวินิจฉัยและคำสั่งของคณะปฎิวัติฯ โดยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์
ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวแก่การวินิจฉัยกรณีใดตามความในวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวงงานของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือเมื่อมีกรณีที่คณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัย
ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยชี้ขาด

มาตรา ๓๙ ก่อนคณะรัฐมนตรีเข้ารับหน้าที่ ให้หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ
ปฏิบัติหน้าที่ประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรี


ผู้ลงนาม
xxxxxxxxxxxx

หัวหน้าคณะปฎิวัติฯ



-->
-->

Sunday, December 16, 2012

Start

Design |  ChatGPT |  Twitter 

รู้ไว้ใช่ว่า   |  ดร . เพียงดิน  |   ม ประชาชน  |  ห้องสมุด   |

| Kindle | | | Engli4life

GMAIL  | |  YOUTUBE  |  YouTube Studio |  YT-COMMUNITY |  Twitter |  Facebook |  FBST |  Dr. Snea P. Thinsan | Dr. Piangdin FBFacebook Feed | Facebook FavoritesInstagram | Patreon  ADSENSE  |

ไทยรัฐ  |  เดลินิวส์ |  มติชน |  ผู้จัดการ  |   กรุงเทพธุรกิจ |  BBC ไทย |  คม ชัด ลึก |  บ้านเมือง

Tuesday, November 13, 2012

ประชาชน...... บุก?


ประชาชน...... บุก?
เวลาผมเตรียมจัดรายการแต่ละครั้ง จะทำหัวข้อเอาไว้ แล้วก็เติมรายละเอียดไปตามจังหวะการพูด บางทีก็ลืมดูหัวข้อไปเลย ยกโน๊ตนี้มา เผื่อพี่น้องจะอ่านแล้วคิดตามไปด้วย เผื่อเกิดความคิดสำหรับการปฎิบัติการในภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อ ในเวลานี้ 
บุก ไม่ใช่การทำผิดกฎหมาย ศีลธรรม ไม่ใช่การก้าวร้าว ใจร้อนบุ่มบ่าม ไม่ใช่การไม่มียุทธศาสตร์ยุทธวิธี  แต่อยู่บนพื้นฐานการมองภาพใหญ่และเข้าใจรายละเอียดเล็ก ๆ
การบุก คือ การรุก  การรับที่ดี บางทีคือการรุก   สเปน คือตัวอย่างฟุตบอลที่เล่นเต็มสนามได้ดี บีบพื้นที่เล็กเก่ง เคลื่อนไหวเร็วเหมือนมดแดง มีเชิงสูงเหมือนนักรบชั้นยอด 

ทำไมต้องบุก
  • บทเรียนที่ผ่านมา เรายอมตลอด แต่เขาไม่มีทีท่าว่าจะยอม
  • ดาวพระศุกร์ ซื้อใจเหี้ยไม่ได้
  • ทางไปสู่การแก้ไขตามกรอบกฎหมายและอำนาจอธิปไตย ไม่มีทางเป็นไปได้ เจอทางตัน
  • เขาไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ศักดิ์ศรีของประชาชน และอำนาจบริหารและนิติบัญญัติท่ประชาชนเลือกเข้าไป
  • กลไกทุกอย่างของเขา ยังอยู่แม้อาจจะยังบุกไม่ได้ผลหรือถูกจังหวะย่างก้าวของประชาชนขึงพืดไว้
  • พวกเขาทำผิดไว้มากมาย แต่เราไม่เคยจัดการได้ เพราะเราไม่ได้จัดการกันอย่างจริงจัง คดีความถูกวางค้างคาขบวนการ คนผิดลอยนวล ฯลฯ
  • การผิดหลักการ แสดงว่าพวกเขาอ่อนแอเต็มที่แล้ว เพราะใช้กลไกอำนาจเปลืองเกินไป และสู้กับประชาชน

บุกอย่างไร?
  • กลยุทธการล้อมกระดาน เพื่อความง่ายในการรุกฆาตหรือล้มกระดาน
  • มดแดงหลายรัง ล้มช้างทั้งฝูง
  • มองการสู้เป็นกองทัพ... กองทัพ  เพื่อไทยคือทัพหน้า ประชาชนคือทัพปีกและทัพหลวง
  • แนวรบต่าง ๆ คือ กองทัพหรือการทหาร  ตุลาการ รัฐสภาและรัฐบาล สื่อและระบบการศึกษาและวัฒนธรรม  การแย่งมวลชน … การจัดตั้ง เป้าหมายและวิธีการ
  • ทุกคนเป็นนักปฎิวัติ...​ทำได้หลายอย่าง ต้องเรียนรู้ รวมตัว ริเริ่ม รุกรับ รู้รัก ร้องเรียน รุกราน รังควาน รุกฆาต... ภารกิจมีหลากหลาย เฉพาะหน้า ระยะกลางที่คาดเดาได้ และระยะยาว 
ระยะเฉพาะหน้า ระยะกลาง และระยะยาว
  • สานแนวร่วมทุกด้าน ด้วยอุดมการณ์ร่วมสูงสุดและการแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง...
  • ร่างปฎิญญาประชาชน เพื่อเป็นอุดมการณ์ร่วมสูงสุด  
  • โต้และดับฝันประชาธิปัตย์
  • ให้บทเรียนและใช้งานสานช่องทางปฎิวัติกับนักการเมืองและแกนนำ
  • จัดตั้งกองทัพมดแดงหลากหลายรัง
  • เตรียมการต้านรัฐประหารอย่างเป็นระบบ เดินแผนใต้ดินและบนดิน
  • จัดการกับพี่น้องเสื้อแดงในคุกและจัดการคดีความของแก็งค์ทรราชย์ฆาตกร
  • จัดการกับตุลาการอุบาทว์
  • ตอบโต้สื่อและผลิตสื่อเชิงรุก เพื่อยึดมวลชนด้วยหลักการที่เราได้เปรียบ
  • หนุนการแก้มาตรา  112 และกฎหมายกบถต่าง ๆ
  • หนุนการริดรอนกลไกเถื่อนทุกองค์กร ทำอะไรได้ต้องทำ อย่างจริงจัง...ให้ได้ผล
  • หนุนและผลักดันการลงสัตยาบันกับ  ICC
  • หนุนการร่างรัฐนูญ จัดกรอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ สร้างฝัน และส่งคนของประชาชนเข้าไปมีอิทธิพลกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
  • สร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยและวัฒนธรรมแห่งอารยะประเทศ (ระยะกลางและยาว)
  • การวิจัยและชี้แนะแนวทาง เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง  ต้องมีการสร้างวาระประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยมีการตั้งคณะศึกษา ติดตามผล และสร้างแนวปฎิบัติเพื่อการปฎิวัติประเทศ ด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ด้านทรัพยากร ด้านสังคม ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านส่งเสริมประชาธิปไตย  
  • ร่างแนวนโยบายพรรคการเมืองในฝัน กดดันเพื่อไทยให้รับ หรือกรุยทางสำหรับสร้างพรรคการเมืองประชาชน  หรือเพื่อให้เพื่อไทยให้คำมั่นสัญญา

Thursday, September 20, 2012

จะมอมเมาเอาเงินจนเกินหรือ?



จะมอมเมาเอาเงินจนเกินหรือ?
หลากเรื่องคือคาวต่ำระยำเรื่อง
คนสูงศักดิ์รักใครเราไม่เคือง
แต่ไยเปลืองการเปล่าเอาเรื่องย้อน

คนสูงศักดิ์มักสวยรวยทรัพย์สิน
อยู่นอนกินสิ้นสารงานสื่อสอน
ยกภาพดีมีสุขในทุกตอน
ไม่เคยย้อนทุกข์ยากจากโลกจริง

ย้ำชนชั้นปั้นแต่งแหล่งเพ้อฝัน
ใส่ความมันอันเน่าให้เข้าสิง
คนดูเคลิ้มเติมโง่โคควายลิง
ยอมให้ปลิงดูดเปล่าเหง้าโบราณ

จะกี่ปีกี่ชาติไม่พลาดย้อน
ทำละครเรื่องเก่าเมามัวซ่าน
โลกหมุนเวียนเปลี่ยนไปมาไกลนาน
ยังซาบซ่านผ่านเรื่องเปลืองเวลา

เรื่องความจริงสิ่งชั่วมั่วกิเลส
อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทุกทั่วหน้า
ปัจจุบันทันคิดลิขิตพา
ไยไม่หามาป้อนสอนสังคม?

ทำไมผมเกลียดและทำลาย ดร. ทักษิณ ไม่ลง

ผมนั่งจิบไวน์แดง Cabernet Sauvignon 2009 จาก  Columbia Valley, Washington ซึ่งไม่แพงมาก แต่รสชาติกลมกล่อมและหวานอมนิ่ม  พร้อมกับชิ้นแฮมหลากรสย่างไฟพออุ่นและหอม  แล้วก็มานั่งดูถ่ายทอดย้อนหลัง บอลยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลึก ระหว่าง บาร์เซโลน่า และ สปาร์ตัคมอสโคว  แล้วก็นั่งคิดเล่น ๆ เรื่องการเมืองไทย คำถามหนึ่งที่น่าจะมีบางท่านสงสัย คือทำไมผมถึงไม่ค่อยจะวิพากษ์ดร. ทักษิณ แบบรุนแรง หรือเผ็ดร้อน แบบเมื่อก่อน โดยเฉพาะสมัยอยู่ Red UDD  และตอนตั้งมหาวิทยาลัยใหม่ เมื่อต้นปีนี้

บางท่านอาจจะคิดกันแบบไร้เหตุผลและหลักฐานว่า ดร. เพียงดิน ได้เจอ ดร. ทักษิณ ครั้งแรก แล้วก็เลยถูกซื้อ เลยอ่อนเป็นเทียนลนไฟ  ทั้ง ๆ ที่เคยด่า เคยคาดหวัง และคาดโทษดร. ทักษิณ ไว้ว่า "หากไม่ลงสัตยาบันกับ ไอซีซี แล้วพี่น้องคนไทยถูกทหารออกมาฆ่าอีก คุณทักษิณ ก็เป็นศัตรูกับผม"!!!

วันนี้ ผมยังถือเช่นนั้นหรือไม่   ผมตอบได้ว่า ยังถือว่า ดร. ทักษิณ ต้องมีส่วนรับผิดชอบ แต่จะเป็นศัตรูเลยหรือไม่  ผมยังละเอาไว้ เพราะคำตอบตรงนั้น มันไม่ใช่อะไรที่เถรตรงอีกต่อไป    ผมเลยอยากบอกพี่น้องที่ชอบลีลาเด็ดขาดของผมไว้ตรงนี้ว่า  ผมเกลียดและทำลาย ดร. ทักษิณไม่ลง ด้วยเหตุที่สมผล ไม่ใช่เพราะถูกซื้อ หรือถูกคอกับ ดร. ทักษิณ หรือถูกอิทธิพลใด ๆ มาทำให้เบี่ยงเบนไปจากเป้าหมายสำคัญสูงสุดของอุดมการณ์ทางการเมือง       เหตุที่ผมเกลียดและโทษ ดร. ทักษิณไม่ลง มีดังนี้ครับ

หนึ่ง เหมือนที่ผมได้บอก ดร. ทักษิณ ไว้ คือ เมื่อผมมองดูคนในประเทศไทยทั้งหมด และแยกเป็นสองกอง คือ กองหนึ่งเป็นคนดี หรือพยายามคิดดี ทำดี พูดดี เพื่อสิ่งดี ๆ กับประชาชน และอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นฝ่ายที่คิด พูด และทำเพื่อประโยชน์ของคนส่วนน้อย แล้วใช้เล่ห์กล อภิสิทธิ์ อำนาจ และมายาต่าง ๆ จนบ้านเมืองเสียหายมหาศาล ทำร้ายประชาชนอย่างใจโหดเหี้ยมเหมือนไม่เห็นประชาชนเป็นคนเหมือนพวกเขา แล้วผมจัด ดร. ทักษิณไว้ในกลุ่มแรก  ดังนั้น ผมจะยังไม่ถือว่าท่านเป็นศัตรูของประชาชนครับ ยิ่งเรามองจากกรรมที่ผ่านมา ผลงานที่ผ่านมา และกรรมปัจจุบัน  ผมยิ่งมั่นใจว่า ตัดสินไม่ผิดพลาดนัก
และเมื่อต้องมีทัพสองทัพ คือทัพเผด็จการและประชาธิปไตยมาเผชิญหน้ากัน ผมเชื่อว่า ดร. ทักษิณจะไม่ทิ้งทัพประชาธิปไตย จะไม่อยู่ข้างอำมาตย์แล้วหันมาทำร้ายประชาชน

สอง จากการสัมผัสแบบสั้น ๆ และไม่ได้ลึกซึ้งอะไรมาก ผมพอจะรู้สึกได้ว่า ดร. ทักษิณ รักประชาชนมากกว่าฝ่ายอำมาตยาราชาธิปไตยแน่นอน  ผมได้ดูหน้าตา ฟังความคิด และได้ยินกับหูเห็นกับตา ตอนที่ ดร. ทักษิณย้ำว่า ท่านเป็นคนกตัญญู  ท่านอยากให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น และเมื่อดูจากสันดานและพฤติกรรมที่ผ่านมา ผมเชื่อว่า ท่านจะไม่ทิ้งประชาชนเมื่อวันสำคัญมาถึง หากท่านยังมีลมหายใจอยู่

สาม ดร. ทักษิณ เป็นเหยื่อของวงจรอุบาทว์ในระบอบราชาธิปไตย บ้านแตกสาแหรกขาด (แบบคนรวย)  กลับบ้านเกิดเมืองนอนไม่ได้ ถูกใส่ร้ายและปองร้ายแบบไม่หยุดหย่อน ถูกทำให้เสียศักดิ์ศรี  ซึ่งเมื่อดูแล้ว ใครก็ตามไม่น่าจะตายตาหลับได้ หากไม่ได้รับความยุติธรรม ดังนั้น ดร. ทักษิณ ไม่น่าจะกลายเป็นศัตรูประชาชนและขบวนปฎิวัติได้จริง และในใจลึก ๆ ท่านต้องมีสำนึกที่สมเหตุสมผลว่า ควรทำอะไรบ้าง

สี่ เราอาจจะมีหลักการต่าง ๆ และความคาดหวังให้ ดร. ทักษิณและน้องสาว ต้องทำตามหลักการเหล่านั้น แต่เราต้องไม่ลืมว่า สมุนและองคาพยพฝ่ายเผด็จการ เขาพร้อมทำลายขุมกำลังของ ดร. ทักษิณตลอดเวลา   ดูการทำงานของ ปชป. สื่อสามานย์ คณะกรรมการอิสระ (ตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปปช. คอป. และแม้แต่ศาลอาญา) และองคาพยพของฝ่ายราชาธิปไตย เราจะเห็นได้ชัดว่า นิ่งก็ไม่ปลอดภัย ขยับยิ่งเป็นการเชื้อเชิญการแตกหัก และสิ่งที่เพื่อไทยและ ดร. ทักษิณ ทำได้ คือรักษาอำนาจ และค่อย ๆ ปรับดุลย์อำนาจให้ได้เปรียบ เพื่อผลในวันต้องแตกหัก ดังนั้น การคาดหวัง เราสร้างเป็นกระแสได้ แต่ผลของมันนั้น เราต้องเข้าใจความเป็นจริง แล้วเราจะทำลายคนที่อยู่ในสภาพอย่างนี้ ด้วยความคาดหวังที่ไม่สมเหตุผล และการจ้องทำลายแทนที่จะกดดันอย่างมิตร และแนะนำอย่างเพื่อนร่วมทางและหวังดีเล่า สำคัญที่สุด เราต้องถามตัวเองว่า เราอยากให้ใครทำอะไรนั้น แล้วตัวเราล่ะ ทำอะไรได้ ทำอะไรได้จริง ๆ แล้วควรจะทำอะไรเพิ่มขึ้นไปอีก?

ห้า ดร. ทักษิณ อาจจะมีอิทธิพลต่อพรรคเพื่อไทยและน้องปูบ้าง แต่เราต้องเข้าใจว่า น้องปูไม่ใช่คนเดิม น้องปูมั่นใจขึ้น รู้ช่องทางมากขึ้น และมีโลกของตัวเอง ที่มีกลุ่มผลประโยชน์ คนรู้ใจ คนไว้ใจ (?) และผลประโยชน์ส่วนตนที่มองเห็นและใช้ประโยชน์ได้ จากการวางตัวรับใช้ระบอบเผด็จการ และการรอมชอมอย่างที่เป็นอยู่ ดร. ทักษิณ สั่งได้แค่ระดับหนึ่ง และขอร้องได้แค่ในบางเรื่อง น้องปู ถูกบงการด้วยทั้งทิฎิฐิส่วนตัว และอิทธิพลรอบข้าง  ประสบการณ์และความรู้ที่เธอมี ไม่สามารถทำให้เธอมองภาพรวมของทั้งระบบของสังคมไทยได้ครบ  ดังนั้น บางเรื่องเธอไม่ยอมตาม ดร. ทักษิณ และยืนตรงข้ามกระแสแดงปฎิวัติ และการเป็นประชาธิปไตยแบบต้องเปลี่ยนแปลงทั้งระบอบอย่างเป็นธรรมชาติของเธอ ดังนั้น หลายเรื่อง การโทษ ดร. ทักษิณ จึงไม่ใช่เรื่องที่ตรงความจริงนัก  แปลว่า น้องปู ต้องแบ่งรับความรับผิดชอบไปด้วย

หก ในอดีตที่ผ่านมา เราไม่เคยคาดหวังให้ใครมาเป็นนายก หรือมีอำนาจ แล้วจะต้องไปหักหาญ เปลี่ยนระบอบจากอำมาตยาราชาธิปไตย ให้เป็นระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์  เราหวังแค่ให้ได้นายกฯ ที่ดี ทำงานให้ได้ผลถึงปากท้องและความเจริญของประเทศ  ดร. ทักษิณ ใช้มวลชนเป็นฐาน ก็ควรจะรับผิดชอบกับภาระที่มวลชนฝากให้ด้วย  แต่เราก็ต้องไม่ลืมมองด้วยว่า ดร. ทักษิณ ไม่ได้สมบูรณ์ทุกด้าน ท่านอาจจะหัวก้าวหน้า มองโลกทะลุ เก่งทางเศรษฐศาสตร์ และกล้าบริหารจริง แต่ท่านก็เป็นอดีตนายตำรวจ ที่ถูกฝังหัวด้วยความหลงบางประการ ท่านไม่สมบูรณ์หรอกครับ อาจจะสำนึกช้า ทำช้า กลับตัวช้า กล้าช้า หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่เราจะไปทำลายท่านหรือ?  เราเองไม่มีหน้าที่ทำหรือ?  เมื่อฝ่ายตรงข้ามเขามีทัพที่มีหลายทัพย่อยครบครัน และไม่ยอมหยุด   แล้วเราประชาชนจะให้นายกฯ หรือ ดร. ทักษิณ ทำแทนเราหรือ?  เรามีส่วนต้องทำด้วยใช่หรือไม่?  ดังนั้น แทนที่จะโทษและทำลายกันแบบไม่ระวัง  ทำไมเราไม่ดันให้เขาเกิดสำนึก แล้วหันมาทำเพื่อประชาชนแทนการด่าแบบสาดเสียเทเสีย หรือคาดหวังแบบไม่สมเหตุสมผล ไม่พยายามเข้าใจ แล้วก็ไปขัดจังหวะ หรือพูดทำลาย โดยเราไม่ทำอะไรที่เราต้องทำด้วยเลย

เจ็ด ข้อนี้เป็นหมายเลขประจำตัว เวลาผมเล่นฟุตบอล  ขอจบตรงนี้ว่า ผมเกลียด ดร. ทักษิณ และทำลายท่านไม่ลง เพราะท่านน่าจะเป็นเหมือน เมสซี่ ที่ยิงสองประตู ให้บาเซโลน่าชนะสปาร์ตัคฯ 3-2  การทำลาย ดร. ทักษิณ สำหรับผม เหมือนการที่แฟน ๆ หรือผู้จัดการทีมบาร์เซฯ เอาฆ้อนไปไล่ทุบเท้าเมสซี่ ที่อาจจะไม่ยอมยิงประตูหรือเล่นได้ไม่เต็มฟอร์ฒ ถามว่า ทำแล้วได้อะไรครับ?  ผมคิดว่า สำหรับดร. ทักษิณ เราบอกให้ท่านทราบว่า มวลชนหวังจากท่าน รักท่าน และฝ่ายตรงข้ามมันโหดร้าย เลวร้าย และไม่มีทางยอมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเจตนาอันดีมีธรรมสูงของท่าน ดังนั้น ท่านต้องเข้าใจและยอมรับภาระที่ประชาชนยื่นให้ ในการเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนประเทศ

ไวน์หมดไปครึ่งขวด แอมหมดไปสี่ห้าชิ้น และตบท้ายด้วยคุ๊กกี้อีกสี่ห้าชิ้น  ผมจบบทความพอดี เกมบาร์เซฯ จบพอดี   ผมหวังว่า ใครที่คิดว่า คนที่สู้มาในฐานะนักคิดเสื้อแดง จะถูกซื้อ เปลี่ยนอุดมการณ์ หรือหน่อมแน้มมาทำลายกันเอง หรือทิ้งหลักการสูงสุดนั้น จะได้คิดว่า ทุกคนมีเหตุผลของตัวเอง และเหตุผลที่ลึก ๆ นั้น ในบางครั้ง มองแค่สิ่งที่ท่านได้ยินหรือเห็นไม่ได้ หรือสรุปจากที่ปากคนพูดไม่ได้  ต้องใช้ใจ ใช้สติ และใช้ความเฉลียวฉลาดบนอุดมการณ์ที่สูงจนเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ความโลภ โกรธ หลง และตัวแปรใด ๆ เอื้อมไปทำลายไม่ได้

อยากบอกว่า เวลานี้ พี่น้องเสื้อแดงจงอย่าได้หลงผิด แล้วทำลายกันเอง ศัตรูเราคือใคร ต้องอย่าหลงครับ อย่าได้สร้างนิสัยทำลายตัวเองและกันเอง ด้วยเหตุใดก็ตาม   หากท่านจะหลงลืม ขอให้คิดเอาไว้ว่า อุดมการณ์แดงนั้น แท้จริงแล้วคืออะไร  หากคำตอบของท่านมันชัดและลึกพอแล้ว ท่านจะพบว่า แดงไม่ว่าเฉดไหน ลึก ๆ แล้ว เราเป็นพี่น้องร่วมอุดมการณ์กันได้แน่นอน

อย่างไรก็ตาม ผมต้องบอกว่า ผมไม่นิยมสิ่งเหล่านี้ คือ ลัทธิการบูชาบุคคลเหนือหลักการ การเชื่อโดยไม่ตรวจสอบ การมีพระเอกนางเอกขี่ม้าขาวเป็นหลัก การใช้ความหยาบคายทำลายล้าง และการหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและคณะอย่างไม่อายฟ้าดินหรือโดยดูถูกประชาชน   และผมเชื่อว่า รัฐบาลและ ดร. ทักษิณ ทำได้มากกว่าที่ทำ และหากไม่มีแรงกดดัน พวกเขาจะทำดีได้น้อยกว่าที่ควรจะทำได้ เพราะมนุษย์ทุกคน มีจุดอ่อน มีโอกาสทำบาปหรือหลงผิดได้      ดังนั้น ไม่ต้องไปโอ๋หรืออวย ดร. ทักษิณ และคุณปูหรือใคร ๆ จนเกิดเหตุนะครับ   และท้ายสุด สิ่งที่ต้องย้ำสำหรับตัวผมก็คือ ผมไม่รักเจ้า ไม่เอาระบอบราชาธิปไตย ยืนยันเสมอว่า อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชนโดยสมบูรณ์ไม่ว่าจะมีเจ้าในสังคมไทยหรือไม่ก็ตาม   ท้ายสุด ขอทุกท่านโชคดีมีสุขนะครับ พี่น้องที่รักทุกท่าน

ด้วยรักและศรัทธาเสมอ
เพียงดิน ฉบับเคลิ้มไวน์แดง (อิ ๆ)


Saturday, September 15, 2012

สามสิบคำถาม เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทย สำหรับคนไทยทุกหมู่เหล่า


30 คำถามจากคนไม่รักเจ้า


สามสิบคำถาม เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทย สำหรับคนไทยทุกหมู่เหล่า

ขอเดชะ ประชาชนไทยที่รักทุกท่าน

ผมจะเขียนบทความชิ้นนี้ ในรูปคำถามทั้งหมด เพื่อให้พี่น้องคนไทยทุกหมู่เหล่า ได้คิดตาม คำถามผม อาจจะเหมือนมีอคติอยู่บ้าง แต่มันก็เป็นโอกาสให้คนที่รักสถาบันกษัตริย์ได้คิดหาคำตอบ หาหลักฐานมาหักล้าง และอธิบายความให้สังคมไทยได้เช่นกัน

หวังว่า คำตอบ จะทำให้ท่านเดินหน้าไปอีกหลายก้าวในเชิงการเมือง เพื่อจะได้ตาสว่างกันยิ่งขึ้น
และกลายเป็นผู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ชาติเราต้องการในที่สุดในเวลานี้  หรือท่านอาจจะรักสถาบันกษัตริย์ และระบอบการปกครองอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ต่อไปหรืออาจจะมากขึ้นด้วยซ้ำ.... ผมไม่ได้คิดเรียบเรียงอย่างรอบคอบนักนะครับ  ลองคิดไปด้วย และหากมีคำถามชวนคิดมากกว่านี้  ก็กรุณาช่วยกันเติมได้นะครับ เชื่อว่ามีอีกมากมาย และการได้เกิดสัมมาทิฏฐิ ไม่อยู่บนความลุ่มหลง หรือถูกผลักดันด้วยความโกรธแค้น หรือรักแบบงมงาย แล้วทำลายแบ่งแยกกันเอง แล้วให้ชนชั้นปกครองหลอกใช้

  1. ประเทศไทย เป็นของประชาชนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน หรือเป็นของกษัตริย์คนเดียว หรือเป็นของชนชั้นสูงส่วนน้อยที่เขาอ้างว่ามีอำนาจ มีคุณธรรม และมีบุญบารมีมากกว่าประชาชนทั่วไป?
  2. กษัตริย์ภูมิพลและบรรพบุรุษท่านใดเคยรบข้าศึก เคยปกป้องประเทศ เคยก่อตั้งประเทศอย่างแท้จริง? ในการรบแต่ละครั้ง กษัตริย์ได้รบจริงกี่ครั้ง ในกองทัพมีครอบครัวกษัตริย์กี่คน มีลูกหลานชาวบ้านกี่คน? การอ้างว่ากษัตริย์รักษาบ้านเมือง ทำให้ชาติอยู่รอด เป็นวาทกรรมโดยใคร? เพื่ออะไร? 
  3. พฤติกรรมใดของกษัตริย์ คือพฤติกรรมที่เหมือนพ่อของท่านจริง ๆ? สิ่งใดที่ทำให้ประชาชน สมควรต้องเคารพรักและเทิดทูนไว้เหนือหัว เสมือนบิดามารดา หรือดั่งเทวดา? พฤติกรรมใดของกษัตริย์และครอบครัวที่ทำให้เราสมควรอยู่ใต้ฝุ่นที่อยู่ใต้เท้าของพวกเขา?
  4. กษัตริย์ภูมิพลและครอบครัว แสดงอาการใดบ้าง ที่สรุปได้ชัดว่า รักประชาชน ห่วงใยประชาชน และทำประโยชน์ให้ประชาชน? ท่านมีหลักฐานใดชัดเจนที่ไมใช่แค่เขาเล่ามา?
  5. ในบรรดาพระราชกรณียกิจ และโครงการพระราชดำริที่ออกอากาศแทบทุกวัน ท่านได้รับประโยชน์โดยตรงใด ๆ บ้าง  ทำให้ชีวิตท่านดีขึ้นอย่างไรบ้าง มีหลักฐานใด? ทำไมต้องมีการนำเสนอกันแบบสม่ำเสมอ? หากให้เลือกดูข่าวสารความรู้เกี่ยวกับโลก วิชาชีพ และองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่าง ๆ ในช่วงสองทุ่มทุก ๆ วัน วันนี้ความรู้ของท่านจะก้าวไกลไปแค่ไหน?  และการโฆษณาเรื่องผลงานครอบครัวกษัตริย์ ทำขึ้นเพื่อสิ่งใด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนจริงหรือ?
  6. กษัตริย์ภูมิพลเหาะมาจากฟ้าพร้อมกับวงศ์ตระกูลหรือไม่? ทราบได้อย่างไรว่าท่านมีบุญบารมีเหนือมนุษย์? ก่อนเป็นกษัตริย์ ฐานะท่านและครอบครัวเป็นอย่างไร? วันนี้ฐานะท่านเป็นอย่างไร?
  7. ทำไมพิธีกรรมต่าง ๆ จึงเป็นการชูกษัตริย์เป็นเทวดา ตามลัทธิพราหมณ์  ทั้ง ๆ ที่กษัตริย์เป็นผู้ที่นับถือพุทธ และต้องพระราชทาน พระบรมราชูปถัมน์ให้กับศาสนานี้? 
  8. การที่กษัตริย์ยกตัวเหนือสงฆ์ ด้วยการแต่งตั้งและให้ลาภยศแก่พระสงฆ์นั้น ส่งเสริมหรือทำลายศาสนาพุทธ ที่สอนให้ลด ละ และเลิก ความเป็นตัวตน การครอบครองสิ่งต่าง ๆ อันรวมถึงลาภ ยศ สรรเสริญ เพื่อเข้าสู่การก้าวไปสู่นิพพาน?
  9. ทำไมท่านต้องจงรักภักดีกับกษัตริย์? การจงรักภักดีนั้น ชูกันขึ้นมาเพื่อชาติ หรือเพื่อใคร? 
  10. ใครเป็นคนสร้างความคิดว่า คนทั้งหลายต้องรัก ต้องภักดี แบบไม่ต้องคิดถึงเหตุผล เขาทำเพื่ออะไร? ท่านสมควรเชื่อตามนั้นหรือไม่? เพราะเหตุใด?
  11. กษัตริย์ไทยร่ำรวยที่สุดในโลก ในบรรดาราชาทั่วโลก แล้วทำไมจึงทรงสอนให้ประชาชนอยู่อย่างพอเพียง? กษัตริย์ไทยทำตัวอย่างไรที่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าอยู่อย่างพอเพียง?  การบีบหลอดยาสีฟัน เป็นภาพความจริง หรือแค่ภาพเล็ก ๆ ท่ามกลางภาพความหรูหรา เช่น เครื่องบิน รถ ปราสาท อาหารการกิน ฯลฯ ของคนในราชสำนัก?
  12. ทำไมประเทศที่กษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก จึงมีโสเภณีเต็มทั่วทุกจังหวัด มีนักท่องเที่ยวเพื่อกิจกรรมทางเพศ เข้าประเทศไทยเพื่อเสวยสุขจากเด็กหญิง เด็กชาย และหนุ่มสาวของประเทศอย่างคับคั่ง? ท่านรวยได้อย่างไร ทำมาหากินอะไร รับเงินภาษีประชาชนไปใช้ทางตรงและทางอ้อมเท่าได้ และได้ช่วยเหลือประชาชนแค่ไหน?  ท่านมีหลักฐานในประเด็นเหล่านี้เพียงใด? ท่านได้พยายามหาเพิ่มหรือไม่?
  13. ทำไมมีการฆ่าประชาชนในประเทศไทยในช่วงรัชกาลที่เก้า จนมีคนตายมากมาย หลายครั้ง นับตั้งแต่ตุลาคม 251425-16, พฤษภาคม 2535, เมษายน 2552 และเมษา-พฤษภา 2553 โดยคนสั่งและคนปฏิบัติการฆ่าไม่ได้ถูกพิจารณาและลงโทษเลย แถมผู้เกี่ยวข้องจำนวนหลายคน โดยเฉพาะในกลุ่มทหารและผู้ใกล้ชิดกับวัง ต่างได้ดิบได้ดีหลังความรุนแรงแทบทุกครั้ง?
  14. ทำไมเราบอกว่า ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจเป็นของประชาชน แต่รัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้าไปหลายครั้ง ถูกทหารแย่งอำนาจแบบหน้าตาเฉย แล้วก็มีความชอบธรรม เพียงแค่กษัตริย์ลงนาม? ทำไมความผิดใด ๆ ที่หนักหน่วงขนาดถึงกับต้องโทษประหารชีวิต ก็ได้รับการพระราชทานอภัยโทษหมด?  แปลว่ากษัตริย์ร่วมกับทหารและนักการเมืองมักง่าย ปล้นอำนาจประชาชน ใช่หรือไม่ใช่? เพราะเหตุใด? ทำไมเวลามีการรัฐประหาร การทำม็อบล้มรัฐบาลฝั่งปชต. หรือเวลามีทหารหรือกองกำลังพลเรือนออกมาฆ่าประชาชนหัวก้าวหน้าหรือเอียงซ้าย จึงต้องมีการใช้สัญลักษณ์ของกษัตริย์หรืออ้างความจงรักภักดี โดยกษัตริย์เองก็ไม่ได้คัดค้านหรือห้าม?
  15. กษัตริย์อยู่เหนือการเมือง เป็นวาทกรรมที่หลอกลวง หรือเป็นจริง?  อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ต้องผ่านด้วยลายเซ็นต์ของกษัตริย์ทุกครั้ง ใช่หรือไม่?
  16. ทำไมทหารที่อยู่ใกล้ชิดกับสถาบันกษัตริย์ คือกษัตริย์และพระราชินี จึงออกมามีส่วนในกิจกรรมการเมือง จนทำให้มีการยิงหัวประชาชนมือเปล่านับร้อยคน  และกษัตริย์ไม่ได้แสดงความเสียพระทัยหรือให้ข้อคิด เตือนสติ หรือห้ามปรามใด ๆ เลย?  นี่ใช่ครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทยหรือไม่ใช่? ทำไมจึงไม่มีการลงสัตยาบันรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ? ทำไมจึงมีการปิดปากประชาชนไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์และสถาบันด้วยมาตรา 112?
  17. กษัตริย์ภูมิพล ถือศีลห้า ครบหรือไม่?  ท่านทราบได้อย่างไร? 
  18. ในทศพิธราชธรรม สิบข้อนั้น มีสิ่งใดบ้าง ท่านทราบหรือไม่ว่าเหตุใดคนถึงอ้างว่ากษัตริย์ไทยเป็นธรรมราชา?  ประเทศที่มีธรรมราชา ควรมีคุณลักษณะอย่างประเทศไทยหรือ?
  19. เอาล่ะ ช่วยทบทวนความจำให้นะครับ ทศพิธราชธรรมประกอบด้วย ๑. ทาน l ๒. ศีล l ๓. บริจาค l ๔. ความซื่อตรง l ๕. ความอ่อนโยน l ๖. ความเพียร ๗. ความไม่โกรธ l ๘. ความไม่เบียดเบียน l ๙. ความอดทน l ๑๐. ความเที่ยงธรรม   ท่านคิดว่า กษัตริย์ภูมิพล ถือครบสิบข้อนี้หรือไม่ ดีเพียงใด? ทราบได้อย่างไร? ครอบครัวของท่านปฏิบัติศีลและธรรมเหนือกว่ามนุษย์ธรรมดาจริงหรือ? ท่านมีหลักฐานเต็มหูเต็มตาหรือไม่?
  20. มีคนกล่าวว่า รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศไทย มีพัฒนาการเชิงเป็นประชาธิปไตยน้อยลง หรือหมกเม็ดเพื่อริดรอนเสรีภาพ และความเสมอภาค แล้วก็สร้างความแตกแยกรุนแรงในชาติไทยเพิ่มยิ่งขึ้นในระยะหลังนี้ เพราะอะไร?  บางคนบอกว่า เพราะประชาชนรู้ความจริง และความกลัวก็ทำให้คนสำคัญ ๆ ของชาติต้องออกมาใช้อำนาจเผด็จการ ผ่านการสุมหัวกันของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ทหาร ศาลที่คณะรัฐประหารตั้ง สื่อที่เอียงขวาและอิงกับพ่อค้าและผู้ดีที่ได้ประโยชน์จากการทำธุรกิจเคียงข้างหรือได้ผลประโยชน์ร่วมกับเจ้า ถึงกับต้องสั่งฆ่าประชาชน   ท่านเห็นด้วยหรือไม่? เพราะอะไร?
  21. เกิดมาชาตินี้ ท่านเคยเจอกษัตริย์ตัวเป็น ๆ กี่ครั้ง?  พระองค์และครอบครัวได้ทำอะไรที่ให้ประโยชน์กับท่านหรือครอบครัว หรือคนในชุมชนท่านบ้าง? คิดเป็นเงินได้กี่บาท? คิดเป็นความเจริญได้กี่กิโลกรัม?
  22. การมีกษัตริย์อยู่ ให้คุณประโยชน์อะไรแก่ประเทศชาติ ที่จับต้องได้ อยู่บนหลักเหตุผลมากกว่าอารมณ์ และมีหลักฐานชัดเจนที่ท่านเห็นและรับรู้กับหู กับตา?
  23. หากสถาบันกษัตริย์หมดไปจากสังคมไทย หรือไม่มีอำนาจใด ๆ ให้ใครไปอ้างใช้ได้อีก จะมีอะไรเกิดขึ้นที่เป็นผลร้ายที่แก้ไขไม่ได้?  คนไทยขาดกษัตริย์ไม่ได้จริง ๆ หรือ? ให้คิดทั้งทางการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และแม้แต่วิถีชีวิตประจำวันของท่าน และระบบราชการในบ้านในเมืองระดับต่าง ๆ?
  24. หากกษัตริย์หมดไป หรืออำนาจกษัตริย์หมดไป ประเทศไทยจะได้อะไรเพิ่มขึ้นบ้าง?  ใครจะได้ประโยชน์สูงสุด? ใครจะเสียประโยชน์สูงสุด? 
  25. ที่บอกว่ากษัตริย์ไทยทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรี กีฬา เรื่องน้ำ เรื่องเขื่อนฝายกั้นน้ำ เรื่องการพัฒนา เรื่องเทคโนโลยี ฯลฯ  ท่านเห็นด้วยหรือไม่? มีหลักฐานและการตรวจสอบใด ๆ หรือไม่? ท่านทราบได้อย่างไร? ทำไมกษัตริย์และราชวงศ์จึงไม่ได้เรียนจบอะไรมากมาย? ทำไมกษัตริย์ภูมิพลและพระราชินีจึงไม่จบปริญญาตรี และลูก ๆ ไม่มีใครเรียนจบปริญญาเอกเหมือนลูกชาวบ้านสักคน?  
  26. ทำไมคนบางกลุ่มถึงอ้างว่าเขาจงรักภักดีกษัตริย์นักหนาและมากกว่าคนอื่น เขารู้ได้อย่างไร เรารู้ได้อย่างไร   และพวกเหล่านั้น ได้ประโยชน์มากกว่าพวกเราหรือไม่ อย่างไร?  
  27. ท่านทราบไหมว่ากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกของพระราชา เสียภาษีเท่าไหร่  เอาเงินภาษีประชาชนเข้าไปใช้ปีละเท่าไหร่  และเงินบริจาคแต่ละปีเป็นเงินเท่าไหร่ กษัตริย์และราชวงศ์บริจาคเงินและทรัพย์สินในยามชาวบ้านเดือดร้อนเท่าไหร่?  พฤติกรรมของพ่อของแผ่นดิน สรุปได้จากความรักความใสใจตรงนี้ ได้มากน้อยแค่ไหน?
  28. กษัตริย์ไทยดีจริงแค่ไหน  ทำไมต้องมีการบังคับให้ยืนเคารพในโรงหนัง ทำไมต้องมีซุ้มเต็มบ้านเมือง ทำไมต้องจัดงานต่าง ๆ อย่างยิ่งใหญ่เพื่อเชิดชู ทำไมต้องแสดงภาพการมีคนบริจาคเงินแทบทุกวัน และทำไมจึงต้องห้ามประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ หรือละเมิดไม่ได้เลย?
  29. ความดีของกษัตริย์ภูมิพล วัดได้จากตรงไหน? ท่านมีเหตุผลและหลักฐานใดบ้าง? คนดี ของระบอบการปกครองปัจจุบัน ทำไมต้องจงรักภักดีและมียศตำแหน่งใกล้ชิดและรับใช้วังด้วย?  
  30. เมื่อมีกษัตริย์ ก็มีชนชั้น และการแบ่งชนชั้น  ทำให้คนเหยียดหยามคนที่ตนมองว่าต่ำกว่า  ซึ่งไม่ใช่สิ่งดี  หากไม่มีกษัตริย์ ปัญหาใด ๆ ของชาติจะลดหรือหายไปได้ง่ายหรือเร็วขึ้น? เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ (ความเป็นพี่น้องและกลมเกลียว) ถูกส่งเสริมหรือบั่นทอนโดยสถาบันกษัตริย์ไทย??? กษัตริย์ไทยส่งเสริมประชาธิปไตยหรือบ่อนทำลาย? ท่านมีเรื่องราวและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดสนับสนุนคำตอบของท่าน 

Tuesday, August 28, 2012

ความกล้าและความงามทางจริยธรรมสมัยก่อน...กับสมัยนี้




ได้ดูหนังไทยเรื่องเพื่อน-แพง ที่คุณสรพงษ์ ชาตรี ได้แสดงไว้
โดยเฉพาะในแง่คำสาบาน ความซื่อสัตย์ ความจริงใจ และความรักที่บริสุทธิ์
คำพูดและบทที่แสดงถึงความกล้า ความจริงใจ และจริยธรรมสมัยก่อนนั้น
มันเห็นจริง จับใจ และชวนขนลุกยิ่งนัก

ผิดกับคำอันสวยหรูของไอ้และอีที่อยู่ในสภาและในหน้าสื่อปัจจุบันนี้
ล้วนแต่พูดเพื่อเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่ผู้อื่น
หลอกหลวงด้วยความจริงที่ซ่อนเงื่อน และเจตนาที่ผิดศีลธรรมจรรยา
ในส่วนการกระทำเล่า ก็ยิ่งตอแหลอย่างหน้าด้าน ๆ
หลักการชี้ไปซ้าย แต่ฉันจำต้องไปขวา
คำมั่นสัญญา ไม่ว่าจะเป็นวาทกรรมที่ให้ไว้ หรือจะด้วยพันธะทางใจ
เราจะทวง จะหาจากใครได้....

เพราะภายใต้ระบอบเผด็จการนี้
คนดีก็เลวได้ และคนเลวก็เลวแล้วดูดีได้
ก็โชคดีที่กฎแห่งกรรมมันมีจริง ประชาชนไม่ใช่งี่เง่า ให้ถูกหลอกใช้ไปตลอด
วันนี้ราษฎรตาสว่าง เขาจึงลุกขึ้นมาทวงคำสัญญา ทวงอำนาจและสิทธิประโยชน์ของพวกเขา

แม้ว่าเราจะฟังวจีของไอ้ลอที่บาดคม ลึก กินใจ และชื่นชมมันยิ่งนัก
แต่จะให้ตายแทนใคร หรือตายแบบไร้เหตุผล หรือเพราะพันธะทางใจกับใครที่เขาไม่จริงใจด้วยนั้น
เห็นท่าจะยาก  เพราะนี่มันปี 2555  ปีที่ความจงรักภักดีแบบไม่มีเงื่อนไข มันหมดไปแล้ว เฟ้ย...อิ ๆ