ประชาไท 31 กรกฎาคม 2555 >>>การถามหาจริยธรรมของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จริยธรรมที่คอยกำกับพฤติ
กรรมของตน และประเด็นนี้ก็ท้าทายสำนึ
กทางการเมืองของประชาชนด้วย
ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นักการเมืองรุ่นใหม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นนักการเมืองที่ถูกสังคมกำลั
งกังขา ถามหาถึงจริยธรรม (Ethics) มากที่สุด เพราะในห้วงหลายปีที่ผ่านมาใช้
วาทศิลป์เป็นประโยชน์กับฝ่
ายตนได้เป็นอย่างดี และเป็นอาวุธทิ่มแทงฝ่ายตรงข้
ามได้อย่างโดดเด่น ประกอบกับการมีสถานะเป็นนักเรี
ยนอังกฤษ หัวก้าวหน้า ทำให้นายอภิสิทธิ์ กลายเป็นนักการเมืองดาวรุ่ง และเป็นความหวังของสังคมตามมา การเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่
สุดเสมือนเป็นโรงเรียนการเมื
องให้กับนักการเมืองมาหลายๆ รุ่น จึงมิใช่เรื่องยากเย็นมากนัก
สังคมมองกันว่านายอภิสิทธิ์ เป็นคนไม่กลัวหน้าอินทร์หน้
าพรหม มักจะใช้วาทศิลป์ตอบโต้กับปฏิปั
กษ์อย่างสม่ำเสมอหนักบ้างเบาบ้
างตามจังหวะและเวลา บางครั้งถึงขนาดอบรมสั่งสอนนั
กการเมืองผู้อาวุโสกลางสภาก็ยั
งเคยทำมาแล้วโดยไม่เลือกหน้า จึงทำให้นายอภิสิทธิ์ มีศัตรูมากพอๆ กับมิตร นักการเมืองหลายคนอาจจะชื่นชอบ และเป็นพวกเดียวกันได้ แต่บางคนบางฝ่ายไม่นิยมชมชอบ ชนิดผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ ถึงกระนั้นนายอภิสิทธิ์ก็โชคดี เมื่อพรรคพลังประชาชนที่
ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนท่วมท้
นถูกยุบด้วยคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ นักการเมืองที่เคยสังกัดพรรคพลั
งประชาชนอยู่ฝ่ายตรงข้ามกั
บนายอภิสิทธิ์ แปรพักตร์หันไปสนับสนุน ดวงชะตาพลิกผันจนได้ดำรงตำแหน่
งนายกรัฐมนตรีเกือบสามปี ท่ามกลางความคลางแคลงของการได้
มาในตำแหน่งดังกล่าว เพราะมีการเกื้อหนุนจากบุคคลที่
มองไม่เห็น (Invisible man) จนเรียกกันติดปากว่
านายกเทพประทาน การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึ
งเป็นที่มาของคดีความการสั่งฆ่
าประชาชน 91 ศพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการไต่
สวนมูลเหตุแห่
งการตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิ
จารณาความอาญา นี่เป็นกรณีหนึ่งที่สังคมกำลั
งถามหาความรับผิดชอบและจริ
ยธรรมจากนายอภิสิทธิ์
การดำเนินบทบาทของนายอภิสิทธิ์
ไม่ว่าเรื่องส่วนตัวหรื
อทางการเมือง เริ่มถูกสังคมเพ่งมองและตั้
งคำถามในความถูกต้
องชอบธรรมและความเหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อนายกมล บันไดเพชรได้ขุดคุ้ย พฤติกรรมส่วนตัวที่ไปผูกโยงกั
บสาธารณะและประโยชน์ของส่วนรวม มีประเด็นให้โจษขานถึงการใช้
อำนาจอิทธิพลของชนชั้น เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ไม่มากก็น้
อย โดยเฉพาะการที่ชายไทยต้องเข้ารั
บการเกณฑ์ทหารตามกฎหมายกันทุกๆ คน แต่นายอภิสิทธิ์ ก็ได้รับอภิสิทธิ์ไม่ต้องปฏิบั
ติตามกฎหมายว้าด้วยการเกณฑ์
ทหารเช่นชายไทยคนอื่นๆ จึงมีทั้งคำถามและข้อครหาคละกั
นไปว่า นายอภิสิทธิ์ได้ใช้สถานะความเป็
นชนชั้นสูงหลบหลีกและหลีกเลี่
ยงการเกณฑ์ทหารในห้วงอดีตที่ผ่
านมา นี่ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่สั
งคมกำลังถามหาความรับผิ
ดชอบและจริยธรรมจากนายอภิสิทธิ์ เช่นกัน
พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่
าการกระทรวงกลาโหมและคณะออกมาแถ
ลงข่าวยืนยันข้อเท็จจริงว่า “อภิสิทธิ์ ไม่ได้เข้ารับเกณฑ์
ทหารตามกฎหมายเยี่ยงชายไทยจริง” และมีการใช้เอกสารไม่ถูกต้
องในการสมัครเข้ารับราชการเป็
นอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อย โดยมีการสั่งลงโทษข้าราชการที่
เกี่ยวข้องไปแล้ว...สอคล้องกั
บคำยืนยันของผู้บัญชาการทหารบก ที่บอกว่า เรื่องมันจบไปตั้งแต่ปี 2542 แล้ว แต่ที่จบนั้น ก็คือการลงโทษข้าราชการที่ได้
กระทำความผิ
ดในการปลอมแปลงเอกสารราชการ แต่ผู้ที่ใช้
เอกสารราชการปลอมเราจะดำเนิ
นการกันอย่างไรยังไม่มี
คำตอบจากกระทรวงกลาโหม และกองทัพบก
แม้ว่านายอภิสิทธิ์ และนักการเมืองในพรรคประชาธิปั
ตย์ จะมีความเชี่ยวชาญและเจนจั
ดในแง่มุมกฎหมาย จึงทำให้มองเห็นลู่ทางการต่อสู้
คดีได้อย่างชัดเจน ดังเช่นหลายคดีที่ผ่านมามั
กจะเป็นคุณกับฝ่ายตนเสมอ อาจพลิกสถานการณ์จากความเสี
ยเปรียบเป็นได้เปรียบโดยไม่
ยากนัก แต่ในครั้งนี้สังคมเริ่มมี
แนวโน้มที่จะเชื่อว่า นายอภิสิทธิ์และคณะ อาจใช้อิทธิพลและสถานะความเป็
นชนชั้นสูงเข้
าไปแทรกแซงระบบการเมื
องและกระบวนการยุติธรรมในสั
งคมไทย ทำให้เรื่องการใช้
เอกสารราชการปลอมเงียบหายไปอี
กครั้งหนึ่ง
จึงมีประเด็นคำถามของสังคมที่ว่
า จำเป็นหรือไม่ที่นักการเมืองอย่
าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี จะต้องคำนึงถึงจริยธรรมที่
คอยกำกับพฤติกรรมของตน ประเด็นนี้นับว่าท้าทายสำนึ
กทางการเมืองของประชาชน และท้าทายสามัญสำนึกทางจริ
ยธรรมของนายอภิสิทธิ์เอง อย่าลืมว่านายอภิสิทธิ์ เคยกล่าวหลายครั้งทำนองว่า “ความรับผิดชอบทางจริยธรรมต้
องอยู่เหนือความรับผิ
ดชอบทางกฎหมาย” นั่นหมายความว่าในความรับผิ
ดชอบของนักการเมืองนั้น จะมีการกระทำผิดต่อกฎหมายหรื
อไม่ ไม่สำคัญหากมีการกระทำผิดจริ
ยธรรมแล้วต้องมีสำนึกรับผิดชอบ
ที่ผ่านมาเราจะพบเห็นสมาชิ
กสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรี
บางคนถูกจำคุก บางคนมีข้อกล่าวหาเจตนาฆ่า สมาชิวุฒิสภาบางคนล่วงละเมิ
ดทางเพศ นักการเมืองบางคนถูกจำคุก บางคนทุจริต บางคนใช้อำนาจโดยมิ
ชอบแทรกแซงระบบราชการ ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา ล้วนทำให้ประชาชนเริ่มตั้
งคำถามว่าสังคมควรจะจริงจังกั
บจริยธรรมในการควบคุมพฤติกรรมบุ
คคลเหล่านี้มากน้อยเพียงใด
นิคโคโล แมคเคียวเวลลี ( Niccolo Machiavelli ) กล่าวไว้ในหนังสือ The Prince (เจ้าผู้ครองนคร) บางตอนว่า “.....เพราะฉะนั้น เจ้าผู้ครองนครจึงไม่จำเป็นต้
องมีคุณสมบัติ เลอเลิศอย่างที่ข้าพเจ้าได้
พรรณนาไว้ข้างต้น แต่เขาควรจะแสดงออกมาว่าเขามีคุ
ณสมบัติเหล่านั้น ข้าพเจ้าอยากจะพูดให้ถึงขนาดว่า ถ้าเจ้าผู้ครองนครมีคุณสมบัติ
เหล้านี้และประพฤติดังกล่าวจริ
งๆ กลับจะนำตนไปสู่หายนะ แต่ถ้าหากเพียงแสดงว่าตนมีคุ
ณสมบัติเหล่านี้จะกลับเป็
นประโยชน์ต่อตน” นั่นหมายความว่า Machiavelli ได้เสนอความเห็นว่าผู้ปกครองไม่
จำเป็นต้องมีจริยธรรม แต่ต้องแสดงว่าตนเป็นผู้มีจริ
ยธรรมก็เพียงพอแล้ว เพราะประชาชนจะมองเห็นผู้
ปกครองได้แต่ภายนอก มีคนจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่รู้
พฤติกรรมว่าผู้ปกครองเป็นเช่นไร การประพฤติตนภายในกรอบจริ
ยธรรมกลับเป็นผลร้ายมากกว่า
Machiavelli ยังกล่าวอีกว่า ... “ผู้ปกครองไม่ควรหลีกเลี่
ยงจากการกระทำความดีหากเป็
นไปได้ แต่เขาจะต้องรู้วิธีทำความชั่
วร้ายหากจำเป็น”
เมื่อ “การเมือง” ได้รับมอบหมายจากประชาชน ให้มี
อำนาจในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธ
ารณะ มีอำนาจสั่งการ (Authorities) ตามกฎหมายในการบริหารราชการแผ่
นดิน แต่กฎหมายเป็นเพียงเจตจำนงของรั
ฐาธิปัตย์ ซึ่งโดยตัวของมันเองมิอาจสร้
างสันติสุขขึ้นมาได้ เพราะเมื่อใดที่ถูกบังคับใช้อย่
างไม่เป็นธรรม ความเดือดร้อนทุกข์เข็ญย่อมเกิ
ดขึ้น ดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ และที่สำคัญอำนาจรัฐมิได้อยู่
เหนือข้อกำหนดในทางศีลธรรมหรื
อจริยธรรมใดๆทั้งสิ้น อำนาจตามกฎหมายเพียงอย่างเดียว จึงมิใช่เครื่องยืนยันว่าจะสร้
างความอยู่เย็นเป็นสุขให้เกิดขึ
้นกับประชาชน ตราบใดที่อำนาจรัฐอันชอบธรรม กับธรรมที่เป็นแหล่งที่มาแห่
งอำนาจมิใช่สิ่งเดียวกัน ฉะนั้น นอกเหนือจากอำนาจตามกฎหมายแล้ว คนเหล่านี้จะต้องมีสิ่งที่เรี
ยกว่า “จริยธรรม (Ethics) ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมื
องด้วย
แต่หากยึดถือแนวคิดของ Niccolo Machiavelli ในการปกครองแล้ว พอสรุปได้ว่า นักการเมืองทั้งหลาย โดยเฉพาะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติ
ตนภายในกรอบของจริยธรรมแต่
ประการใด ทั้งยังสามารถทำอะไรหรือมีพฤติ
กรรมอย่างไรก็ได้ เพื่อความอยู่รอดของตนและพวกพ้
อง เพียงแต่แสดงออกว่าเป็นผู้อยู่
ในศีลในธรรมเท่านั้นก็เพียงพอ แล้วเราจะยอมรับพฤตกรรมเช่นนี้
กันหรือ เพราะมันเป็นการเมืองที่เน้
นผลลัพธ์ โดยไม่คำนึงถึงมรรควิธีแต่
ประการใด
ธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ: จริยธรรมของนักการเมือง กรณี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประชาไท 31 กรกฎาคม 2555 >>>การถามหาจริยธรรมของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จริยธรรมที่คอยกำกับพฤติ
กรรมของตน และประเด็นนี้ก็ท้าทายสำนึ
กทางการเมืองของประชาชนด้วย
ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นักการเมืองรุ่นใหม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง และอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นนักการเมืองที่ถูกสังคมกำลั
งกังขา ถามหาถึงจริยธรรม (Ethics) มากที่สุด เพราะในห้วงหลายปีที่ผ่านมาใช้
วาทศิลป์เป็นประโยชน์กับฝ่
ายตนได้เป็นอย่างดี และเป็นอาวุธทิ่มแทงฝ่ายตรงข้
ามได้อย่างโดดเด่น ประกอบกับการมีสถานะเป็นนักเรี
ยนอังกฤษ หัวก้าวหน้า ทำให้นายอภิสิทธิ์ กลายเป็นนักการเมืองดาวรุ่ง และเป็นความหวังของสังคมตามมา การเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่
สุดเสมือนเป็นโรงเรียนการเมื
องให้กับนักการเมืองมาหลายๆ รุ่น จึงมิใช่เรื่องยากเย็นมากนัก
สังคมมองกันว่านายอภิสิทธิ์ เป็นคนไม่กลัวหน้าอินทร์หน้
าพรหม มักจะใช้วาทศิลป์ตอบโต้กับปฏิปั
กษ์อย่างสม่ำเสมอหนักบ้างเบาบ้
างตามจังหวะและเวลา บางครั้งถึงขนาดอบรมสั่งสอนนั
กการเมืองผู้อาวุโสกลางสภาก็ยั
งเคยทำมาแล้วโดยไม่เลือกหน้า จึงทำให้นายอภิสิทธิ์ มีศัตรูมากพอๆ กับมิตร นักการเมืองหลายคนอาจจะชื่นชอบ และเป็นพวกเดียวกันได้ แต่บางคนบางฝ่ายไม่นิยมชมชอบ ชนิดผีไม่เผาเงาไม่เหยียบ ถึงกระนั้นนายอภิสิทธิ์ก็โชคดี เมื่อพรรคพลังประชาชนที่
ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนท่วมท้
นถูกยุบด้วยคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ นักการเมืองที่เคยสังกัดพรรคพลั
งประชาชนอยู่ฝ่ายตรงข้ามกั
บนายอภิสิทธิ์ แปรพักตร์หันไปสนับสนุน ดวงชะตาพลิกผันจนได้ดำรงตำแหน่
งนายกรัฐมนตรีเกือบสามปี ท่ามกลางความคลางแคลงของการได้
มาในตำแหน่งดังกล่าว เพราะมีการเกื้อหนุนจากบุคคลที่
มองไม่เห็น (Invisible man) จนเรียกกันติดปากว่
านายกเทพประทาน การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึ
งเป็นที่มาของคดีความการสั่งฆ่
าประชาชน 91 ศพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการไต่
สวนมูลเหตุแห่
งการตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิ
จารณาความอาญา นี่เป็นกรณีหนึ่งที่สังคมกำลั
งถามหาความรับผิดชอบและจริ
ยธรรมจากนายอภิสิทธิ์
การดำเนินบทบาทของนายอภิสิทธิ์
ไม่ว่าเรื่องส่วนตัวหรื
อทางการเมือง เริ่มถูกสังคมเพ่งมองและตั้
งคำถามในความถูกต้
องชอบธรรมและความเหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อนายกมล บันไดเพชรได้ขุดคุ้ย พฤติกรรมส่วนตัวที่ไปผูกโยงกั
บสาธารณะและประโยชน์ของส่วนรวม มีประเด็นให้โจษขานถึงการใช้
อำนาจอิทธิพลของชนชั้น เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ไม่มากก็น้
อย โดยเฉพาะการที่ชายไทยต้องเข้ารั
บการเกณฑ์ทหารตามกฎหมายกันทุกๆ คน แต่นายอภิสิทธิ์ ก็ได้รับอภิสิทธิ์ไม่ต้องปฏิบั
ติตามกฎหมายว้าด้วยการเกณฑ์
ทหารเช่นชายไทยคนอื่นๆ จึงมีทั้งคำถามและข้อครหาคละกั
นไปว่า นายอภิสิทธิ์ได้ใช้สถานะความเป็
นชนชั้นสูงหลบหลีกและหลีกเลี่
ยงการเกณฑ์ทหารในห้วงอดีตที่ผ่
านมา นี่ก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่สั
งคมกำลังถามหาความรับผิ
ดชอบและจริยธรรมจากนายอภิสิทธิ์ เช่นกัน
พลอากาศเอก สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่
าการกระทรวงกลาโหมและคณะออกมาแถ
ลงข่าวยืนยันข้อเท็จจริงว่า “อภิสิทธิ์ ไม่ได้เข้ารับเกณฑ์
ทหารตามกฎหมายเยี่ยงชายไทยจริง” และมีการใช้เอกสารไม่ถูกต้
องในการสมัครเข้ารับราชการเป็
นอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อย โดยมีการสั่งลงโทษข้าราชการที่
เกี่ยวข้องไปแล้ว...สอคล้องกั
บคำยืนยันของผู้บัญชาการทหารบก ที่บอกว่า เรื่องมันจบไปตั้งแต่ปี 2542 แล้ว แต่ที่จบนั้น ก็คือการลงโทษข้าราชการที่ได้
กระทำความผิ
ดในการปลอมแปลงเอกสารราชการ แต่ผู้ที่ใช้
เอกสารราชการปลอมเราจะดำเนิ
นการกันอย่างไรยังไม่มี
คำตอบจากกระทรวงกลาโหม และกองทัพบก
แม้ว่านายอภิสิทธิ์ และนักการเมืองในพรรคประชาธิปั
ตย์ จะมีความเชี่ยวชาญและเจนจั
ดในแง่มุมกฎหมาย จึงทำให้มองเห็นลู่ทางการต่อสู้
คดีได้อย่างชัดเจน ดังเช่นหลายคดีที่ผ่านมามั
กจะเป็นคุณกับฝ่ายตนเสมอ อาจพลิกสถานการณ์จากความเสี
ยเปรียบเป็นได้เปรียบโดยไม่
ยากนัก แต่ในครั้งนี้สังคมเริ่มมี
แนวโน้มที่จะเชื่อว่า นายอภิสิทธิ์และคณะ อาจใช้อิทธิพลและสถานะความเป็
นชนชั้นสูงเข้
าไปแทรกแซงระบบการเมื
องและกระบวนการยุติธรรมในสั
งคมไทย ทำให้เรื่องการใช้
เอกสารราชการปลอมเงียบหายไปอี
กครั้งหนึ่ง
จึงมีประเด็นคำถามของสังคมที่ว่
า จำเป็นหรือไม่ที่นักการเมืองอย่
าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี จะต้องคำนึงถึงจริยธรรมที่
คอยกำกับพฤติกรรมของตน ประเด็นนี้นับว่าท้าทายสำนึ
กทางการเมืองของประชาชน และท้าทายสามัญสำนึกทางจริ
ยธรรมของนายอภิสิทธิ์เอง อย่าลืมว่านายอภิสิทธิ์ เคยกล่าวหลายครั้งทำนองว่า “ความรับผิดชอบทางจริยธรรมต้
องอยู่เหนือความรับผิ
ดชอบทางกฎหมาย” นั่นหมายความว่าในความรับผิ
ดชอบของนักการเมืองนั้น จะมีการกระทำผิดต่อกฎหมายหรื
อไม่ ไม่สำคัญหากมีการกระทำผิดจริ
ยธรรมแล้วต้องมีสำนึกรับผิดชอบ
ที่ผ่านมาเราจะพบเห็นสมาชิ
กสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรี
บางคนถูกจำคุก บางคนมีข้อกล่าวหาเจตนาฆ่า สมาชิวุฒิสภาบางคนล่วงละเมิ
ดทางเพศ นักการเมืองบางคนถูกจำคุก บางคนทุจริต บางคนใช้อำนาจโดยมิ
ชอบแทรกแซงระบบราชการ ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา ล้วนทำให้ประชาชนเริ่มตั้
งคำถามว่าสังคมควรจะจริงจังกั
บจริยธรรมในการควบคุมพฤติกรรมบุ
คคลเหล่านี้มากน้อยเพียงใด
นิคโคโล แมคเคียวเวลลี ( Niccolo Machiavelli ) กล่าวไว้ในหนังสือ The Prince (เจ้าผู้ครองนคร) บางตอนว่า “.....เพราะฉะนั้น เจ้าผู้ครองนครจึงไม่จำเป็นต้
องมีคุณสมบัติ เลอเลิศอย่างที่ข้าพเจ้าได้
พรรณนาไว้ข้างต้น แต่เขาควรจะแสดงออกมาว่าเขามีคุ
ณสมบัติเหล่านั้น ข้าพเจ้าอยากจะพูดให้ถึงขนาดว่า ถ้าเจ้าผู้ครองนครมีคุณสมบัติ
เหล้านี้และประพฤติดังกล่าวจริ
งๆ กลับจะนำตนไปสู่หายนะ แต่ถ้าหากเพียงแสดงว่าตนมีคุ
ณสมบัติเหล่านี้จะกลับเป็
นประโยชน์ต่อตน” นั่นหมายความว่า Machiavelli ได้เสนอความเห็นว่าผู้ปกครองไม่
จำเป็นต้องมีจริยธรรม แต่ต้องแสดงว่าตนเป็นผู้มีจริ
ยธรรมก็เพียงพอแล้ว เพราะประชาชนจะมองเห็นผู้
ปกครองได้แต่ภายนอก มีคนจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่รู้
พฤติกรรมว่าผู้ปกครองเป็นเช่นไร การประพฤติตนภายในกรอบจริ
ยธรรมกลับเป็นผลร้ายมากกว่า
Machiavelli ยังกล่าวอีกว่า ... “ผู้ปกครองไม่ควรหลีกเลี่
ยงจากการกระทำความดีหากเป็
นไปได้ แต่เขาจะต้องรู้วิธีทำความชั่
วร้ายหากจำเป็น”
เมื่อ “การเมือง” ได้รับมอบหมายจากประชาชน ให้มี
อำนาจในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธ
ารณะ มีอำนาจสั่งการ (Authorities) ตามกฎหมายในการบริหารราชการแผ่
นดิน แต่กฎหมายเป็นเพียงเจตจำนงของรั
ฐาธิปัตย์ ซึ่งโดยตัวของมันเองมิอาจสร้
างสันติสุขขึ้นมาได้ เพราะเมื่อใดที่ถูกบังคับใช้อย่
างไม่เป็นธรรม ความเดือดร้อนทุกข์เข็ญย่อมเกิ
ดขึ้น ดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ และที่สำคัญอำนาจรัฐมิได้อยู่
เหนือข้อกำหนดในทางศีลธรรมหรื
อจริยธรรมใดๆทั้งสิ้น อำนาจตามกฎหมายเพียงอย่างเดียว จึงมิใช่เครื่องยืนยันว่าจะสร้
างความอยู่เย็นเป็นสุขให้เกิดขึ
้นกับประชาชน ตราบใดที่อำนาจรัฐอันชอบธรรม กับธรรมที่เป็นแหล่งที่มาแห่
งอำนาจมิใช่สิ่งเดียวกัน ฉะนั้น นอกเหนือจากอำนาจตามกฎหมายแล้ว คนเหล่านี้จะต้องมีสิ่งที่เรี
ยกว่า “จริยธรรม (Ethics) ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมื
องด้วย
แต่หากยึดถือแนวคิดของ Niccolo Machiavelli ในการปกครองแล้ว พอสรุปได้ว่า นักการเมืองทั้งหลาย โดยเฉพาะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติ
ตนภายในกรอบของจริยธรรมแต่
ประการใด ทั้งยังสามารถทำอะไรหรือมีพฤติ
กรรมอย่างไรก็ได้ เพื่อความอยู่รอดของตนและพวกพ้
อง เพียงแต่แสดงออกว่าเป็นผู้อยู่
ในศีลในธรรมเท่านั้นก็เพียงพอ แล้วเราจะยอมรับพฤตกรรมเช่นนี้
กันหรือ เพราะมันเป็นการเมืองที่เน้
นผลลัพธ์ โดยไม่คำนึงถึงมรรควิธีแต่
ประการใด
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""End""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: ลุ้นศาลไทย คว้าชัย โอลิมปิก !
ประชาไท 31 กรกฎาคม 2555 >>>ผมกลับจากการไปพักผ่อนที่เชี
ยงใหม่เมื่อวาน ไม่พลาดโอกาสทานกาแฟกับอาจารย์
นิธิ เอียวศรีวงศ์ วันนี้กลับมาประชุมทำงานที่กรุ
งเทพ แล้วพรุ่งนี้จะไปหมู่เกาะอ่
าวไทย เพื่อบรรยายวิชาการเรื่องพื้นที
่ทับซ้อนทางทะเล
การได้สูดอากาศบนดอยสีเขียว แล้วเตรียมไปรับลมทะเลสีคราม ชมความงานของบ้านเรา ได้คิดได้คุยในสิ่งที่เราสนใจ ฟังดูน่าจะมีความสุข แต่วันนี้ ผมกลับ 'มึนหัว' ตึบ ตึบ ตึบ ทั้งที่ไม่ได้เมารถขึ้นเขา หรือเมารือลงทะเล
แต่ผม 'มึน' กับ 'ความพิสดาร' ของ 'คำวินิจฉัยส่วนตน' ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องการทำประชามตินั้น ตุลาการ 8 ท่าน มีความเห็นแตกออกเป็น 4 ฝ่าย ซึ่งเมื่ออ่านรวมกันแล้ว ก็พบว่าขัดแย้งกับ ‘คำวินิจฉัยกลาง’ ที่เผยแพร่ไปก่อนหน้านี้
ยิ่งมานั่งอ่านทีละบรรทัด ยิ่งมึน ยกตัวอย่าง ท่านประธานศาล เขียนย่อหน้าหนึ่ง บอกว่า การที่สภาพิจารณาการแก้ไขรั
ฐธรรมนูญเป็น ‘การใช้สิทธิเสรีภาพ’ แต่พอมาอีกย่อหน้าในหน้าเดียวกั
น กลับบอกว่าเป็น ‘การใช้อำนาจ’ ของรัฐสภา
มึนแล้วไม่พอ ผมรู้สึก 'คลื่นไส้' เมื่อเห็น ‘สำนักงานศาล’ มาวิ่งไล่แจ้งความเอาผิดประชาชน แถมเขียนขู่อีกว่าจะไปแจ้
งความดำเนินคดีเพิ่มอีก
กรณี เจ๋ง แจกเบอร์กรณี คุณเจ๋ง ดอกจิก ที่ไปแจกชื่อแจกเบอร์โทรศัพท์ของครอบครัวตุลาการ ผมว่าคุณเจ๋ง ทำแย่มากนะครับหาก ‘ครอบครัว’ ตุลาการถูกคุกคามให้เดือดร้
อนเสียหายจากการกระทำดังกล่าว ผมสนับสนุนให้ครอบครัวตุ
ลาการใช้สิทธิดำเนินคดีและเรี
ยกค่าเสียหายจากคุณเจ๋งได้เต็
มที่
แต่หากมองจากมุมของ ‘ศาล’ ซึ่งมีทั้งอำนาจ ทั้งสื่อ และกองรักษาความปลอดภัยที่
ประชาชน จัดให้แล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมคือ คุณเจ๋งได้ขอโทษศาลไปแล้ว และสังคมรวมทั้งสื่อ ก็ร่วมกันลงโทษคุณเจ๋งไปแล้ว แม้แต่แกนนำเสื้อแดงก็ลงโทษคุ
ณเจ๋งด้วย ไม่ว่าจะโดยคำต่อว่า คำด่า หรือคำขู่ ผู้เขียนเองเดาว่า เหตุที่คุณเจ๋งได้ขอโทษ ส่วนหนึ่ง ก็เพราะถูก ‘ผู้ใหญ่ต้นสังกัด’ ตำหนิต่อว่าเช่นกัน
แต่ก็ไม่เห็นคุณเจ๋งเขาจะไปไล่
แจ้งความเอาผิดใครที่มาต่อว่าด่
าทอ ทั้งที่ คุณเจ๋งเป็นประชาชนคนธรรมดาไม่
มีอำนาจอะไร
ยิ่งไปกว่านั้น ตัวตุลาการท่านเอง ก็ยังมิได้ติดใจไปแจ้งความ แล้วเหตุใดสำนักงานศาลจะต้
องไปวิ่งไล่แจ้งความแทน ?
ประชาชนชุมนุมขุ่มขู่ศาล ?ส่วนประชาชนที่ไปประท้วง ปราศรัย ชุมนุมข่มขู่ศาล ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้สนับสนุ
นเห็นชอบอะไร
แต่ผมเชื่อว่า สิทธิเสรีภาพในการชุมนุ
มแสดงความเห็น เพื่อต่อต้านหรือประท้วงการใช้
อำนาจของรัฐ แม้มันจะดุเเดือด เผ็ดร้อน หยาบคาย หรือไม่เรียบร้อยเพียงใด แต่ก็เป็นความจำเป็นต่อประชาธิ
ปไตย เพราะประชาชนคนธรรมดา อาจไม่มีอำนาจเพียงพอที่
จะไปขอพื้นที่จากสื่อ หรือเรียกให้นักการเมืองมาเป็
นตัวแทนของเขาในทุกเรื่อง
การแสดงออกเหล่านี้เอง คือ 'ท่อหายใจ' ที่พื้นฐานที่สุด ของประชาชน ที่จะขอความสนใจจากผู้มีอำนาจ รวมทั้งสื่อ และเพื่อนประชาชนด้วยกัน เพื่อให้ตนเองได้มีส่วนร่
วมทางการเมือง
ยิ่งไปกว่านั้น หลักฐานปรากฏชัดว่า เรามีตุลาการที่เข้มแข็งอาจหาญ ตัดสินคดีไปตามที่ท่านเห็น แม้สังคม รัฐสภา หรือนักวิชาการ หรือแม้แต่สื่อต่างประเทศ จะท้วงท่านอย่างไร ท่านก็ไม่เอนเอียงตามแรงกดดัน แล้วเหตุใดสำนักงานศาลจะต้
องไปวิ่งไล่แจ้งความแทน ?
ประชาชนแจ้งความเท็จ ?สิ่งที่ผมมองว่าเลวร้ายที่สุด คือ การที่สำนักงานศาลไปแจ้งความกลั
บ เพื่อเอาผิดประชาชนที่ไปแจ้
งความเอาผิดศาลว่าศาลใช้
อำนาจโดยมิชอบ
ก็ถ้าประชาชนแจ้งความท่าน สุดท้ายคนที่จะเอาผิดท่านได้ ก็คือ ลูกหลานตุลาการของท่านเอง มิใช่หรือ ?
สำนักงานศาล รวมถึงตำรวจที่รับแจ้งความ โปรดไปศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกาให้
ดี หากประชาชนแจ้งความตามที่เชื่
อโดยสุจริตก็ดี หรือแจ้งตามสภาพที่พบเห็นโดยมี
เหตุอันควรเชื่อว่าเป็นความจริ
งก็ดี ศาลฎีกาได้ตีความเป็นบรรทั
ดฐานเสมอมาว่าไม่เป็นความผิด เช่น ฎีกาที่ 1050/2514, 3025/2526, 4669/2530 หรือ 1173/2539
ท่านกลัวว่าท่านจะทำผิดจริง ?ก็ท่านเป็นถึงศาลรัฐธรรมนูญ ท่านตีความกฎหมายผูกพันทุกองค์
กร รวมถึงตำรวจ ป.ป.ช. หรือแม้แต่ ศาลฎีกา ถ้าท่านสุจริตใจ ทำตามอำนาจกฎหมายที่ท่านมี ท่านจะไปกลัวอะไรครับ ?
ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชนคนธรรมดา แม้เป็นเจ้าของอำนาจ แต่ก็มอบให้คนอื่นไปจนตนเองเหลื
อน้อยนิด ได้แต่มองดูนักการเมืองที่นอบน้
อมต่อคำวินิจฉัยของศาล ขนาดสภายังชะลอการแก้ไขรั
ฐธรรมนูญตามที่ศาลสั่ง แล้วหากประชาชนไม่พึ่งความเห็
นและเสียงของตนเอง แล้วจะให้ไปพึ่งใคร ?
ท่านกลัวสังคมเข้าใจท่านผิด ?ไม่ต้องกลัวครับ เพราะท่านมี 'สื่อ' ที่คอยบริการ 24 ชั่วโมง รายงานทุกความเคลื่อนไหวของท่าน ตอนท่านอ่านคำวินิจฉัย ก็ถ่ายทอดสดรายงานทั่วประเทศ ทุกช่องอยากขอสัมภาษณ์ตุลาการ ท่านไม่มาก็มีนักวิชาการคอยมาฟั
งและอธิบายแทนท่าน แม้แต่ท่านประธานศาลพูดอะไรสั้
นๆ 1 ประโยค ก็กลายเป็นคำพาดหัวหนังสือพิมพ์
ได้ทุกฉบับ สิ่งที่ท่านเขียนไว้ในราชกิ
จจานุเบกษา ก็ถูกส่งไปพิมพ์ขึ้นมาโดยเงิ
นภาษีประชาชน
ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชน ที่ไม่มีอำนาจจะไปตีฆ้องร้องป่
าวให้สื่อและสังคมหันมาสนใจมุ
มมองที่เขามองความไม่ยุติ
ธรรมในสังคม
ท่านกลัวการถูกข่มขู่ ?ไม่ต้องกลัวครับ ประชาชนได้พร้อมใจจ่ายภาษีเพื่
อให้ท่านมีความปลอดภัย มีเฮลิคอปเตอร์ และกองกำลังที่คุ้มครองท่าน และประชาชนอย่างผมและอีกหลายคน รวมถึงสื่อที่คอยติดตามเฝ้าระวั
งแทนท่าน ก็พร้อมจะออกมาต่อวต้านใครผู้
ใดก็ตามที่จะไปทำร้ายท่าน โดยที่ท่านเองไม่ต้
องลำบากไปทำอะไร
ต่างกันราวฟ้ากับดิน เมื่อเทียบกับประชาชนคนธรรมดา ที่พอวิจารณ์ศาลหรือผู้มี
อำนาจมาก ก็ถูกดักรุมทำร้ายได้ตลอดเวลา แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดั
งมีลูกศิษย์มากมาย ยังถูกดักทำร้ายได้ง่ายๆหน้าตึ
กที่ตัวเองทำงาน
ท่านกลัวการเป็นคู่ความ ?หากมีอะไรที่จะพอเป็นเหตุเป็
นผลให้ตุลาการกลัว ก็คือกลัวการเป็นคู่ความฟ้องคดี
เอง เพราะกลายเป็นว่า หากวันใดมีคดีมาสู่ศาล ก็อาจถูกหาว่าตนมีส่วนได้เสีย จนทำให้ต้องถอนตัว และพลาดโอกาสใช้อำนาจเอาคื
นประชาชนอย่างน่าเสียดาย
ตุลาการไทย ทำลายสถิติโอลิมปิก ?จากที่กล่าวมาทั้งหมด ผมจึงเห็นว่า มันไร้สาระมาก หากเราจะมานั่งเถียงกันว่า สำนักงานศาลก็มีสิทธิฟ้องคดีเพื
่อปกป้องตุลาการมิใช่หรือ
เรา ลองดู ‘ฝ่ายบริหาร’ หรือ ‘ฝ่ายนิติบัญญัติ’ ที่ถูกประชาชนข่มขู่ เหยียดหยาม จ้องเอาผิด กันอยู่ทุกวัน ผมก็ไม่เห็นสำนักนายกฯ หรือ สำนักงานเลขาธิการสภาฯ จะมาไล่ฟ้องประชาชน เพราะเขายอมรับว่า ประชาชนต้องตรวจสอบบุ
คคลสาธารณะผู้ใช้อำนาจได้
หากกรณีใดที่ประชาชนทำแรงเกินไป หรือส่วนตัวเกินไป ก็ต้องเป็นตัว นายกฯ หรือ ประธานสภาฯ เอง ที่จะไปฟ้องคดีเอาผิด ไม่ใช่ให้สำนักงานราชการมาใช้เงินภาษีของประชาชนมาเอาผิดประชาชนสิ่งที่ร้ายที่สุดจะเกิดเมื่อ ‘ประชาชนด้วยกันเอง’ ไปหลงผิดยอมรับว่า การที่ผู้ใช้อำนาจมาฟ้
องประชาชนนั้น เป็นเรื่องปกติที่ทำได้ง่ายๆ เพราะหากหลงคิดเช่นนั้น ก็เท่ากับประชาชนยอมรับให้ผู้
ใช้อำนาจสามารถคุกคามข่มขู่ให้
ประชาชนกลัว จนไม่อยากตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์
ผู้ใช้อำนาจในที่สุด ซึ่งในประเทศที่เจริญแล้ว เขาไม่ทำกัน หมายถึง ประชาชนเองที่เจริญแล้ว ก็ต้องไม่ไปหลงผิดคิดกลั
วตามไปด้วย
ดังนั้น ในปีนี้ หากจะมีการประชุมตุ
ลาการนานาชาติที่มีตุ
ลาการจากแต่ละประเทศมาประชุมร่
วมกัน (ซึ่งประชาชนจ่ายภาษีให้ตุ
ลาการไทยได้บินไปประชุมอยู่ทุ
กปี) ท่านเลาธิการสำนักงานศาล น่าจะลองขอเบิกงบไปประชุมด้วย เพื่อไปถามตุลาการจากทั่วโลกว่า สำนักงานศาลบ้านเขา หรือแม้แต่ตัวตุลาการเขาเอง มาวิ่งไล่ฟ้
องประชาชนของเขาในเรื่องไร้
สาระแบบนี้ กันปีละกี่คดี ?
เพราะไม่แน่ว่า อาจมีการทำลายสถิติโลก ในประเภทกีฬา ‘ชกประชาชน’ ! แม้ว่าคุณภาพผู้ชก อาจเป็นเพียง 'มือสมัครเล่น' ก็ตาม
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""End""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
'ณัฐวุฒิ' เปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมฯ
ฐานเศรษฐกิจ 31 กรกฎาคม 2555 >>>นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่
ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธี
เปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่
อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ ณ ที่ว่าการอำเภอทุ่งสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้
กำหนดจัดงาน “โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
ในพระราชานุเคราะห์ฯ” ณ จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ระยอง และกระบี่ ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2555 เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็
จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ และดำเนินงานโครงการมาครบ 1 ทศวรรษ และเพื่อแสดงความสำนึ
กในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่
วงใยเกษตรกรไทย รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่นที่ห่
างไกลจากการขอรับบริการจากหน่
วยงานภาครัฐ โดยในงานจะมีการจัดนิทรรศการเทิ
ดพระเกียรติฯ นิทรรศการโครงการสายใยรักแห่
งครอบครัวฯ และบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญด้
านการเกษตรในแต่ละสาขามาให้
คำปรึกษา ให้ความรู้ และแนะนำแนวทางในการแก้ปัญหาด้
านการเกษตรอย่างครบวงจรแบบเบ็
ดเสร็จในจุดเดียว และมีการจัดแสดงเทคโนโลยีการผลิ
ตทางการเกษตร การประกวดและการแข่งขัน ตลอดจนมีการออกร้านจำหน่ายสินค้
าวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดต่าง ๆ
สำหรับจังหวัดขอนแก่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คัดเลื
อกให้เป็นตัวแทนของภาคตะวั
นออกเฉียงเหนือ โดยภายในงานนอกจากเกษตรกรจะได้
ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็
จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แล้ว ยังจะได้ชมนิทรรศการเทิดพระเกี
ยรติ และได้รับความรู้จากการให้บริ
การคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ โดยจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมา ร่วมจัดคลินิกต่าง ๆ ได้แก่ คลินิกดิน คลินิกพืชทั่วไป คลินิกปศุสัตว์ คลินิกประมง คลินิกชลประทาน คลินิกสหกรณ์ คลินิกบัญชี คลินิกกฎหมาย และคลินิกอื่น ๆ อาทิ พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง พืชสวน ผึ้ง และ การบริหารศัตรูพืช นอกจากนี้ ยังได้ชมนิ
ทรรศการโครงการสายใยรักแห่
งครอบครัวฯ นิทรรศการเกษตรสมบูรณ์เพิ่มพู
นสุขภาพแม่ลูก ซึ่งจะจัดสาธิตการปลูกผักสวนครั
ว พืชสมุนไพร การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงปลา การปลูกผักริมรั้ว การปลูกผักในภาชนะ อีกทั้งยังมีกิจกรรมส่งเสริ
มอาชีพ โดยจะจัดสาธิตและฝึกปฏิบัติให้
กับประชาชนที่เข้ามารับบริการ เพื่อให้สามารถนำไปเป็นอาชี
พเสริมและเพิ่มรายได้ในครัวเรื
อนได้ เช่น การขยายพันธุ์ไม้ การถนอมอาหาร การแปรรูปผลิตผลการเกษตร รวมทั้งมีการสาธิ
ตการประกอบอาหาร การจักสาน งานหัตถกรรม การประกวดและแข่งขันการ ประกวดผลผลิต เช่น ฟักทองผลโต กล้วยน้ำว้า มะละกอดิบ มันสำปะหลังหัวใหญ่ มะพร้าวน้ำหอม มะม่วงช่อดก และบวบหอมใหญ่ยาว และการประกวดแปรรูปผลิ
ตผลทางการเกษตร ได้แก่ การทำกระติ้บข้าว การทำน้ำพริกพื้นบ้าน การทำข้าวต้ม และการจำหน่ายสินค้าคุณภาพจากวิ
สาหกิจชุมชน
“โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
ในพระราชานุเคราะห์ฯ เป็นการดำเนินการในลักษณะบู
รณาการการทำงานระหว่างนักวิ
ชาการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะเข้าไปให้บริการคลินิ
กเกษตรกับเกษตรกรถึงระดับรากหญ้
าอย่างครบถ้วนในคราวเดียวกัน และสอดคล้องกับปัญหาของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำความรู้
ไปใช้ในการพัฒนาการผลิ
ตทางการเกษตรของตนเอง และส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิ
ตและรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งจากการเปิดให้บริ
การเกษตรกรที่ประสบปัญหาด้
านการเกษตรมาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันมีเกษตรกรเข้ารั
บบริการจำนวนทั้งสิ้น 2,396,673 ราย” นายณัฐวุฒิ กล่าว
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""End""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
'ณัฐวุฒิ' เปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมฯ
ฐานเศรษฐกิจ 31 กรกฎาคม 2555 >>>นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่
ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธี
เปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่
อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ ณ ที่ว่าการอำเภอทุ่งสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้
กำหนดจัดงาน “โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
ในพระราชานุเคราะห์ฯ” ณ จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ระยอง และกระบี่ ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2555 เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็
จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ และดำเนินงานโครงการมาครบ 1 ทศวรรษ และเพื่อแสดงความสำนึ
กในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่
วงใยเกษตรกรไทย รวมทั้งประชาชนในท้องถิ่นที่ห่
างไกลจากการขอรับบริการจากหน่
วยงานภาครัฐ โดยในงานจะมีการจัดนิทรรศการเทิ
ดพระเกียรติฯ นิทรรศการโครงการสายใยรักแห่
งครอบครัวฯ และบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญด้
านการเกษตรในแต่ละสาขามาให้
คำปรึกษา ให้ความรู้ และแนะนำแนวทางในการแก้ปัญหาด้
านการเกษตรอย่างครบวงจรแบบเบ็
ดเสร็จในจุดเดียว และมีการจัดแสดงเทคโนโลยีการผลิ
ตทางการเกษตร การประกวดและการแข่งขัน ตลอดจนมีการออกร้านจำหน่ายสินค้
าวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดต่าง ๆ
สำหรับจังหวัดขอนแก่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คัดเลื
อกให้เป็นตัวแทนของภาคตะวั
นออกเฉียงเหนือ โดยภายในงานนอกจากเกษตรกรจะได้
ร่วมลงนามถวายพระพรสมเด็
จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร แล้ว ยังจะได้ชมนิทรรศการเทิดพระเกี
ยรติ และได้รับความรู้จากการให้บริ
การคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ โดยจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมา ร่วมจัดคลินิกต่าง ๆ ได้แก่ คลินิกดิน คลินิกพืชทั่วไป คลินิกปศุสัตว์ คลินิกประมง คลินิกชลประทาน คลินิกสหกรณ์ คลินิกบัญชี คลินิกกฎหมาย และคลินิกอื่น ๆ อาทิ พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง พืชสวน ผึ้ง และ การบริหารศัตรูพืช นอกจากนี้ ยังได้ชมนิ
ทรรศการโครงการสายใยรักแห่
งครอบครัวฯ นิทรรศการเกษตรสมบูรณ์เพิ่มพู
นสุขภาพแม่ลูก ซึ่งจะจัดสาธิตการปลูกผักสวนครั
ว พืชสมุนไพร การเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงปลา การปลูกผักริมรั้ว การปลูกผักในภาชนะ อีกทั้งยังมีกิจกรรมส่งเสริ
มอาชีพ โดยจะจัดสาธิตและฝึกปฏิบัติให้
กับประชาชนที่เข้ามารับบริการ เพื่อให้สามารถนำไปเป็นอาชี
พเสริมและเพิ่มรายได้ในครัวเรื
อนได้ เช่น การขยายพันธุ์ไม้ การถนอมอาหาร การแปรรูปผลิตผลการเกษตร รวมทั้งมีการสาธิ
ตการประกอบอาหาร การจักสาน งานหัตถกรรม การประกวดและแข่งขันการ ประกวดผลผลิต เช่น ฟักทองผลโต กล้วยน้ำว้า มะละกอดิบ มันสำปะหลังหัวใหญ่ มะพร้าวน้ำหอม มะม่วงช่อดก และบวบหอมใหญ่ยาว และการประกวดแปรรูปผลิ
ตผลทางการเกษตร ได้แก่ การทำกระติ้บข้าว การทำน้ำพริกพื้นบ้าน การทำข้าวต้ม และการจำหน่ายสินค้าคุณภาพจากวิ
สาหกิจชุมชน
“โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่
ในพระราชานุเคราะห์ฯ เป็นการดำเนินการในลักษณะบู
รณาการการทำงานระหว่างนักวิ
ชาการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะเข้าไปให้บริการคลินิ
กเกษตรกับเกษตรกรถึงระดับรากหญ้
าอย่างครบถ้วนในคราวเดียวกัน และสอดคล้องกับปัญหาของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำความรู้
ไปใช้ในการพัฒนาการผลิ
ตทางการเกษตรของตนเอง และส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิ
ตและรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งจากการเปิดให้บริ
การเกษตรกรที่ประสบปัญหาด้
านการเกษตรมาตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันมีเกษตรกรเข้ารั
บบริการจำนวนทั้งสิ้น 2,396,673 ราย” นายณัฐวุฒิ กล่าว
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""End""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""