ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Tuesday, February 21, 2012

สั้น ๆ ตรง ๆ กับเรื่อง แดงโบนันซ่า


สั้น ๆ ตรง ๆ กับเรื่อง แดงโบนันซ่า
เพียงดิน รักไทย

ผมเขียนบทความสั้น ๆ นี้ บนหลักยืนที่ว่า ผมถือว่านักสู้ของแดงทุกแนว มีค่า และควรรักษากันไว้เป็นแนวร่วมเสมอ แม้ว่าจะมีเป้าหมายสูงสุดต่างกัน และแนวทางต่างกันมากน้อยเพียงใด  แต่ตราบใดที่บุคคลหรือกลุ่มใด ๆ มีประโยชน์หรือมุ่งหวังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย จะจริงมากน้อยเพียงใดก็ตาม ผมก็ถือว่าเราไม่ควรทำลาย  และควรรักษา ประสานความร่วมมือ และรักษาน้ำใจกันเอาไว้

แต่ในกรณีของการเร่งเร้าพามวลชนขึ้นเขาของพรรคเพื่อไทย จะด้วยเหตุผลลึก ๆ ใดบ้างก็ตาม  ผมว่าเรื่องจำนวนคนเสื้อแดงที่จะขึ้นเขา  ไม่ใช่เรื่องสาระที่สำคัญอะไรมากมายเลย   ผมจะไม่รู้สึกตระหนกใด ๆ เลย หากพี่น้องเสื้อแดงจะเลิกสนับสนุนแนวทางแดงโบนันซ่าไปบ้าง หรือเป็นส่วนใหญ่
แล้วทำให้คนไปร่วมงานน้อยลง... เพราะผมไม่เชื่อว่า นี่คือภาพสะท้อนว่าเสื้อแดงแตกแยก แดงกำลังแย่ แล้วจะทำให้อีกฝ่ายกล้ารัฐประหารหรือไม่หยุดที่จะพยายามใช้ตุลาการวิบัติอีกครั้ง

ในมุมมองตรงกันข้าม ผมกลับเห็นว่า การที่มวลชนจำนวนมากขึ้นเลิกตอแหล เลิกเล่นกับประเด็นน้ำเน่า ด้วยการไม่ยอมเสียเวลา เสียพลังงาน เสียเงินทอง และเสียอารมณ์ไปกับเรื่องที่ไม่ทำให้เรารุกคืบหน้าอย่างที่ควรจะเป็นนั้น จะทำให้ฝ่ายอำมาตย์ต้องหนาวกว่าเดิม หวาดหวั่นกลัวเดิม ทั้งนี้เพราะมวลชนที่ไม่เอาด้วยกับละครที่เหี้ยและขุนพลเปรตกำกับเหล่านี้ พัฒนาการเป็นมวลชนปฎิวัติ ที่ ดร. ทักษิณและกลไกของคุณทักษิณกำกับไม่ได้อีกต่อไป  และมวลชนเหล่านี้แหละ  ที่จะยืนตระหง่านเป็นก้างตัวสำคัญในงานสำคัญ ศึกใหญ่ข้างหน้า  ไม่ว่าจะเป็นการลุกฮือเรียกร้อง ขับไล่ เคลื่อนพลรุกคืบทางการเมืองและทุกทาง และเป็นผู้กำหนดชะตาของประเทศในวันที่มีการลงประชามติทุกครั้ง รวมถึงครั้งสำคัญในการเปลี่ยนประวัติศาสตร์ประเทศไทย ที่จะต้องเกิดขึ้นในเร็วปีนี้   พวกมวลชนที่รู้ทันเกมการเมืองเหล่านี้แหละ จะเป็นกำลังสำคัญของฝ่ายประชาชน ยืนรออย่างฉลาด แต่ทำงานสานผลเชิงสร้างความเข้มแข็งให้ทัพประชาชน เพื่อรอวันเพื่อไทยและแกนนำ นปช. ได้สำนึก หรือได้บทเรียน แล้วกลับมาซบตักประชาชน ร่วมสู้อย่างตรงประเด็น เอาประชาชนเป็นภาคีที่เท่าเทียม (ไม่ใช่เครื่องมือ ที่พวกเขาสามารถซื้อใจหรือเอามาเป็นฐานอำนาจ ด้วยเงินภาษีของประชาชนเองหรือเงินกู้ออกมาแจกหรือทำโครงการ ที่เป็นภาระหนี้สินของประชาชนอยู่ดี) แล้วรับใช้ประชาชน อย่างแท้จริง ด้วยความเคารพในวุฒิภาวะและคุณค่าของมวลชน ตรงประเด็น ไม่ตอแหล ไม่บิดเบือน ไม่เอาแต่ได้ฝ่ายเดียวแบบไร้ยางอาย ฯลฯ

และหากจะมีการอ้างว่า คนไปโบนันซ๋าน้อย แล้วจะทำให้ทหารกล้ารัฐประหาร หรือฝ่ายเหี้ยจะสะดวกใจที่จะใช้ศาลเหี้ยทำลายแดงรัฐสภาที่ยอมเป็นฝุ่นใต้ตีน ใต้ระบอบที่สวยเริดหรู (มีสร้อย) นั้น ผมว่าเป็นเรื่องตลก  พวกเผด็จการเหี้ยโบราณ มันจะทำการรัฐประหารหรือใช้ศาลเหี้ย ก็ต่อเมื่อพวกมันจนตรอกแล้วเท่านั้น ไม่ใช่เพราะเหตุที่คิดเอาแบบตื้น ๆ ว่าแดงแตกแยก แดงอ่อน แล้วเขาจึงรุก  เพราะเขารุกแน่ หากประเด็นเดือดมันถึงเวลาที่เลี่ยงไม่ได้  หรือง่าย ๆ ก็คือ เมื่อการเผชิญหน้าเกิดขึ้น ยังไงเขาก็ไม่เลิกความตั้งใจที่จะออกอาวุธเพื่อทำลายล้างขบวนประชาชน (ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเพื่อไทยเดินด้วยก็ตาม)

และเรื่องตลกก็คือ การอ้างว่าการเอาคนไปรวมกันบนเขาแล้วจะทำให้เหี้ยไม่คิดรัฐประหารหรือใช้ศาลนั้น มันเป็นความคิดที่โง่บัดซบสิ้นดี จะว่าตอแหลหลอกใช้ก็ไม่ผิด    ก็ขนาดเรามีนักากรเมืองเป็นตัวแทนอย่างคับคั่งมีคะแนนเสียงค่อนสภา มันก็ยึดอำนาจมาแล้ว  ไปชุมนุมกันเยอะ ๆ ก็ขนาดเคยทำในเมืองหลวง ยิ่งใหญ่มหาศาล แล้วเขายอมอะไรบ้าง เขาไม่ได้ใช้กำลังทหารทำรัฐประหาร แต่เขายึดอำนาจต่อ ด้วยศาล สื่อ ระบบอำมาตย์ และตอนนี้ รัฐบาลน้องปู ก็ถูกเขายึดอำนาจสำคัญไปแล้ว  ... เขารัฐประหารตั้งแต่ปี 2549 และยังยึดอำนาจแทบทั้งสิ้นไว้แล้ว  เราจะกลัวอะไรอีก???

เขาจะเลิกคิดทำรัฐประหารจริงหรือ หากเราไปโบนันซ่ากันซักห้าล้าน   เขาจะไม่คิดใช้ตุลาการเหี้ยจริงหรือ หากเราไปบนเขาซักสิบล้าน?  คำตอบคือ มันไม่เกี่ยวกัน พวกเหี้ยมันจะใช้อำนาจชั่วของพวกมันแน่นอน เมื่อจำเป็น และเมื่อมันจะเสียท่า หรือกำลังถูกรุกอย่างหนักจนยอมไม่ได้ต่างหาก

อันที่จริง หากพวกมันทำรัฐประหาร หรือแม้แต่ใช้ตุลาการวิบัติยุบพรรคเพื่อไทยหรือล้มรัฐบาลคุณปู  ประชาชนก็ไม่เห็นต้องเดือดร้อน เพราะนั่นมันเป็นผลดีในเชิงปฎิวัติต่างหาก  หากมันทำกันตอนนี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นเผด็จการไปมากกว่าที่เป็นอย่างที่บอก แต่มันจะทำให้โลกรู้ว่าไอ้ที่ไปยืนตอแหลอยู่คู่ไอเดิลทางประชาธิปไตยของโลก อย่างนางออง ซาน ซูจีนั้น มันเป็นใคร ไอ้ที่ซ่อนตัวอยู่หลังม่านและที่ออกมายืนหัวให้ประชาชนบั่น (ภาษาเปรียบเปรย) นั้น มีใครบ้าง  และขอให้ทราบไว้ว่า หากเขาต้องใช้ตุลาการวิบัติวันใด ก็เป็นการนับถอยหลังบนระเบิดเวลาที่ทำลายเหี้ยทั้งฝุงเมื่อนั้น และหากเขาใช้การรัฐประหารวันใด นั่นแปลว่า ระเบิดเวลาที่หยุดไม่ได้ ได้ถูกจุดขึ้นด้วยมือพวกเขาเอง

หากจะกล่าวแบบเปรียบเทียบถึงปัญหาการเมืองไทย  ตอนนี้มันเลวร้าย เป็นโรคเรื้อรัง และมีแต่ลามทำให้เกิดอาการต่าง ๆ มากมาย จนเราจะทนไม่ไหวอยู่แล้ว  แต่ที่จะมัวกังวลอยู่กับแค่อาการไข้แล้วคอยแต่หายามากินคุม กินยาแก้ปวดล่วงหน้า แล้วไม่ทำอะไรมากกว่านี้ ไม่ได้อีกแล้ว   แต่ถามว่าควรต้องกินยาไหม? ก็กินกันไปครับ แต่ให้รู้นะครับ ว่ารักษาโรคมะเร็งไม่ได้ รักษาฝีดาษไม่ได้ รักษาโรคหัวใจไม่ได้ ฯลฯ  และเราเป็นหลายโรคเสียด้วย!!!

นั่นก็คือ การไปโบนันซ่า ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่มวลชนต้องคิดว่า ท่านจะต้องเสียเงิน เสียเวลา และอาจจะมีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุอีก (สาธุ ขออย่าให้มันเกิดขึ้นเลย)   แล้วต้องถามว่า ได้อะไรเพิ่มขึ้น และจะทำอย่างไรให้ได้อะไรเพิ่มขึ้น   หากไปแล้ว ทำให้แกนนำได้เรียนรู้ แกนนำฟังเสียงประชาชนที่ตามสนับสนุนพวกเขา แล้วช่วยกันทำกิจกรรมเชิงรุกให้เราได้ผลคืบหน้าไม่ใช่แค่การแสดงวาทกรรมบนเวที แต่มีแผนสานต่ออย่างเป็นรูปธรรม มันก็ไม่ได้เสียหาย

แต่หากวันที่ยี่สิบห้านี้ มีคนไปโบนันซ่าแค่ซักหมื่นคน จากที่คาดหวังไว้ห้าแสน ผมจะนั่งยิ้ม หัวเราะ และยินดีที่ ประชาชน เติบโตขึ้น และฉลาดมากกว่าปี 2553 แล้ว  และผมจะไม่กลัวเลยว่า เหี้ยจะสั่งรัฐประหารอีกครั้ง หรือสั่งศาลเหี้ยออกมาทำงานริดรอนอำนาจบริหารที่รับใช้เหี้ยและให้ประโยชน์นักการเมืองและกลุ่มอภิสิทธิชนมากกว่าประชาชนที่ผมรัก และเชื่อมั่น  

ทำเถิดครับ จะทำอะไรก็ทำ แต่ขอให้รู้ว่า ท่านทำอะไรอยู่ เพื่ออะไร และจะได้ผลแค่ไหน


Saturday, February 18, 2012

มหาวิทยาลัยประชาชน ก้าวสำคัญที่ประชาชนเราจะก้าวไปพร้อมกัน

ผมไม่ได้เขียนบทความอย่างที่ตั้งใจไว้ เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ทุ่มเทให้กับการเตรียมตัวงานเปิดตัว มหาวิทยาลัยประชาชน  ซึ่งหลายท่านอาจจะได้รับฟังการถ่ายทอดสด หรือหาคลิปมาฟังแล้ว แต่สำหรับท่านที่ยังไม่ได้ฟัง ขอเชิญชวนให้รับฟังนะครับ เพื่อจะได้เข้าใจอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และรับทราบว่า ท่าน ในฐานะประชาชน มีภารกิจร่วมกัน ที่จะต้องสร้างความเติบโตของตนเอง และเพื่อจะได้สามารถผันตัวเอง หรือยกระดับตัวเอง ให้เป็น agents of change หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลงของสังคมในที่สุด

หากยังไม่ได้รับฟัง  ขอเชิญท่านสามารถติดตามคลิปย้อนหลังงานเปิดตัว มหาวิทยาลัยประชาชน มาแล้วครับ 

http://www.mediafire.com/?b2dpjn5fron5kq2

http://www.4shared.com/mp3/kOtz_l0U/Thai-_PP-_Rev_U2012-02-18a.html

มีคำแนะนำใด ๆ กรุณาส่งถึงกันได้นะครับ มหาวิทยาลัยนี้เป็นของพวกเรา ประชาชน จะถูกดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของพวกเรา แล้วประโยชน์ต่าง ๆ จะกลับไปสู่ประชาชนและประเทศชาติโดยรวม

และสำหรับพี่น้องที่มีเฟสบุ๊ค  ท่านสามารถติดตามข่าวสารต่าง ๆ ผ่านเพจของมหาวิทยาลัย ณ http://www.facebook.com/pages/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99/188291654610621?sk=wall

สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ พี่น้องสามารถเข้าร่วมรับฟัง ร่วมจัดรายการ หรือร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ผ่านเว็บไซต์หลักของมหาวิทยาลัย หรือ MAIN VIRTUAL CAMPUS via http://tprud.org

แล้วพบกันบนเส้นทางประชาชน สู่ฝันของประชาชน ที่จะถูกสร้างด้วยตีนและมือของพวกเราครับ

ด้วยศรัทธาเสมอ
piangdin

Tuesday, February 7, 2012

เขี่ยขี้เท่อ ของคอลัมนิสต์ปัญญาอ่อนแห่ง เมเนอจอร์ "นายหิ่งห้อย" ต่อข้อวิพากษ์ข้อเสนอนิติราษฎร์ เรื่องศาลยุติธรรม


ในบรรดาสื่อที่ทรงอิทธิพลของสลิ่ม เมเนเจอร์ออนไลน์ คือสื่อที่มีคนเข้าไปอ่านจำนวนมาก และภาพสะท้อนของสลิ่ม ที่เราได้รับทราบมา  มันปรากฎอยู่ในงานเขียนของคอลัมนิสต์ค่ายนี้จำนวนมาก

ผมเห็นเขาวิจารณ์ข้อเสนอของนิติราษฎร์เรื่องการปฎิรูปศาลยุติธรรม ก็เลยสนใจเข้าไปอ่าน เพราะคิดว่า จะเจอการถกเถียงด้วยเหตุผลเสียที  อ่านแล้ว ต้องถอนใจยาวครับ คนที่เป็นนักเขียน เขามีระดับวุฒิภาวะทางความคิดและตรรกะต่ำขนาดนี้เลยหรือ?  ผมอ่านงานเขียนของเด็ก high schools  และ undergraduate หรือปริญญาตรีของที่อเมริกา ทราบเลยว่า ระดับความคิดของเด็กอเมริกันชนจำนวนมาก ดีกว่าของนายหิ่งห้อย  ของเมเนเจอร์ ที่ผมกำลังจะแคะออกมาให้พี่น้องได้อ่าน

นี่ยังถือว่าวิจารณ์แบบเบาะ ๆ เบา ๆ นะครับ หากมาเรียนระดับปริญญาโทหรือเอกกับผม คงต้องจับมานั่งสอนหลักการคิดเบื้องต้นและการคิดแบบ critical thinking ให้ใหม่หมดเลยทีเดียว

ลองอ่านบทวิพากษ์ ข้อ "วิพากษ์" ของนายหิ่งห้อย ข้างล่างนะครับ ของผมเป็นตัวอักษรสีแดงครับ

วิพากษ์ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ “กรณีปฏิรูปศาลยุติธรรม”
7 กุมภาพันธ์ 2555 18:58 น.
       โดย นายหิ่งห้อย
       
        ไม่ว่าสังคมจะเรียกกลุ่มนิติราษฎร์ว่า “กลุ่มนักวิชาการ” หรือ “กลุ่มการเมือง” ที่ออกมาเคลื่อนไหวโดยมีเป้าหมายทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่าคนกลุ่มนี้ซึ่งมี ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์สอนกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแกนนำ มีความกล้าหาญที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ค่อนข้างอ่อนไหวในสังคมไทย
  • ความกล้าหาญที่จะแสดงหลักการที่เป็นวิชาการ ในขณะสังคมยังถูกอาคมของสังคมโบราณ (คล้ายยุคมืด) ครอบคลุม ถือเป็นความกล้าที่น่ายกย่องอย่างแท้จริง
       
        เพียงแต่การแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่มิได้คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและรากเหง้าหรือความเป็นมาของสังคมไทย เพราะข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ล้วนเป็นการลอกเลียนแบบต่างประเทศ ซึ่งยังไม่เหมาะสมกับสังคมไทยแทบทั้งสิ้น
  • ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและรากเหง้าความเป็นไทย มีทั้งดีและเสีย เราทิ้งสิ่งเก่า ๆ ไว้เบื้องหลังมากมาย เพราะมันไม่เหมาะกับยุคสมัย แล้วเราก็รับเอาสิ่งใหม่มามากมาย  ทำไมเราไม่หมอบคลาน ถอดเสื้อ กินหมาก ประหารชีวิตด้วยตัดคอ ฯลฯ  ดังนั้นข้ออ้างที่คุณเอามาโจมตีว่านิติราษฎร์ทำผิด เพียงเพราะฝืนวิถีเก่า จึงอ่อนและผิดตั้งแต่ต้นแล้ว   ยิ่งหากอ้างว่า "เป็นการลอกแบบต่างประเทศ  ซึ่งยังไม่เหมาะสมกับสังคมไทยแทบทั้งสิ้น" นั้น ยิ่งน่าขันยิ่ง  ทำไมเราขับรถยนต์แทนเกวียน เมื่อรถยนต์เป็นของต่างชาติ  ทำไมเราใช้คอมพิวเตอร์ในเมื่อชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่จะรู้ภาษาอังกฤษหรือจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน ฯลฯ นี่หากไม่โง่เข้าขั้นสุด ๆ จะไม่มีทางคิดได้ตื้น ๆ แบบนี้นะครับ  ที่น่าสมเพชใจก็คือ พวกนี้มักไม่ชอบตั้งคำถามแย้งตรรกะของตัวเอง แล้วก็มักหลงคิดว่าตัวเองน่ะ เก่งนักเก่งหนา ดีกว่าคนอื่น ฉลาดกว่าคนอื่น  และโดยปกติแล้ว พวกเขาผิดเสียตั้งแต่หน้าประตูที่ชื่อหลักตรรกะ แล้วเสมอ
        โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันสูงสุด ซึ่งมีความเป็นมาผูกพันกับคนไทยเป็นเวลายาวนาน และคนไทยยังเคารพเทิดทูนไว้เหนือชีวิต จึงทำให้กลุ่มนิติราษฎร์ถูกต่อต้านจากกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยอย่างรุนแรง
  • เอาล่ะ ตอนนี้เริ่มเข้าประเด็นแล้วนะครับ สรุปว่า การเปลี่ยนกฎหมายที่เกี่ยวกับกษัตริย์ ไม่ควรทำ เพราะสถาบันนี้มีมานานแล้ว และคนไทยยังเคารพเทิดทูนไว้เหนือชีวิต  เรื่องการอยู่นานแล้วต้องรักษาไว้ เปลี่ยนไม่ได้เนี่ย  หากย้อนไปนับการใช้ควายไถนาซึ่งเป็นมานานมากในวิถีชีวิตแบบไทย ๆ เราก็ไม่ควรไปเปลี่ยนเป็นรถไถนาที่ใช้เครื่องยนต์   หรือหากย้อนไปถึงการกินข้าวด้วยนิ้วมือสมัยก่อนโน้น ทำกันมานาน ก็ไม่น่าจะเปลี่ยน เพราะทำกันมาเป็นธรรมเนียม   ซึ่งตรรกะนี้มันผิดนะครับ เวลาอันยาวนาน ไม่ได้พิสูจน์ค่าว่าสิ่งนั้นดีหรือดีที่สุดเสมอไป และเมื่อมีสิ่งดีกว่า เราก็เปลี่ยนแปลงมาตลอด

    ทีนี้มาถึงประเด็นการอ้างว่า "
    คนไทยยังเคารพ [สถาบัน] เทิดทูนไว้เหนือชีวิต" จึงได้รับการต่อต้านในสังคมไทย "อย่างรุนแรง"  เราจะเห็นได้ว่า อาการขี้ตู่ สรุปเข้าข้างตัวเอง หรืออ้างในสิ่งที่ไม่ได้รับการนับหรือพิสูจน์ เป็นเรื่องความมักง่ายของพวกขี้ตู่ที่เห็นกันบ่อย  คนไทยเคารพสถาบัน อาจจะมีบ้าง แต่ส่วนใหญหรือ? ทุกคนหรือ?  ผมไม่เชื่อครับ  และยิ่งบอกว่า มีการ  "เทิดทูนไว้เหนือชีวิต" ผมยิ่งไม่เชื่อ  เอาสิครับ ลองเอาปืนจ่อหัวคนที่พวกเขาอ้างว่าเทิดไว้เหนือชีวิต แล้วบอกว่า จะไว้ชีวิตคน ๆ นั้น หากพวกเขากล้าเอาชีวิตมาแลก  ฮิ ๆ ขี้คร้านจะหัวหด  จะมีซักกี่คนในประเทศไทย ผมอยากรู้ครับ จะมีถึงห้าคนไหม?

    นี่เป็นตัวอย่างของวาทกรรมไร้หลักฐานและคุยเขื่องแบบไร้สติ   ซึ่งผมเชื่อว่าในกลวง  ดังนั้น หากเราเข้าใจตรงนี้เสียแล้ว เราจะไม่ให้ราคากับถ้อยคำและแม้แต่คำขู่ของพวกฝุ่นใต้ตีนไร้สมองและเหตุผลเหล่านี้ครับ
       
        นอกจากนี้ ข้อเสนอการปฏิรูปศาลยุติธรรมที่กลุ่มนิติราษฎร์เห็นว่า สถาบันตุลาการมิได้ยึดโยงกับประชาชน เพราะมิได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยก็เช่นกัน
       
        ที่กลุ่มนิติราษฎร์ได้เสนอแนวคิดให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อผู้บริหารสูงสุดของทุกชั้นศาลต่อสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภาเพื่อให้การรับรองก่อนที่จะมีการแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งนั้น
       
        ก็เป็นการลอกเลียนแบบระบบศาลที่ใช้ในบางประเทศซึ่งมีวิวัฒนาการของระบบการเมือง การปกครอง สภาพสังคม และความเป็นมาของผู้ใช้อำนาจตุลาการที่แตกต่างจากประเทศไทยเช่นกัน
  • สามย่อหน้านี้ แสดงให้เห็นถึงความไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่มีน้ำหนักในการถกเถียงประเด็นที่สำคัญและอยู่บนหลักการสูงสุดของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทั่วโลกเขารับรู้กันว่า อำนาจต้องเป็นของประชาชนหรือผูกโยงกับประชาชน (ของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน)  พวกนี้ไม่ได้บอกว่า ใช้กับสังคมไทยแล้วไม่ดีอย่างไร ไม่เหมาะกับสังคมไทยอย่างไร  ประชาธิปไตยเมืองไทยมันใช้หลักสากลไม่ได้เพราะอะไร   หากเป็นข้อสอบอัตนัย มาถึงตรงนี้ ผมให้คะแนนไม่เกิน 10% ค่าน้ำหมึก  แปลว่า สอบตก ในระดับปริญญาตรีครับ  แล้วคนอย่างนี้ ก็สะเออะมาเขียนคอลัมน์ ให้คนอ่านทั่วบ้านทั่วเมืองนะครับ น่าตกใจไหมครับ
       
        เชื่อว่า แม้แต่ชาวบ้านธรรมดาๆ ที่ไม่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไปร่ำเรียนวิชากฎหมายจากต่างประเทศก็ย่อมทราบดีว่า หากนำข้อเสนอดังกล่าวของกลุ่มนิติราษฎร์มาใช้กับสังคมไทย ศาลยุติธรรมไทยย่อมไม่มีความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี
  • นี่โยงเรื่องอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีเข้ามาปนเพื่อหักล้าง กับเรื่องหลักการผูกโยงกับประชาชน  โดยอ้างอีกแล้วนะครับ ว่าชาวบ้านก็เห็นตามเขา ว่ามันจะทำให้ศาลไม่มี "อิสระ" ซึ่งเป็นเรื่องซึ่งต้องพิสูจน์กันมากมาย  ที่เขาไม่ได้พูดถึงและพยายามให้เราเชื่อตามก็คือ ในระบอบและระบบปัจจุบัน ที่ศาลเหี้ย ๆ ไม่ได้มาจากประชาชน และที่ถูกบงการได้โดยง่าย โดยคนที่กุมอำนาจในระบอบราชาธิปไตย และเป็นผลมาจากการรัฐประหารนั้น  มี  "อิสระ"  ซึ่งไม่เป็นความจริงที่ทุกคนจะเห็นด้วยอย่างไม่มีข้อสงสัยเลย   
        และผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมก็คงจะไม่ต่างไปจากข้าราชการประจำในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่จะต้องคอยเงี่ยหูฟังคำสั่งจากฝ่ายการเมือง ก่อนที่จะมีคำพิพากษาในคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง หรือคดีอื่น ๆ ที่นักการเมืองต้องการแทรกแซงคดีความในศาล
  • ผมไม่อยากจะบอกเลยว่า ความคิดของคอลัมนิสต์คนนี้ สู้เด็กมัธยมต้นของประเทศอเมริกายังไม่ได้เลยนะครับ ตรงนี้ เอาการการให้สภาตรวจสอบ ซึ่งแปลว่า ตัวแทนประชาชนเขารับรองก่อนนั้น ไปเปรียบข้าราชการที่อยู่ใต้อำนาจของรัฐบาล มันเป็นคนละเรื่องโดยสิ้นเชิง  การตรวจสอบเป็นเรื่องที่ต้องทำกันอยู่แล้ว ฝ่ายยุติธรรมเวลานี้ มีอำนาจขนาดยุบพรรคการเมือง ปลดนักการเมือง ฯลฯ  นี่มันไม่ยิ่งกว่าการเหยียบย่ำหัวของตัวแทนประชาชนหรือ?  ไม่ต้องพูดแค่เรื่องอิสระในการทำงานแค่นั้น   แต่ในความเป็นจริง อิสระในการทำงาน เป็นคนละเรื่องกับการตรวจสอบก่อนเข้าทำงานนะครับ สภาฯ สามารถสอบถามประวัติ คัดกรองคนที่จะมาทำหน้าที่อันสังคมไทยยอมรับและอยากยกให้ว่า มีความบริสุทธิ์  ก็พวกนี้กินเงินเดือนสูงกว่าใคร ทำไมจะถูกตรวจสอบไม่ได้  ที่ผ่านมา ก็ได้รับการตรวจสอบกันเฉพาะกลุ่ม แล้วเป็นไง?  ตัดสินคดีความเป็นอย่างไร ตามคำสั่งใคร เราก็พอจะรู้กันอยู่ อยากได้หลักฐานความไม่ชอบมาพากล ลองไปถามคนจบปอสี่ในบรรดาคนเสื้อแดงดู ก็จะได้คำตอบแบบไม่ต้องบกเมฆมาลอย ๆ อย่างเจ้าของคอลัมน์อ้าง  อิสระในการทำงาน เป็นคนละส่วนกับการตรวจสอบนะครับ การตรวจสอบคือการช่วยกรองคนเข้าไปทำงาน ส่วนระบบการทำงาน เป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งมีกฎระเบียบบังคับเอาไว้  ไม่ได้แปลว่าการขอให้มีการตรวจสอบนั้น จะต้องแปลว่าผู้ทำหน้าที่จะต้องรับฟังนักการเมือง  ก็ตรวจสอบท่านผ่านแล้ว ท่านก็สามารถทำงานได้อย่างสง่าผ่าเผย ไม่ได้แปลว่านักการเมืองจะเข้าไปแทรกแซงหรือมีอิทธิพลเหนือการทำงานได้  เพราะเขาอนุมัติให้ผ่าน  และการอนุมัติให้ผ่าน เป็นการทำงานแบบองค์คณะ แบบโปร่งใส มีการถ่ายทอด เหมือนในสหรัฐอเมริกา  เราจะเห็นได้ว่า พวกนี้กลัวอิทธิพลของตัวแทนประชาชน (นักการเมือง)  แล้วอ้างเอาประเด็นการตรวจสอบโดยตัวแทนไปโยงกับการใช้อิทธิพลเหนือการทำงานของศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดรายละเอียด และที่จริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกัน  เพราะมันไม่ใช่บุญคุณ ไม่ใช่การเลือกคนของพรรคเข้าไปทำหน้าที่คุมเกมด้านยุติธรรมแบบไม่มีการคานอำนาจ  เพราะในสภานั้น มีทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน  การซักค้าน ตรวจสอบ ก็ทำกันทั้งสองฝ่าย   การที่คอล้มนิสต์ท่านนี้ จับแพะชนแกะ โดยไม่มองรายละเอียดของความจริง แสดงให้เห็นถึงความตื้นเขินทางความคิดและวิจารญาณ  นี่เป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับสังคมครับ 
       
        จึงเห็นได้ว่า ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ในประเด็นดังกล่าวมิได้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน แต่จะเป็นประโยชน์แก่นักการเมืองที่ต้องการแทรกแซงอำนาจตุลาการมากกว่า
  • นี่คือปัญหาทางตรรกะและการคิดที่น่าอายมาก ๆ นะครับ สรุปว่าจะไม่เกิดประโยชน์กับประชาชน   เป็นการสรุปชนิดที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีการวิเคราะห์ใด ๆ เลย ว่า ประโยชน์อันพึงได้จากการให้ตัวแทนประชาชนตรวจสอบก่อนการเข้ารับตำแหน่งในศาลยุติธรรมมีอะไรบ้าง (ไม่เคยคิด และไม่เคยกล่าวถึงหรือหักล้าง  counter arguments หรือความเห็นที่อีกฝ่ายน่าจะแย้งมา  แล้วก็ด่วนสรุปไปเลยว่าไม่มีอะไร)  ซึ่งหากจะยกมา ก็เห็นได้ว่า เป็นการช่วยคัดคนที่มีคุณวุฒิ และประวัติการทำงานที่เชื่อได้ว่าเหมาะสมกับ job descriptions หรือลักษณะของงานที่จะทำ  ทำให้ได้คนดีที่สุด ไม่ด่างพร้อย ไม่อยู่ใต้อิทธิพลรัฐบาล (เพราะฝ่ายค้านมีสิทธิซักถามและลงคะแนนเสียงได้  และปกติการซักถามตรวจสอบ ในประเทศพัฒนาแล้ว เขาให้มีการถ่ายทอดสดครับ)    พี่น้องเห็นยัง ถึงความตื้นเขินทางความคิดและความฉลาดในเชิงเหตุผลที่จำกัดของคอลัมนิสต์ท่านนี้
       
        บ้านเมืองไทยทุกวันนี้ อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติแทบจะไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารได้เลย เพราะนักการเมืองผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารเป็นผู้คุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

        หากต้องให้อำนาจตุลาการอยู่ภายใต้อำนาจฝ่ายบริหารอีก แทนที่การเคลื่อนไหวผลักดันของกลุ่มนิติราษฎร์จะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่กลับจะได้ระบอบเผด็จการสมบูรณ์แบบโดยนักการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
  • นี่เขาโง่หรือบ้ากันแน่ครับ หรือคงไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตย และหลักเสียงข้างมากในสภา และหลักการตรวจสอบ และวิธีการต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดเรื่องการคานอำนาจ เช่น สิทธิและหน้าที่ของสภา การมีวุฒิสภาเข้ามาช่วยกลั่นกรอง (แถมแต่งตั้งมาอีกจำนวนมหาศาล)   มันมีรัฐบาลไหนที่ไม่ได้เสียงข้างมากในสภา???????? และการตรวจสอบทำไมจะทำไม่ได้  ประชาธิปัติย์มันค้านได้ทุกเรื่อง ออกสื่อได้มากกว่ารัฐบาลเสียอีก เพื่อฟ้องประชาชน และประชาชนก็คือผู้ตัดสิน  แถมยังมีเครือข่ายตุลาการวิบัติไว้คอยรับลูก  มันยุบพรรคการเมืองมากี่พรรค ไล่นายกออกกี่คนในสี่ห้าปีหลังนี้ ทั้ง ๆ ที่พรรคเหี้ย ๆ นี้ ไม่เคยได้เสียงส่วนใหญ่ด้วยตัวเองเลย  นี่คือการโกหกหน้าด้าน ๆ มองสถานการณ์อย่างตื้นเขิน และมีอคติ แถมอยู่บนพื้นฐานของไม้หลักปักขี้เหลืองครับ  ลงท้ายมาสรุปเลยว่า การเคลื่อนไหวของนิติราษฎร์ทำให้เกิดระบอบเผด็จการทางรัฐสภา... ฮา...

     แล้วผมควรอ่านต่อหรือวิพากษ์ วิจารณ์ต่อไหมละเนี่ย? หากเป็นการตรวจข้อสอบอัตนัย  ผมให้ F- ไปแล้วนะครับ   ผมอ่านที่เหลือแล้ว ก็ต้องนั่งส่ายหัวกับความหน่อมแน้มของคอลัมนิสต์ท่านี้เสียจริง ๆ

    ว่าง ๆ ผมจะมานั่งวิเคราะห์และวิจารณ์ความคิดขี้เท่อ ๆ ของนักเขียนท่านนี้อีกนะครับ หรือพี่น้องจะลองยกไปเขียนวิพากษ์ วิจารณ์เล่น ๆ ที่ comment box ข้างล่าง ทีละประโยค ก็เชิญนะครับ น่าสนุกดีครับ ถือเป็นการเขี่ยขี้เท่อให้สลิ่มได้เห็น เพราะหลายคนยังคิดว่าเป็น  oyster หรือหอยชั้นดี อยู่เลยครับ ฮิ ๆ 
       
        ผมเห็นว่า แม้ในปัจจุบันผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมมิได้มีความยึดโยงกับภาคประชาชนโดยตรง แต่ก็มีกรรมการตุลาการ 2 คน ซึ่งมาจากการสรรหาของวุฒิสภาร่วมกับกรรมการตุลาการที่มาจากการเลือกตั้งจากผู้พิพากษาทำหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
       
        โดยคณะกรรมการตุลาการมีอำนาจในการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายและลงโทษทางวินัยแก่ผู้พิพากษาทุกตำแหน่งอยู่แล้ว
       
        การเปลี่ยนแปลงในสถาบันตุลาการมิใช่เป็นสิ่งต้องห้าม และก็มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะๆ เพื่อให้สถาบันตุลาการมีความมั่นคง เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง
       
        ผมไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการบางกลุ่มที่ไปเรียนรู้ระบบตุลาการในต่างประเทศเพียงไม่กี่ปี แล้วจินตนาการเอาว่าระบบตุลาการในประเทศนั้น ๆ เป็นระบบที่ดี แล้วเสนอแนะให้นำมาใช้กับสังคมไทย โดยไม่ศึกษาความเป็นมาของขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละสังคมให้ลึกซึ้งเสียก่อน
       
        อนี่ง เมื่อปี 2547 ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ก็เคยแสดงความเห็นไว้ในหนังสือ “รู้ทันทักษิณ 2” วิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญปี 2540 เกี่ยวกับการสรรหาองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีใจความสำคัญสรุปได้ว่า
       
        “บุคคลที่ทำหน้าที่ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีที่มาจากการสรรหาของฝ่ายการเมือง จึงถูกฝ่ายการเมืองแทรกแซงและครอบงำ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระและเที่ยงธรรมได้ ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในบ้านเมือง”
       
        จึงน่าสงสัยว่า เหตุใด ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คนเดียวกันนี้กลับเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปศาลยุติธรรม โดยให้คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อประธานศาลทุกชั้นศาลเพื่อให้รัฐสภารับรองก่อนแต่งตั้ง
       
        อันเป็นข้อเสนอใหม่ที่เปิดโอกาสให้นักการเมืองแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของศาลยุติธรรมได้โดยง่าย
       
        เชื่อว่า หากฝ่ายการเมืองพิจารณาแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญให้มีการปฏิรูปศาลยุติธรรมตามข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ จะมีผู้พิพากษาและประชาชนผู้รักความเป็นธรรมร่วมกันออกมาคัดค้านอย่างถึงที่สุดอย่างแน่นอน
       
        ผมมีข้อเสนอต่อกลุ่มนิติราษฎร์ให้ใช้ความรู้ทางวิชาการและความกล้าหาญในการแก้ปัญหาอันเป็นรากเหง้าของปัญหาทั้งปวงในสังคมไทย นั่นก็คือปัญหาการคอร์รัปชั่นในวงราชการและการเมืองไทย ซึ่งยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้
       
        คงเห็นแต่เพียงการเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการลบล้างคดีคอร์รัปชั่น ซึ่งศาลยุติธรรมได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว โดยอ้างว่าศาลหยิบยกกฎหมายซึ่งออกในสมัยที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจมาใช้ในการตัดสินคดี
       
        ทั้งๆ ที่ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นต้นเหตุปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมไทย และเป็นต้นเหตุของการใช้เป็นข้ออ้างทุกครั้งที่มีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองบ้านเมือง และข้ออ้างดังกล่าวก็เป็นความจริงที่คนในสังคมไทยรับรู้
       
        ผมเองก็ไม่ต้องการเห็นการปฏิวัติยึดอำนาจไม่ว่ากรณีใดๆ เพราะไม่เกิดผลดีแก่ประเทศชาติและประชาชน แต่ก็ไม่ต้องการเห็นระบอบเผด็จการในรูปแบบประชาธิปไตยจอมปลอม ที่หลายๆ ฝ่ายพยายามเรียกร้องเพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่มเช่นกัน
       
        กลุ่มนิติราษฎร์จึงควรล้มเลิกความคิดในการเคลื่อนไหวขอแก้กฎหมายเกี่ยวกับสถาบันสูงสุดและการปฏิรูปศาลเพื่อเพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายการเมือง แล้วหันมาเคลื่อนไหวต่อต้านการคอร์รัปชั่นอย่างเอาการเอางาน
       
        หากสามารถทำได้ผล ก็เชื่อว่ากลุ่มนิติราษฎร์จะได้รับการสรรเสริญจากคนส่วนใหญ่ทุกกลุ่มในสังคมไทย มิใช่ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และจะสามารถแก้ปัญหาการปฏิวัติยึดอำนาจได้อย่างถาวรอีกด้วย
พิมพ์จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000017380
เวลา 8 กุมภาพันธ์ 2555 02:37 น.

Monday, February 6, 2012

30 คำถามที่ไม่ค่อยมีการถามตอบ ถึงประชาชนไทยที่รักทุกท่าน

ขอเดชะ ประชาชนไทยที่รักทุกท่าน

ผมจะเขียนบทความชิ้นนี้ ในรูปคำถามทั้งหมด เพื่อให้พี่น้องคนไทยทุกหมู่เหล่า ได้คิดตาม
หวังว่า คำตอบ จะทำให้ท่านเดินหน้าไปอีกหลายก้าว ในเชิงการเมือง เพื่อจะได้ตาสว่างยิ่งขึ้น
และกลายเป็นผู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ชาติเราต้องการในที่สุด หรือท่านอาจจะรักสถาบันกษัตริย์ และระบอบการปกครองอย่างที่เป็นอยุ่ในปัจจุบันนี้ต่อไป.... ผมไม่ได้คิดเรียบเรียงนะครับ จะเขียนให้ครบห้าสิบคำถามภายหลัง แต่ตอนนี้เอาแค่สามสิบไปก่อนนะครับ  ลองคิดไปด้วย หรือหากมีคำถามชวนคิดมากกว่านี้  ก็กรุณาช่วยกันเติมได้นะครับ เชื่อว่ามีอีกมากมาย

  1. ประเทศไทย เป็นของประชาชนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน หรือเป็นของกษัตริย์คนเดียว หรือเป็นของชนชั้นสูงส่วนน้อยที่เขาอ้างว่ามีอำนาจ มีคุณธรรม และมีบุญบารมีมากกว่าประชาชนทั่วไป?
  2. กษัตริย์ภูมิพลและบรรพบุรุษท่านใดเคยรบข้าศึก เคยปกป้องประเทศ เคยก่อตั้งประเทศอย่างแท้จริง?
  3. พฤติกรรมใดของกษัตริย์ คือพฤติกรรมที่เหมือนพ่อของท่านจริง ๆ? สิ่งใดที่ทำให้ประชาชน สมควรต้องเคารพรักและเทิดทูนไว้เหนือหัว?
  4. กษัตริย์ภูมิพลและครอบครัว แสดงอาการใดบ้าง ที่สรุปได้ชัดว่า รักประชาชน ห่วงใยประชาชน และทำประโยชน์ให้ประชาชน? ท่านมีหลักฐานใดชัดเจนที่ไมใช่แค่เขาเล่ามา?
  5. ในบรรดาพระราชกรณียกิจ และโครงการพระราชดำริที่ออกอากาศแทบทุกวัน ท่านได้รับประโยชน์โดยตรงใด ๆ บ้าง  ทำให้ชีวิตท่านดีขึ้นอย่างไรบ้าง มีหลักฐานใด?
  6. กษัตริย์ภูมิพลเหาะมาจากฟ้าพร้อมกับวงส์ตระกูลหรือไม่?
  7. ทำไมพิธีกรรมต่าง ๆ จึงเป็นการชูกษัตริย์เป็นเทวดา ตามลัทธิพราหมณ์  ทั้ง ๆ ที่กษัตริย์เป็นผู้ที่นับถือพุทธ และต้องพระราชทาน พระบรมราชูปถัมน์ให้กับศาสนานี้?
  8. การที่กษัตริย์ยกตัวเหนือสงฆ์ ด้วยการแต่งตั้งและให้ลาภยศแก่พระสงฆ์นั้น ส่งเสริมหรือทำลายศาสนาพุทธ ที่สอนให้ลด ละ และเลิก ความเป็นตัวตน การครอบครองสิ่งต่าง ๆ อันรวมถึงลาภ ยศ สรรเสริญ เพื่อเข้าสู่การก้าวไปสู่นิพพาน?
  9. ทำไมท่านต้องจงรักภักดีกับกษัตริย์? การจงรักภักดีนั้น ชูกันขึ้นมาเพื่อชาติ หรือเพื่อใคร?
  10. ใครเป็นคนสร้างความคิดว่า คนทั้งหลายต้องรัก ต้องภักดี แบบไม่ต้องคิดถึงเหตุผล เขาทำเพื่ออะไร? ท่านสมควรเชื่อตามนั้นหรือไม่? เพราะเหตุใด?
  11. กษัตริย์ไทยร่ำรวยที่สุดในโลก ในบรรดาราชาทั่วโลก แล้วทำไมจึงทรงสอนให้ประชาชนอยู่อย่างพอเพียง? กษัตริย์ไทยทำตัวอย่างไรที่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าอยู่อย่างพอเพียง?  การบีบหลอดยาสีฟัน เป็นภาพความจริง หรือแค่ภาพเล็ก ๆ ท่ามกลางภาพความหรูหรา เช่น เครื่องบิน รถ ปราสาท อาหารการกิน ฯลฯ ของคนในราชสำนัก?
  12. ทำไมประเทศที่กษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก จึงมีกะหรี่เต็มทั่วทุกจังหวัด มีนักท่องเที่ยวเพื่อกิจกรรมทางเพศ เข้าประเทศไทยเพื่อเสวยสุขจากเด็กหญิง เด็กชาย และหนุ่มสาวของประเทศอย่างคับคั่ง?
  13. ทำไมมีการฆ่าประชาชนในประเทศไทยในช่วงรัชกาลที่เก้า จนมีคนตายมากมาย หลายครั้ง นับตั้งแต่ตุลาคม 14-16 พฤษภาคม 2535 เมษายน 2552 และเมษา-พฤษภา 2553 โดยคนฆ่าไม่ได้ถูกพิจารณาและลงโทษเลย แถมผู้เกี่ยวข้องจำนวนหลายคน โดยเฉพาะในกลุ่มทหารและผู้ใกล้ชิดกับวัง ต่างได้ดิบได้ดีหลังความรุนแรงแทบทุกครั้ง?
  14. ทำไมเราบอกว่า ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจเป็นของประชาชน แต่รัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้าไปหลายครั้ง ถูกทหารแย่งอำนาจแบบหน้าตาเฉย แล้วก็มีความชอบธรรม เพียงแค่กษัตริย์ลงนาม? ความผิดใด ๆ ก็ได้รับการพระราชทานอภัยโทษหมด?  แปลว่ากษัตริย์ร่วมกับทหารและนักการเมืองมักง่าย ปล้นอำนาจประชาชน ใช่หรือไม่ใช่?
  15. ทำไมทหารที่อยู่ใกล้ชิดกับสถาบันกษัตริย์ คือกษัตริย์และพระราชินี จึงออกมามีส่วนในกิจกรรมการเมือง จนทำให้มีการยิงหัวประชาชนมือเปล่านับร้อยคน  และกษัตริย์ไม่ได้แสดงความเสียพระทัยหรือให้ข้อคิด เตือนสติ หรือห้ามปรามใด ๆ เลย?  นี่ใช่ครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทยหรือไม่ใช่?
  16. กษัตริย์ภูมิพล ถือศีลห้า ครบหรือไม่?  ท่านทราบได้อย่างไร?
  17. ในทศพิธราชธรรม สิบข้อนั้น มีสิ่งใดบ้าง ท่านทราบหรือไม่ว่าเหตุใดคนถึงอ้างว่ากษัตริย์ไทยเป็นธรรมราชา?  ประเทศที่มีธรรมราชา ควรมีคุณลักษณะอย่างประเทศไทยหรือ?
  18. เอาล่ะ ช่วยทบทวนความจำให้นะครับ ทศพิธราชธรรมประกอบด้วย ๑. ทาน ๒. ศีล ๓. บริจาค ๔. ความซื่อตรง ๕. ความอ่อนโยน ๖. ความเพียร ๗. ความไม่โกรธ l ๘. ความไม่เบียดเบียน l ๙. ความอดทน l ๑๐. ความเที่ยงธรรม   ท่านคิดว่า กษัตริย์ภูมิพล ถือครบสิบข้อนี้หรือไม่ ดีเพียงใด? ทราบได้อย่างไร?
  19. กษัตริย์อยู่เหนือการเมือง เป็นวาทกรรมที่หลอกลวง หรือเป็นจริง?  อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ต้องผ่านด้วยลายเซ็นต์ของกษัตริย์ทุกครั้ง ใช่หรือไม่?
  20. มีคนกล่าวว่า รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศไทย มีพัฒนาการเชิงเป็นประชาธิปไตยน้อยลง หรือหมกเม็ดเพื่อริดรอนเสรีภาพ และความเสมอภาค แล้วก็สร้างความแตกแยกรุนแรงในชาติไทยเพิ่มยิ่งขึ้นในระยะหลังนี้ เพราะอะไร?  บางคนบอกว่า เพราะประชาชนรู้ความจริง และความกลัวก็ทำให้คนสำคัญ ๆ ของชาติต้องออกมาใช้อำนาจเผด็จการ ผ่านการสุมหัวกันของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ทหาร ศาลที่คณะรัฐประหารตั้ง สื่อที่เอียงขวาและอิงกับพ่อค้าและผู้ดีที่ได้ประโยชน์จากการทำธุรกิจเคียงข้างหรือได้ผลประโยชน์ร่วมกับเจ้า ถึงกับต้องสั่งฆ่าประชาชน   ท่านเห็นด้วยหรือไม่? เพราะอะไร?
  21. เกิดมาชาตินี้ ท่านเคยเจอกษัตริย์ตัวเป็น ๆ กี่ครั้ง?  ท่านได้ทำอะไรที่ให้ประโยชน์กับท่านหรือครอบครัว หรือคนในชุมชนท่านบ้าง? คิดเป็นเงินได้กี่บาท? คิดเป็นความเจริญได้กี่กิโลกรัม?
  22. การมีกษัตริย์อยู่ ให้คุณอะไรแก่ประเทศชาติ ที่จับต้องได้ อยู่บนหลักเหตุผลมากกว่าอารมณ์ และมีหลักฐานชัดเจนที่ท่านเห็นและรับรู้กับหู กับตา?
  23. หากกษัตริย์หมดไปจากสังคมไทย จะมีอะไรเกิดขึ้นที่เป็นผลร้ายที่แก้ไขไม่ได้?  คนไทยขาดกษัตริย์ไม่ได้จริง ๆ หรือ? ให้คิดทั้งทางการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และแม้แต่วิถีชีวิตประจำวันของท่าน และระบบราชการในบ้านในเมืองระดับต่าง ๆ?
  24. หากกษัตริย์หมดไป หรืออำนาจกษัตริย์หมดไป ประเทศไทยจะได้อะไรเพิ่มขึ้นบ้าง?  
  25. ที่บอกว่ากษัตริย์ไทยทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรี กีฬา เรื่องน้ำ เรื่องเขื่อนฝายกั้นน้ำ เรื่องการพัฒนา เรื่องเทคโนโลยี ฯลฯ  ท่านเห็นด้วยหรือไม่? มีหลักฐานและการตรวจสอบใด ๆ หรือไม่? ท่านทราบได้อย่างไร?
  26. ทำไมคนบางกลุ่มถึงอ้างว่าเขาจงรักภักดีกษัตริย์นักหนาและมากกว่าคนอื่น เขารู้ได้อย่างไร เรารู้ได้อย่างไร   และพวกเหล่านั้น ได้ประโยชน์มากกว่าพวกเราหรือไม่ อย่างไร?  
  27. ท่านทราบไหมว่ากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกของพระราชา เสียภาษีเท่าไหร่  เอาเงินภาษีประชาชนเข้าไปใช้ปีละเท่าไหร่  และเงินบริจาคแต่ละปีเป็นเงินเท่าไหร่ กษัตริย์และราชวงศ์บริจาคเงินและทรัพย์สินในยามชาวบ้านเดือดร้อนเท่าไหร่?  พฤติกรรมของพ่อของแผ่นดิน สรุปได้จากความรักความใสใจตรงนี้ ได้มากน้อยแค่ไหน?
  28. กษัตริย์ไทยดีจริงแค่ไหน  ทำไมต้องมีการบังคับให้ยืนเคารพในโรงหนัง ทำไมต้องมีซุ้มเต็มบ้านเมือง ทำไมต้องจัดงานต่าง ๆ อย่างยิ่งใหญ่เพื่อเชิดชู ทำไมต้องแสดงภาพการมีคนบริจาคเงินแทบทุกวัน และทำไมจึงต้องห้ามประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ หรือละเมิดไม่ได้เลย?
  29. ความดีของกษัตริย์ภูมิพล วัดได้จากตรงไหน? ท่านมีเหตุผลและหลักฐานใดบ้าง?
  30. เมื่อมีกษัตริย์ ก็มีชนชั้น และการแบ่งชนชั้น  ทำให้คนเหยียดหยามคนที่ตนมองว่าต่ำกว่า  ซึ่งไม่ใช่สิ่งดี  หากไม่มีกษัตริย์ ปัญหาใด ๆ ของชาติจะลดหรือหายไปได้ง่ายหรือเร็วขึ้น? 




  31.  
______________________________________________________________________________




 
 
 
 

Saturday, February 4, 2012

ลองตัดเกรดการทำงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์กันไหมครับ?



ผมได้นำเสนอรายการสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนของรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปลายปีที่แล้ว ช่วงย่างเดือนที่สามหลังการรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ  ถึงวันนี้ ผ่านมาเกือบหกเดือนของการทำงานแล้ว  รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำอะไรได้ดีไม่ดีขนาดไหน พี่น้องลองให้คะแนนดูนะครับ ส่วนการจะให้เกรดอย่างเป็นธรรม ก็ต้องดูสิ่งที่เราคาดหวังให้รัฐบาลฯ ทำ  รายการเร่งด่วนที่ผมเสนอเมื่อหกเดือนที่แล้ว  คงเป็นกรอบสำหรับการตัดเกรดได้ดีพอสมควรนะครับ  

การเป็นประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่ดี เราต้องรู้จักตรวจสอบรัฐบาลให้เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่มองแค่ภาพผิวเผินหรือใช้ความรู้สึกมากกว่าการแยกรายละเอียดออกมาเป็นส่วน ๆ เพื่อประเมิณ  และกรอบการตัดสิน สิบประการ ที่ผมนำเสนอ ท่านสามารถแต่งเติมได้นะครับ  

Must-Do List สิ่งต้องทำเร่งด่วนของรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์


Must-Do List สิ่งต้องทำเร่งด่วนของรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์สำหรับคุณยิ่งลักษณ์และผู้เกี่ยวข้อง 

ผู้นำไม่ใช่คนที่ต้องทำให้คนทุกคนรักและชื่นชม หรืออ่อนน้อมถ่อมตนและยอม
แต่เป็นผู้มีอิทธิพลและอำนาจในการชี้นำ บงการ และสั่งการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดขึ้น
การเอาใจเจ้า การทำตัวดี น่าเอ็นดู ซื้อใจเหี้ยไม่ได้
การเห็นใจทหาร ซื้อใจพวกเขาไม่ได้ ที่สำคัญ ซื้อความจงรักภักดีจากพวกเขามาไม่ได้
ดังนั้น ขอแนะนำว่า รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ควรจะต้องทำสิบสิ่งต่อไปนี้อย่างเร่งด่วน
  1. ตั้ง คณะกรรมการศึกษาเรื่องเหตุน้ำท่วมอย่างด่วน เก็บหลักฐาน และรายงานอย่างเอิกเกริก แล้วเอาผิดผู้เกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด สั่งพักราชการหากมีเค้า และตั้งทีมกฎหมายฟ้องร้องให้ถึงที่สุด ในข้อหาก่อการร้ายและอาชญากรรมระดับชาติหรือเป็นกบถ
  2. ตั้ง ทีมงานฉพาะกิจแถลงข่าวรัฐบาลด้านต่าง ๆ ใช้ พรก. ภัยฯ ขอเวลาทีวีและวิทยุเร่งแก้ข้อกล่าวหาอย่างจริงจัง อย่าปล่อยให้เกิดการใส่ร้าย ยุแหย่ และบ่อนทำลายอยู่อย่างสบายใจหรือลอยนวล
  3. ตั้งคณะกรรมการพิจารณาแก้ปัญหาประเทศหลังน้ำลด จัดทัพเตรียมงานและทำงานอย่างแข็งขัน เพิ่มเติมจากงานปกติของกระทรวงต่าง ๆ
  4. ตั้ง ทีมงานศึกษาเรื่องผลความคืบหน้าของคดีทางการเมืองและการช่วยเหลือเหยื่อ ทางการเมืองหลังปี 49 ทั้งที่บาดเจ็บ ทุพลภาพ สูญหาย และเสียชีวิต แล้วเริ่มปล่อยนักโทษทางการเมืองอันเป็นผลจากการชุมนุมปี 52-53 รวมทั้งคดีหมิ่นฯ ทุกกรณี หากจะมีการพิจารณาความ ก็ให้โปร่งใสเป็นไปตามมาตรฐานสากลและหลักรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีประกันไว้เพียงพอ
  5. นำ ข้อเสนอของนิติราษฎร์เข้าหารือในสภา และหาโอกาสใช้เสียงส่วนใหญ่ดำเนินการเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญทันที และอาจจะให้มีคณะกรรมการศึกษาปัญหาทางการเมือง และสอบถามประชาชน เพื่อนำเสนอเป็นรากฐานของการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นหลักการให้ สสร. นำไปประกอบการพิจารณา เป็นการให้ความชอบธรรมสำหรับกรอบการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฎิวัติการปกครอง
  6. ลงนามสัตยาบรรณกับ ICC ทันที
  7. รื้อหรือดำเนินคดีกับผู้มีส่วนร่วมฆ่าประชาชนในปี 2552-3 ทันที
  8. จัดการสะสางคดีทุจริตของรัฐบาลที่แล้วมาอย่างจริงจัง เด็ดขาด อย่าให้คนชั่วลอยนวล
  9. ขยายเวลานายกพบประชาชน เป็นหนึ่งชั่วโมง บอกความจริงกับประชาชน โดยให้มีรัฐมนตรีสำคัญ ๆ เข้าร่วมแถลงการณฺ์ด้วยตามสมควร
  10.  จัดการ กับสื่อที่อาศัยจังหวะรัฐบาลแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ใส่ร้ายป้ายสีและปฎิบัติตนผิดกฎหมายและจรรยาบรรณสื่อ แล้วดำเนินคดีหรือลงโทษในทุกกรณีที่กฎหมายอำนวยให้ ยาพิษร้ายที่สุดของสังคมไทย คือสื่อที่ไร้จรรยาบรรณ ที่สร้างความแตกแยก เกลียดชัง ไร้เหตุผล ทำลายล้าง และเป็นภัยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ฟังการขยายความแต่ละประเด็นในตอนท้าย ๆ ของคลิปรายการนะครับ
*Seeds of Democracy ประจำวันที่ 28-10-54
“Exit สุดท้ายสู่ “ความรอดของราชวงศ์” มันผ่านไปแล้ว ไฮเวย์ข้างหน้าเส้นนี้…ไปเชียงรายแบบไม่มี U-Turn”
http://www.mediafire.com/?9qa2k93ja75zs6o
http://www.4shared.com/audio/0nZ08ngs/S … -54_E.html
_________________

Friday, February 3, 2012

กระทู้ของประชาชนถึง พณฯ นายกรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาไทย

ข้างล่างนี้ คือจดหมายที่ได้ส่งผ่านเลขานุการนายกรัฐมนตรี เมื่อปลายปีที่แล้ว
บัดนี้ เรายังไม่ได้รับคำตอบ 
พี่น้องลองทบทวนนะครับ ว่าคำถามเหล่านี้ นักการเมืองสมควรถูกถาม และหัดตอบกันบ้างหรือไม่
นี่คือส่วนหนึ่งของการกระตุ้นการปฎิวัติประชาชน และหากท่านอยากได้แนวคิดเรื่องการปฎิวัติประชาชน
ลองรับฟังคลิปรายการย้อนหลังที่พูดถึงจดหมายฉบับดังกล่าว และชวน "ล้มเจ้า" อย่างสันติ
สามารถกดรับฟังได้เลย โดยไม่ต้องดาวน์โหลดนะครับ



--------------------------------------------------------------------------------------------------------
พณฯ ประธานรัฐสภา และสมาชิกรัฐสภาทุกท่านThe Thai Alliance for Human Rights
ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน
Website: http://thai-ahr.org        
Email:
president@thai.ahr.org

24  พฤศจิกายน 2554

เรื่อง กระทู้ของประชาชนถึง พณฯ นายกรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาไทย

เรียน พณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ในภาวะที่ประชาชนตื่นตัวเต็มที่่เรื่องประชาธิปไตย โดยเชื่อว่ามันเป็นระบอบการปกครอง ที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังนั้น การเมืองและการปกครองต้องเป็นไปโดยความเห็นชอบ ของประชาชนส่วนใหญ่ ที่ได้เลือกตัวแทนของพวกเขาไปปฎิบัติหน้าที่แทน  และผลประโยชน์จากการบริหารบ้านเมือง
ใด ๆ ทั้งมวล ต้องเป็นไปเพื่อมวลมหาชนทุกคน ไม่ใช่เพื่อกลุ่มชนหนึ่งใดหรือชนชั้นใด ๆ โดยเฉพาะ  ความตื่นตัวอันเห็นได้ชัดหลังการรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2549 นั้น ปรากฎชัดเจนอย่างไม่ต้องสงสัย จากการที่คนไทยในประเทศไทยและทั่วโลกได้รวมตัวกัน เพื่อมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยมีการศึกษา แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และทำกิจกรรมทางการเมืองร่วมกันต่อเนื่องมานับครึ่งทศวรรษ  และนั่นเป็นที่มาของคำถาม ที่่พี่น้องไทยในนามกลุ่มภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (The Thai Alliance for Human Rights) และพี่น้องไทยในเครือข่ายสังคมอินเตอร์เน็ต (social networks) ที่จักขอถามเป็นกระทู้ให้ท่านนายกรัฐมนตรี และสมาชิกรัฐสภาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำถาม ได้ร่วมกันตอบหรือถกเถียงเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางสำหรับการแก้ปัญหาของประเทศชาติที่เรื้อรังและเป็นพิษร้ายอันรุนแรงมาถึงปัจจุบัน ดังต่อไปนี้

หนึ่ง ระบอบประชาธิปไตย ในความหมายของท่านผู้ทรงเกียรติ หมายถึงอะไร ตรงกับคำนิยามของพวกเราหรือไม่ ที่ว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน การใช้อำนาจต้องเป็นไปอย่างชอบธรรม โดยตัวแทนของประชาชนเท่านั้น และจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของปวงชนทุกหมู่เหล่า  ทั้งนี้ จักต้องอยู่ บนหลักการแห่งการเคารพเสรีภาพตามหลักสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน บนความเสมอภาคของความเป็นมนุษย์ ภายใต้กฎหมายเดียวกัน และการสร้างสันติสุขแห่งหมู่ชน ด้วยวิถีแห่งภราดรภาพ

สอง การรัฐประหาร และการใช้อำนาจทางตุลาการล้มล้างอำนาจบริหารและนิติบัญญัติของประชาชน เป็นสิ่งถูกต้องหรือไม่ สังคมไทยควรยอมรับให้มีการก่อการรัฐประหารและตุลาการภิวัฒน์ดังที่เป็นมาอีกหรือไม่  หากไม่ พวกท่านจะสร้างหลักประกันใด ๆ ว่าสองสิ่งนี้ จะไม่เกิดขึ้นอีกเป็นอันขาดในปัจจุบันและอนาคตของประเทศไทย

สาม หากเกิดกิจกรรมอันไม่เป็นประชาธิปไตยสองข้อดังกล่าวในข้อสอง แล้วกษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ท่านจะทำประการใด และจะทำให้สิ่งที่ไม่เป็นประชาธิปไตยสองสิ่งนี้ พ้นจากการเป็นมลทิน อันแปดเปื้อน สถาบันพระมหากษัตริย์ได้อย่างไร

สี่ กฎหมายระดับต่าง ๆ ที่ คมช. ได้ร่างขึ้นหลังการรัฐประหาร และองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่ถูกแต่งตั้งตามกฎหมายดังกล่าว เป็นกลไกที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ใช่หรือไม่  และพวกท่านคิดจะทำประการใดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่ขัดกับหลักในคำถามข้อหนึ่ง และองค์กรที่มีที่มาจากขบวนการรัฐประหารทั้งหลาย จะทำเมื่อใด และอย่างไร

ห้า กฎหมายอาญา มาตรา 112  เป็นกฎหมายที่มีปัญหาในเชิงหลักการที่ขัดกับหลักความเสมอภาค และการมีเสรีภาพด้านต่าง ๆ ตามหลักสากลแห่งสิทธิมนุษยชน อันเป็นสิ่งที่ได้รับการประกันไว้ ทั้งในระดับสากล และในรัฐธรรมนูญของไทย  แถมยังมีปัญหาในเชิงปฎิบัติ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เอง และต่อประชาชนที่แสดงออกตามระบอบประชาธิปไตย ตามหลักการที่ระบุไว้ในคำถามข้อที่หนึ่ง  แถมความรุนแรงของการลงโทษ กลับหนักกว่าคดีอาญาทั่วไปยิ่งนัก แม้แต่ชายชราวัยนับเจ็ดสิบปี ก็ถูกพิพากษาจำคุกนับ 20 ปี โดยไม่ได้รับการประกันตัวในระหว่างการสอบสวนและพิจารณาคดีเลย  และแทบทุกคนที่ต้องข้อกล่าวหามาตรานี้ มักไม่ได้รับการประกันตัว  พวกท่านคิดจะทำประการใดกับกฎหมายอาญามาตรานี้รวมถึงัฐธรรมนูญมาตราที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งหลาย อันขัดกับหลักเสรีภาพและความเสมอภาคตามคำนิยามสากลของระบอบประชาธิปไตยข้างต้น

หก ประเทศไทยสมควรลงสัตยาบรรณ เพื่อยอมรับให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) มีสิทธิในการพิจารณาคดีความที่เกี่ยวกับการละเมิดทางอาญาต่อชีวิตและทรัพย์สินมหาชน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแอบอ้างใช้อำนาจรัฐออกมาฆ่าฟันประชาชนได้โดยไม่ถูกชำระสะสางโทษได้อีก พวกท่านเห็นด้วยหรือคัดค้าน เพราะเหตุใด

เจ็ด หลักกฎหมายอาญาตามมาตรฐานสากล ระบุว่า ทุกคนมีิสิทธิพื้นฐานในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ และอย่างยุติธรรม โดยไม่ถูกให้รับโทษเสมือนผู้กระทำผิดที่ถูกตัดสินครบกระบวนความแล้ว คือให้ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน  และด้วยเหตุนี้ การประกันตัวเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยประกันสิทธิพื้นฐานดังกล่าว  ทำไมในประเทศไทย ยังมีคดีความที่ผู้ถูกกล่าวหา ไม่ได้รับการประกันตัวจำนวนมากมาย ในฐานะผู้แทนของปวงชน ท่านคิดเห็นอย่างไร และจะทำประการใด

แปด น้ำท่วมประเทศในปี 2554 นี้ ประชาชนจำนวนมากเชื่อว่า มีข้อมูลมากพอจะระบุได้ว่า มีขบวนการทำให้น้ำท่วม อันเป็นการก่อการร้าย และฆาตกรรมชีวิตผู้คนเกินครึ่งพัน และ่ทำให้เกิดความเสียหาย อันมหาศาลที่สุด ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ภัยพิบัติของประเทศ  พวกท่านจะดำเนินการประการใด เพื่อให้มีการสอบสวนหาผู้มีส่วนทำให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งนี้ แล้วมีการลงโทษตามกฎหมายบ้านเมืองให้ถึงที่สุด

เก้า  การแก้ปัญหาด้วยการขออภัยโทษ เป็นสิ่งที่ดีสำหรับกรณีความผิดเล็กน้อยหรือการถูกใส่ร้ายทางการเมือง โดยที่ประชาชนผู้ใฝ่หาประชาธิปไตย ด้วยวิถีที่ได้รับการรับรองจากรัฐธรรมนูญและหลักสากลนั้น ไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างชัดเจน  แต่การก่อการกบถด้วยการล้มรัฐธรรมนูญของประชาชน การที่ผู้มีอำนาจและผู้ใช้อำนาจรัฐกระทำการผิดพลาด จนทำให้ประชาชนถูกฆ่าายอย่างโหดเหี้ยมนั้น เป็นสิ่งที่เลวร้ายเกินจะปล่อยให้จบไปโดยไม่มีการชำระสะสางคดี และไม่ควรได้รับการอภัยโทษอย่างยิ่ง  รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ มีนโยบายอย่างไรต่อคดีความที่เกี่ยวเนื่องด้วยฆาตกรในสายตามวลชน อย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และนายทหารที่มีส่วนฆ่าฟันประชาชน แกนนำพันธมิตรที่ยึดทำเนียบและสนามบิน ตลอดจนบรรดาผู้ก่อการร้ายชุดดำที่ถูกกล่าวหาแต่จับตัวมิได้โดยรัฐบาลอภิสิทธิ์

ในฐานะประชาชนผู้เสียภาษีอากรทั้งทางตรงและทางอ้อม  และในฐานะพลเมืองที่รักในประเทศไทย พวกเราขอให้ พณฯ นายกรัฐมนตรี และพณฯ ประธานสภา ได้ดำเนินการให้มีการตอบคำถามของประชาชนผู้ลงนามต่อท้ายจดหมายฉบับนี้ และผู้ที่ลงนามสนับสนุนจดหมายฉบับนี้ ไว้ ณ http://thai-ahr.org/petitions/ ในวันเวลาที่เหมาะสมอันใกล้นี้  พวกเราจะรอคอยคำตอบจากพวกท่านผ่านสื่อสารมวลชนต่าง ๆ ด้วยใจจดจ่อ

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ลงนามต่อท้าย ณ http://thai-ahr.org/petitions/

Wednesday, February 1, 2012

1911 การปฎิวัติของ ดร. ซุน ยัด เซ็น



1911 การปฎิวัติของ ดร. ซุน ยัด เซ็น

ภาพยนตร์ที่ต้องดู ซุน ยัด เซ็น และคณะก่อการปฎิวัติเริ่มทำการจากเมืองนอก ด้วยกลไกและเงื่อนไขการต่อสุ้ที่ไม่ต่างจากปัจจุบันมากมายนัก  พวกเขาชนะได้อย่างไร?  เราจะเอาอะไรมาเป็นบทเรียนได้บ้าง?

ตอนที่หนึ่ง http://www.dailymotion.com/video/xo8ow4_1911-yyy-y-yyyy-past-1_shortfilms#rel-page-under-4

ตอนที่สอง http://www.dailymotion.com/video/xo8xmj_1911-yyy-y-yyyy-past-2_shortfilms#rel-page-under-3

ตอนที่สาม http://www.dailymotion.com/video/xo92nu_1911-yyy-y-yyyy-past-3_shortfilms#rel-page-under-2

ตอนที่สี่ http://www.dailymotion.com/video/xo99y3_1911-yyy-y-yyyy-past-4_shortfilms#rel-page-under-1


ประวัติของนักปฎิวัติตัวจริง ซุน ยัด เซ็น
ขอบคุณการค้นคว้าของเมเนเจอร์


บุรุษผู้มีคำว่า "ปฏิวัติ" อยู่ในสายเลือด (1)
9 กันยายน 2547 08:10 น.
       หากบอกคนจีนว่ามาถึง 'หนานจิง' แล้ว ไม่ได้ไปเยือน สุสานซุนจงซาน (中山陵) แล้วละก็คงโดนหาว่ามาไม่ถึง หนานจิง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จัก 'ซุนจงซาน' สถานที่แห่งนี้คงจะไม่น่าดึงดูดใจเท่าไรนัก
        ..........................
        ซุนเหวิน (孙文) ซุนอี้เซียน (孙逸仙) ซุนเต๋อหมิง (孙德明) ซุนตี้เซี่ยง (孙帝象) จงซานเฉียว (中山樵) - - - ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของบุคคลเดียวกันที่คนไทยรู้จักกันในนามของ ดร.ซุนยัดเซ็น
       ซุนยัดเซ็น (ชื่อในจีนกลางคือ "ซุนจงซาน" ส่วนชื่อในวัยเด็กคือ "ซุนเหวิน") ผู้ได้ชื่อว่าบิดาว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยจีน เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1866 ในครอบครัวชาวนาที่ไม่ได้ร่ำรวยอะไรนักใน หมู่บ้านชุ่ยเฮิง (翠亨) อำเภอเซียงซาน มณฑลกวางตุ้ง ซุนยัดเซ็น เริ่มใช้แรงงานมาตั้งแต่อายุ 6 ขวบ จนเมื่อ 10 ขวบจึงมีโอกาสได้เรียนหนังสือในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง
    
        การต้องทำไร่นา ช่วยครอบครัวตั้งแต่เล็ก เป็นเหตุให้ ซุนยัดเซ็น นั้นเข้าใจความลำบากยากเข็ญของชาวนาเป็นอย่างดี
    
        ทั้งนี้ตั้งแต่ยังเด็ก ซุนยัดเซ็น ที่เกิดหลังกบฎไท่ผิง** ถูกปราบเพียง 2 ปี มีความสนใจในเรื่องราวของบ้านเมืองมาก โดยเฉพาะในตัวของ หงซิ่วฉวน (洪秀全) ผู้นำของ กบฎไท่ผิง กบฎชาวนาที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน โดยซุนเหวินนั้นยกให้ หงซิ่วฉวน เป็น "วีรบุรุษผู้ต่อต้านชิงคนที่ 1" และ ยกตัวเองให้เป็น "หงซิ่วฉวน คนที่ 2"
    
        ในปี ค.ศ.1879 เมื่ออายุได้ 13 ย่าง 14 ปีซุนยัดเซ็น มีโอกาสตามมารดาไปหา ซุนเหมย (孙眉) พี่ชาย ที่เมืองโฮโนลูลู บนเกาะฮาวาย และมีโอกาสได้เรียนหนังสือในโรงเรียนฝรั่ง นับได้ว่าซุนยัดเซ็นเป็นคนจีนกลุ่มแรกๆ ที่มีโอกาสไปศึกษาต่อยังตะวันตก และรับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมของชาวตะวันตกมาอย่างลึกซึ้ง ซึ่งส่งผลมายังความไม่เชื่อถือนักต่อลัทธิขงจื๊อแบบคนจีนทั่วไป
       ความใกล้ชิดต่อคริสตศาสนา และห่างไกลจากลัทธิขงจื๊อซึ่งครอบครัวยึดถือของซุนยัดเซ็น ทำให้พี่ชายกังวลจนถึงขั้นแจ้งข่าวให้ทางบ้านทราบ และส่งตัวน้องชายกลับบ้าน
    
       เมื่อเดินทางจากเมืองศิวิไลซ์กลับมาถึงบ้าน เมื่อ ค.ศ.1883 ซุนยัดเซ็น ก็ประกอบวีรกรรมห่ามขึ้นอย่างหนึ่งคือไปหักแขนเทวรูปไม้ที่ชาวบ้านว่าศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน ขณะที่ซุนเหวินเห็นว่าเทวรูปไม้ เป็นเพียงวัตถุไร้สาระที่ชาวบ้านงมงายอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อเกิดเป็นเรื่องวุ่นวาย เนื่องจากชาวบ้านโกรธแค้นอย่างมาก บิดาของซุนยัดเซ็นจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการส่งตัวลูกชายไปศึกษาต่อที่ฮ่องกง
    
       ที่ฮ่องกง ซุนยัดเซ็น เข้าศึกษาต่อในควีนสคอลเลจ โดยในเวลาต่อมาก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ แต่ซุนยัดเซ็นก็ยังยอมแต่งงานกับเจ้าสาวที่ทางบ้านเลือกให้ โดยในปี ค.ศ.1892 ซุนยัดเซ็น ก็จบการศึกษาจากวิทยาลัยการแพทย์ตะวันตกในฮ่องกง ด้วยคะแนนจากการสอบไล่เป็นอันดับหนึ่ง และกลายเป็น ดร.ซุนยัดเซ็น
    
       หลังเรียนจบ ดร.ซุน ก็เปิดคลีนิกแพทย์แผนตะวันตกขึ้นที่มาเก๊า และ กวางเจา (กว่างโจว) โดยในช่วงเวลานี้เองเขาก็เริ่มต้นชีวิตของการเคลื่อนไหวทางการเมือง
    
       ในปี ค.ศ.1894 ระหว่างการขึ้นไปยังปักกิ่งเมืองหลวง ดร.ซุน ได้ส่งจดหมายถึง หลี่หงจาง (李鸿章) ขุนนางคนสำคัญของราชสำนักชิงผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่เทียนจินเพื่อหารือเรื่องบ้านเมือง โดย ดร.ซุน ต้องการเสนอแนวทางการพัฒนาจีนให้กับหลี่หงจาง แต่กลับถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย
    
       เมื่อถูกปฏิเสธ ดร.ซุน จึงตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงจีนให้หลุดจากการปกครองของราชวงศ์ชิง นั้นมิสามารถทำได้ด้วยวิธีอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จำเป็นต้องกระทำการแบบ "พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน" อันหมายถึง "การใช้กำลังปฏิวัติ" ดังนั้น ในฤดูหนาว ปีเดียวกัน ดร.ซุน จึงเดินทางกลับไปยังฮาวาย รวบรวมชาวจีนโพ้นทะเลผู้รักชาติขึ้น 112 คน และตั้งขึ้นเป็น "สมาคมซิงจงฮุ่ย (兴中会)" ที่มีความหมายว่า "ฟื้นชีวิตประเทศจีน" ขึ้น ทั้งนี้เงินทุนสนับสนุนสมาคมดังกล่าวก็มาจาก ซุนเหมย นักธุรกิจชาวจีนผู้ร่ำรวย พี่ชายของ ดร.ซุน นั่นเอง
       อาจนับได้ว่า ซิงจงฮุ่ย เป็นหลักไมล์แรกๆ ของ นายแพทย์ผู้นี้ ในการปฏิวัติอย่างจริงๆ จังๆ เนื่องจากสมาชิกของสมาคมนี้ปฏิญาณตนว่า "ต้องขับแมนจู กอบกู้การปกครองของชาวจีนด้วยการสถาปนาสาธารณรัฐขึ้น" และในปีถัดมา (ค.ศ.1895) ดร.ซุน ก็กลับมาสร้างสาขาของสมาคมซิงจงฮุ่ยขึ้นที่ฮ่องกง
    
       ด้วยความรวดเร็ว ซิงจงฮุ่ย วางแผนการปฏิวัติในทันที และกำหนดเอาวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ.1895 เป็นวันลงมือ โดยแผนการดังกล่าวนั้น ใช้กำลังคน 3,000 คน เพื่อยึดเมืองกวางเจา เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง เพื่อใช้เป็นฐานในการขยายการปฏิวัติต่อไป โดยในการปฏิวัติดังกล่าว ลู่เฮ่าตง เพื่อนสนิทตั้งแต่ยังเด็กผู้เชื่อมั่นในอุดมการณ์ปฏิวัติของ ดร.ซุน ได้ออกแบบ ธง "ฟ้าสีน้ำเงินกับดวงตะวันสีขาว" ไว้ใช้ด้วย (ในเวลาต่อมาธงดังกล่าวได้กลายเป็นธงชาติของสาธารณรัฐจีน)
    
       อย่างไรก็ตาม การลงมือปฏิวัติครั้งแรกของ ดร.ซุน กลับล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า เนื่องจากมีคนทรยศ นำข่าวไปบอกกับเจ้าหน้าที่ของราชสำนักชิงก่อน ซึ่งก็ทำให้ผู้ร่วมปฏิวัติถูกประหารชีวิตไป 47 คน รวมถึง ลู่เฮ่าตง ด้วย ส่วนดร.ซุน ซึ่งไหวตัวทันก่อน จึงหนีประกาศจับของราชสำนักชิงไปหลบไปเกาะฮ่องกง เพื่อผ่านไปยังประเทศญี่ปุ่น
    
       หลังจากตั้ง สาขาซิงจงฮุ่ย ขึ้นที่ญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน ค.ศ.1896 ดร.ซุน ก็เดินทางต่อไปยังสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เพื่อศึกษาแนวคิดทางการเมืองของประเทศต่างๆ ในสหรัฐฯ และ ยุโรป โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ดร.เจมส์ แคนต์ลี (Dr. James CantLie) อาจารย์ชาวอังกฤษที่เคยสอนเขา ณ วิทยาลัยการแพทย์ในฮ่องกง และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากพี่ชายคนเดิม
    
       วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ.1896 ระหว่างการเดินไปตามท้องถนนในกรุงลอนดอน ดร.ซุนก็ถูกลักพาตัว เข้าไปยังสถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอน เพื่อส่งตัวลงเรือจากลอนดอนกลับไปยังจีนเพื่อ 'ตัดหัว' เนื่องจากราชสำนักชิงนั้นตั้งค่าหัวของเขาไว้ 7,000 ปอนด์ ในฐานะกบฎ หรือไม่ถ้าการลอบพาตัว ดร.ซุน กลับไปจีนไม่สำเร็จก็จะสังหารเสียที่ สถานทูตจีนที่ลอนดอนนั้นเอง
    
       อย่างไรก็ตามด้วยความช่วยเหลือจาก พนักงาน ชาวอังกฤษในสถานทูต ที่ส่งข่าวไปให้ ดร.แคนต์ลี อาจารย์แพทย์ผู้ชิดเชื้อกับ ดร.ซุน ดร.แคนต์ลีก็ทำการช่วยเหลือศิษย์ทุกวิถีทาง โดยทางหนึ่งติดต่อไปยัง สก๊อตแลนด์ยาร์ด เมื่อไม่ได้ผลจึงประโคมข่าวผ่านทางหนังสือพิมพ์เดอะ โกลบ ที่ลงพาดหัวว่า "นักปฏิวัติจีนถูกลักพาตัวในลอนดอน!"
       ข่าวดังกล่าวเป็นกระแสในหมู่คนอังกฤษ และกดดันให้รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษต้องติดต่อไปยังสถานทูตจีนเพื่อเจรจา จนสุดท้ายสถานทูตจีนในลอนดอนต้องปล่อยตัว ดร.ซุน ออกมาหลังจากกักตัวไว้นาน 12 วัน ซึ่งในตอนหลัง ดร.ซุนได้นำเหตุการณ์ตอนนี้มาเขียนโดยละเอียดโดยใช้ชื่อว่า Kidnapped in London
    
       "วันนั้นผมวางแผนว่าจะไปหา ดร.แคนต์ลี หลังจากลงรถประจำทางที่จัตุรัสอ๊อกซ์ฟอร์ด ผมก็เดินต่อไปยังย่านพอร์ตแลนด์ เป็นเส้นทางปกติที่ผมเดินอยู่ ประมาณ 10 โมงครึ่งหรือ 11 โมงได้ ผมก็ถึงย่านพอร์ตแลนด์ แล้วก็พบ 'เติ้ง' - - - ก่อนหน้านั้นผมกับเขา (เติ้ง ในขณะนั้นมีตำแหน่ง คือ ล่ามของสถานทูตจีน) ไม่รู้จักกันมาก่อน ผมเพิ่งเจอเขาโดยบังเอิญบนถนนนั่นแหละ
       "เขาเดินเข้ามาข้างผมแล้วก็ถามว่าผมคือ คนญี่ปุ่นหรือคนจีน ผมจึงตอบไปว่าผมเป็นคนจีน เขาก็ถามต่อว่าผมมาจากไหน ผมก็ตอบไปว่า ผมเป็นคนกวางตุ้ง เราก็ถามชื่อแซ่กันและกัน ผมบอกว่าผมแซ่ซุน ส่วนเขาบอกว่าเขาแซ่เติ้ง .... เราเดินไปคุยไปช้าๆ พอใกล้ย่านสถานทูตสักพักก็มีคนจีนอีกคนออกมา ..." ดร.ซุนยัดเซ็น เล่าให้นักข่าวอังกฤษฟังหลังจากถูกปล่อยตัวออกมา
    
       หลังจากรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ที่เกือบถึงแก่ชีวิต ดร.ซุน ก็ขลุกตัวอยู่ในห้องสมุดของบริติชมิวเซียมเป็นเวลาถึง 9 เดือนเศษ จากนั้นถึงเดินทางมายังแผ่นดินยุโรป เพื่อศึกษาถึงแนวทางการเมืองของสังคมโลกในขณะนั้น โดยเฉพาะแนวโน้มในการปฏิรูป ปฏิวัติ รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ จนในที่สุด ปี ค.ศ.1897 เขาจึงพัฒนาแนวคิดที่ว่าด้วยการปฏิวัติสังคม อันต่อเนื่องกันกับการปฏิวัติชาติกับประชาธิปไตยที่คิดไว้ก่อน
    
       แนวคิดดังกล่าวคือพื้นฐานของ ลัทธิไตรราษฎร์ (三民主义) อันประกอบด้วย ชาตินิยม (民族), ประชาธิปไตย (民权) และ สังคมนิยม (民生) แนวคิดที่ต่อมาได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานที่ยึดถือในการปฏิวัติของจีนตลอดระยะเวลาหลายสิบปี
    
       หมายเหตุ :
       *ปัจจุบันอำเภอเซียงซาน กลายเป็น เมืองจงซาน (中山市) โดยชื่อ อำเภอเซียงซาน นั้นถูกเปลี่ยนมาเป็น อำเภอจงซาน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1925 เพื่อไว้อาลัยแด่ ดร.ซุนยัดเซ็นที่เสียชีวิตไปในปีนั้น
       **กบฎไท่ผิง (太平天国; ค.ศ.1850-1864) หรือ "เมืองแมนแดนมหาสันติ" เป็นกบฎชาวนาที่นำโดย ชาวนาที่ชื่อว่า หงซิ่วฉวน ผู้นับถือศาสนาคริสต์ และมีความต้องการล้มล้างราชวงศ์ชิงที่กดขี่ชาวนา เพื่อสร้างอาณาจักรแห่งสันติสุขขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมา กบฎไท่ผิงก็ยึดอำนาจได้จริงๆ ที่ เมืองหนานจิง ในปี ค.ศ.1853 โดยเปลี่ยนชื่อหนานจิงเป็น เมืองหลวงสวรรค์ (เทียนจิง:天京) แต่สุดท้ายในปี ค.ศ.1864 ก็ต้องพ่ายแพ้ให้กับกองทัพของฮ่องเต้ชิง (อ่านเพิ่มเติม : หนังสือประวัติศาสตร์จีน โดย ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.2542 บทที่ 20 หน้า 584-606)
    
       ประวัติของ ดร.ซุนยัดเซ็น เรียบเรียงมาจาก :
       1.หนังสือ ประวัติศาสตร์จีนยุคใกล้และยุคปัจจุบัน (中国近现代历史概要) โดย ตู้จื้อจุน ของมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง บทที่ 9-11
       2.หนังสือประวัติศาสตร์จีน โดย ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.2542 บทที่ 20 หน้าที่ 739-771
       3.หนังสือที่สุดของเมืองจีน โดย สุขสันต์ วิเวกเมธากร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2543 หน้าที่ 83-87
       4.หนังสือ 孙中山在说 (2004) โดย ซุนจงซาน สำนักพิมพ์ตงฟัง
    
       ทั้งนี้หนังสือทั้ง 4 เล่มให้ข้อมูลบางประการเกี่ยวกับ ดร.ซุนยัดเซ็น คลาดเคลื่อนกัน ดังนั้นข้อมูลในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนจึงอ้างอิงจาก เล่มที่สี่ เป็นหลัก และเสริมข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสืออีกสามเล่ม


พิมพ์จาก http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9470000047972
เวลา 2 กุมภาพันธ์ 2555 04:46 น.
บุรุษผู้มีคำว่า "ปฏิวัติ" อยู่ในสายเลือด (2)
16 กันยายน 2547 08:07 น.
       "ระบบของจีน รวมถึงรัฐบาลจีน ในปัจจุบันไม่สามารถปฏิรูปอะไรได้อีกแล้ว และก็ไม่อาจทำการปฏิวัติอะไรได้ด้วย ทำได้ก็แต่เพียงโค่นล้ม" - ดร.ซุนยัดเซ็น ค.ศ.1897
    
        ระหว่างที่ ดร.ซุน เคลื่อนไหวเพื่อสร้างกระแสการปฏิวัติจีนนั้น ในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศจีนก็มีความเคลื่อนไหวจากคนกลุ่มต่างๆ ด้วยเช่นกัน เพียงแต่กลุ่มอื่นนั้นเป็นเป็นเพียงกลุ่มที่กระจุกแต่เพียงในพื้นที่นั้นๆ มิได้มีการคิดการใหญ่ซึ่งครอบคลุมไปทั่วประเทศ และที่สำคัญไม่มีหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติที่แน่ชัด ดังเช่น ลัทธิไตรราษฎร์ ของ ดร.ซุน
    
        จนในเดือน สิงหาคม ปี ค.ศ.1905 ก็มีการประกาศรวมกลุ่มผู้สนับสนุนการปฏิวัติจีนที่ชื่อ สมาคมพันธมิตรปฏิวัติจีน (จงกั๋วถงเหมิงฮุ่ย:中国同盟会) ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดย 'ถงเหมิงฮุ่ย' นี้มีจุดมุ่งหมายในการปฏิวัติล้มราชวงศ์ชิง โดยยึดหลักการของลัทธิไตรราษฎร์ โดยศูนย์กลางของถงเหมิงฮุ่ยนั้น อยู่ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
    
        ช่วงก่อนหน้าที่ 'ถงเหมิงฮุ่ย' จะเกิดขึ้นนั้น ทางฝั่งราชสำนักจีนที่ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น-ชาติตะวันตก และปล่อยให้กบฎนักมวยออกมาสร้างความวุ่นวายในปักกิ่ง กำลังตกอยู่ในสถานะแพ้สงครามให้กับกองทัพมหาอำนาจพันธมิตร 8 ประเทศ จนต้องมีการลงนามในสนธิสัญญาที่เรียกว่า Boxer Protocol (辛丑条约; ลงนามในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ.1901) เพื่อยืนยันว่า จีนยินยอมชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล ก็กำลังพยายามทำการปฏิรูปทางการปกครองประเทศ การทหาร อยู่เช่นกัน โดยมีการส่งคนไปศึกษายังต่างประเทศเพื่อเตรียมประกาศรัฐธรรมนูญ (ระบบการสอบจอหงวนก็สิ้นสุดลงในช่วงนี้ และ การสะสมกำลังทหารเพื่อสร้างเป็นกองทัพของหยวนซื่อไข่ก็เกิดขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน)
    
        อย่างไรก็ตาม ดังเช่น ที่ ดร.ซุนกล่าวไว้ถึง ความสิ้นหวังต่อระบอบกษัตริย์ การปฏิรูปที่ราชสำนักชิงพยายามทำนั้น ในสายตาของประชาชนกลับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และยิ่งเป็นการเหยียบย่ำซ้ำเติมให้ทุกข์ยากยิ่งขึ้นไปอีก
    
        จากกระแสความไม่พอใจของประชาชนต่อราชสำนักชิงที่พุ่งขึ้นสูง ส่งผลให้ภายในระยะเวลาแค่หนึ่งปี ถงเหมิงฮุ่ย รวบรวมสมาชิกได้มากกว่าหมื่นคน มีการเปิดหนังสือพิมพ์เพื่อ ปลุกระดม และเผยแพร่ ลัทธิไตรราษฎร์ และที่สำคัญพยายามลงมือกระทำการปฏิวัติต่อเนื่อง
    
        นับแต่ปี ค.ศ.1907 ถงเหมิงฮุ่ย ทำการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิวัติในพื้นที่ภาคใต้ของจีนสิบกว่าครั้ง ก่อนจะสำเร็จที่สุดในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ.1911 ที่ อู่ชาง มณฑลหูเป่ย
    
        การปฏิวัติครั้งประวัติศาสตร์ เริ่มกระทำการอย่างเร่งด่วนในคืนวันที่ 10 ตุลาคม โดย ทหารสมาชิกพรรคปฏิวัติในกองทัพใหม่ที่ประจำการอยู่ภายในเมืองอู่ชางซึ่งนำโดยผู้บังคับการที่ชื่อว่า หลีหยวนหง (黎元洪) แต่ปราศจากผู้นำของ 'ถงเหมิงฮุ่ย' คอยสั่งการแม้แต่คนเดียว เนื่องจากแผนปฏิวัติรั่วไหลไปเข้าหูทางการเข้า
    
        เหตุการณ์ในครั้งนั้นเรียกกันว่า การก่อการอู่ชาง (武昌起义) หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า สองสิบ (双十) เนื่องจากเกิดขึ้นในวันที่ 10 เดือน 10 (ปัจจุบันชาวไต้หวันยังถือเอาวันนี้เป็นวันชาติอยู่ ขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่ถือเอาวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันชาติ) ส่วนชื่อทางการของการปฏิวัตินั้นเรียกว่า การปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) เนื่องจากตามปฏิทินจันทรคตินั้นเป็น ปี ค.ศ.1911 ชาวจีนเรียกว่าปีซินไฮ่
    
        ประกายไฟแห่งความสำเร็จของการก่อการที่อู่ชาง ปลุกให้เกิดการปฏิวัติทั่วประเทศจีน โดยในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1911 มีถึง 14 มณฑล จากทั้งหมด 24 มณฑลของจีนที่ประกาศปลดปล่อยตัวเองออกจากการปกครองของรัฐบาลชิงที่ปักกิ่ง
    
        การปฏิวัติซินไฮ่นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สองพันปีที่จีนหลุดพ้นออกจากระบอบการปกครองของกษัตริย์ และ ก้าวเท้าเข้าสู่เส้นทางของการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยในวันคริสต์มาสของปี ค.ศ.1911 ดร.ซุน ก็กลับมาถึงเซี่ยงไฮ้จากต่างประเทศ และจากมติของตัวแทนสมาชิกที่ร่วมปฏิวัติจากทั่วประเทศจีนก็เลือกเอา ดร.ซุนยัดเซ็นเป็น ประธานาธิบดีชั่วคราวของ สาธารณรัฐจีน (中华民国) โดยถือเอาวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1912 เป็นปีแรกของสาธารณรัฐ และจัดตั้งรัฐบาลขึ้นที่ เมืองหนานจิง
    
        ทั้งนี้เมื่อการปฏิวัติสำเร็จ ดร.ซุน ได้กล่าวไว้ประโยคหนึ่งว่า "ผู้ใดที่กล้าขุดระบอบกษัตริย์ขึ้นมา (ในจีน) คนทั่วแผ่นดินจะร่วมกันลุกขึ้นคัดค้าน"
    
        จากความพยายามอยู่หลายสิบปี แม้การปฏิวัติจะสำเร็จลงในที่สุด แต่รัฐบาลชั่วคราวที่หนานจิง ที่นำโดย ดร.ซุน ก็ประสบปัญหาที่รุมเร้า อย่างเช่น ภาวะการคลังของจีนที่ขาดดุลเรื้อรังมาตั้งแต่สมัยปกครองโดยราชวงศ์ชิง โดยเฉพาะการต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามให้กับต่างชาติตามสนธิสัญญาที่เรียกว่า Boxer Protocol, โครงสร้างในการปกครองที่ยังไม่ลงตัว, ฮ่องเต้จีนองค์สุดท้ายที่คงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังต้องห้าม และที่จุดอ่อนที่สำคัญมากสำหรับรัฐบาลๆ หนึ่งคือ การขาดกำลังทหาร!
    
        หลังสิ้นยุคของซูสีไทเฮา หยวนซื่อไข่ หรือ หยวนซื่อข่าย (袁世凯) ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งลัทธิขุนศึก" ก็ขึ้นมากุมกองกำลังทหารทั้งหมดของภาคเหนือ และในเวลาต่อมากดดันให้ ดร.ซุน ต้องยอมยกตำแหน่งประธานาธิบดีให้ โดยหลังจากลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราว ดร.ซุน หันไปทุ่มเทให้กับการศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจจีนแทน
    
        หลังจากการก่อการที่อู่ชาง ได้ไม่กี่เดือน อำนาจในการปกครองที่ควรจะเป็นของประชาชนจีนทั้งมวล ก็กลับมารวมกันอยู่ในมือคนเพียงคนเดียวที่ชื่อ หยวนซื่อไข่ อีกครั้ง ซึ่งก็เป็นดังคาด หยวน ไม่ยอมละทิ้งระบอบกษัตริย์โดยพยายามตั้งตัวเป็น "ฮ่องเต้" แต่สุดท้ายฮ่องเต้หยวนซื่อไข่ก็ไปไม่รอดตามคำสาปแช่งที่ ดร.ซุน เคยกล่าวไว้ก่อนหน้า
    
        ค.ศ.1916 เมื่อ หยวนซื่อไข่ เสียชีวิตลงด้วยโลหิตเป็นพิษ ประเทศจีนก็ย่างเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายที่เรียกว่า "ยุคขุนศึกภาคเหนือ (北洋军阀时期; 1912-1928)" อย่างเต็มตัว
    
        นับจากเริ่มก่อตั้ง สมาคมซิงจงฮุ่ย ในปี ค.ศ.1894 ภารกิจในการปฏิวัติที่ดำเนินมานานกว่า 20 ปี ที่ควรจะเสร็จสิ้นเพื่อนำประเทศจีนเข้าสู่ยุคแห่งการสร้างชาติขึ้นใหม่ของ ดร.ซุนยัดเซ็น สุดท้ายก็ยังไม่สัมฤทธิ์ผล ซ้ำร้ายประเทศจีนยังตกอยู่ในสภาวะที่ต่างชาติต้องการหาตัวแทนเป็นขุนศึก เพื่อแบ่งจีนออกเป็นส่วนๆ เพื่อหาผลประโยชน์
    
        หลังความล้มเหลวดังกล่าว ส่งให้กำลังใจของนักปฏิวัติผู้นี้แทบไม่มีเหลือ จนครั้งหนึ่งถึงกับรำพึงกับคนสนิทว่า "บางทียุคสาธารณรัฐ อาจจะย่ำแย่กว่ายุคที่จีนปกครองด้วยระบอบกษัตริย์เสียด้วยซ้ำ"
    
        อย่างไรก็ตามด้วยความมุ่งมั่นในการประกอบภารกิจที่ยังไม่สำเร็จ ดร.ซุน ก็ยังพยายามโค่นเหล่าขุนศึกภาคเหนือต่อไป โดยต่อมาหลังจากเหตุการณ์ 4 พฤษภาคม ค.ศ.1919 (五四运动) ก็ร่วมก่อตั้ง พรรคก๊กมินตั๋ง (จงกั๋วกั๋วหมินตั่ง:中国国民党) ขึ้น ซึ่งต่อมามีความร่วมมือกับ พรรคคอมมิวนิสต์จีน (ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1921)
    
        แต่สุดท้ายแล้ว ดร.ซุน ก็อยู่ไม่ทันเห็นผลจากความพยายามชั่วชีวิตของตน เนื่องจาก เสียชีวิตด้วยสาเหตุจากโรงมะเร็งตับที่ปักกิ่งเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ.1925 ระหว่างการเยือนปักกิ่งเพื่อมาหารือกับขุนศึกแห่งภาคเหนือ
    
        ก่อนเสียชีวิต ดร.ซุนได้ทิ้งคำสั่งเสียไว้โดยมีใจความสำคัญว่า "... จีนต้องการอิสระและความเท่าเทียมกันจากนานาชาติ ประสบการณ์ 40 ปีที่ผ่านมาของข้าพเจ้า สอนข้าพเจ้าว่า ในการบรรลุเป้าหมายในการปฏิวัติ เราจะต้องปลุกประชาชนให้ตื่นขึ้นมา ...... การปฏิวัติยังไม่เสร็จสิ้น ขอให้สหายทั้งหลายของเราดำเนินการตามแผนการของข้าพเจ้าต่อไปเพื่อฟื้นฟูบูรณะชาติของเราขึ้นมา" (หมายเหตุ : คำสั่งเสียดังกล่าวบันทึกโดย วังจิงเว่ย (汪精卫) คนสนิทของ ดร.ซุน ที่ต่อมาขึ้นมาเป็นหนึ่งในผู้นำของพรรคก๊กมินตั๋ง สามารถหาอ่านข้อความเต็มได้จาก หนังสือประวัติศาสตร์จีน โดย ทวีป วรดิลก บนที่ 24 หน้าที่ 882-883)
    
        หลังจากเสียชีวิต ศพของ ดร.ซุนยัดเซ็น ถูกนำไปตั้งไว้ชั่วคราวที่ วัดเมฆหยก (ปี้หยุนซื่อ:碧云寺) ตีนเขา เซียงซาน บริเวณเทือกเขาด้านตะวันตก (ซีซาน:西山) ชานกรุงปักกิ่ง เพื่อรอเวลาในการสร้าง สุสานซุนจงซาน ที่หนานจิงให้เสร็จสิ้น (ทั้งนี้ "ซีซาน" อันเป็นสถานที่ตั้งศพชั่วคราวของ ดร.ซุน นี้ในเวลาต่อมาระหว่างการแย่งอำนาจในพรรคก๊กมินตั๋ง สมาชิกก๊กมินตั๋งกลุ่มขวาเก่า ได้นำมาตั้งเป็นชื่อกลุ่มว่า "กลุ่มซีซาน" เพื่อแสดงความใกล้ชิด และแสดงว่าตนเป็นทายาทของ ดร.ซุนที่แท้จริง)
        ............................
        ที่หนานจิง สุสานซุนจงซาน (中山陵) อันตั้งอยู่บริเวณเนินทางทิศใต้ของของภูเขาจงซาน เริ่มสร้างใน เดือนมกราคม ค.ศ.1926 และเสร็จสิ้นในฤดูใบไม้ผลิ ปี ค.ศ.1929 โดยศพของ ดร.ซุนยัดเซ็น นั้นถูกย้ายจากปักกิ่งมาตั้งไว้ ณ สุสานแห่งนี้เมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ.1929
    
        มีการกล่าวถึงสาเหตุที่การสร้างสุสาน ดร.ซุนยัดเซ็น ณ บริเวณนี้ว่า ครั้งหนึ่ง ดร.ซุน เคยมาเยี่ยมเยือนบริเวณนี้ เมื่อสังเกตเห็นว่า เนินทางทิศใต้ของภูเขาจงซาน มีทัศนียภาพที่งดงาม และชัยภูมิที่ดีจึงเปรยเล่นๆ กับผู้ติดตามว่า เหมาะกับการสร้างสุสานของตน อย่างไรก็ตาม การเปรยเล่นๆ ดังกล่าวกลับมีผู้จดบันทึกเอาไว้
    
        ปัจจุบัน สุสานซุนจงซาน มีขนาดใหญ่โตกว่า สุสานหมิง ที่อยู่ข้างๆ อย่างเห็นได้ชัด โดยมีขนาดพื้นที่กว้างขวางถึง 8 หมื่นตารางเมตร โดย สุสานถูกออกแบบและสร้างให้เป็น ทางเดินหินลาดขึ้นไปตามเนินเขาที่ยาวกว่า 323 เมตร กว้าง 70 เมตร
    
        ประตูใหญ่ของสุสาน สร้างจากหินอ่อนขาวที่นำมาจากมณฑลฝูเจี้ยน ขณะที่หลังคาเป็นกระเบื้องออกแบบเป็นสีน้ำเงินคราม - - - สีขาว-น้ำเงินคราม อันเป็นสีธงประจำพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งหากสังเกตดูดีๆ แล้ว อาคารทั้งหมดของ สุสานซุนจงซาน ก็ออกแบบในโทน สีขาว-น้ำเงิน นี้
    
        เหนืออาคารแรกถัดจากประตูใหญ่ ผู้มาเยือนจะพบลายมือของ ดร.ซุน ที่เขียนเอาไว้ว่า " แผ่นดินเป็นของประชาชน (เทียนเซี่ยเหวยกง:天下为公)"
    
        อาคารหลังสุดท้ายของสุสานซุนจงซาน เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่ครอบสุสานเอาไว้ ด้านหน้ามีตัวหนังสือเขียนเรียงไว้ว่า ชาตินิยม (民族), ประชาธิปไตย (民权) และ สังคมนิยม (民生) อันประกอบเป็น ลัทธิไตรราษฎร์ ที่ ดร.ซุน บัญญัติขึ้น
    
        ภายในอาคารมีรูปปั้นในท่านั่งของ ดร.ซุนยัดเซ็น ผลงานของ Paul Landowski ประติมากรชาวฝรั่งเศสขณะที่ผนังโดยรอบก็สลักไว้ด้วย "หลักการพื้นฐานในการสร้างชาติโดยสังเขป ของ ดร.ซุน" โดยเมื่อเดินผ่านเข้าไปหลักรูปปั้นนั่ง ก็จะพบกับห้องวงกลมอันเป็นห้องเก็บศพ โดยบนโลงศพนั้นประดับไว้ด้วยรูปปั้นขนาดเท่าตัวจริงของ ดร.ซุนเอง ที่ปั้นโดยศิลปินชาวเชก
    
        ในปัจจุบันหรือในอนาคต ไม่ว่าจีนแผ่นดินใหญ่ กับ จีนไต้หวัน จะมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบใด สิ่งแน่ใจได้ประการหนึ่งก็คือ บุรุษผู้ตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางชีวิตจาก 'นายแพทย์ผู้รักษาชีวิตคน' มาเป็น 'นักปฏิวัติผู้ช่วยชีวิตประเทศจีน' ผู้นี้ คงเป็นบุคคลเพียงคนเดียวที่ทั้งชาวจีนทั้งสองฝั่งกล่าวได้เต็มปากว่า หากไม่มีเขาก็อาจไม่มีประเทศจีนในวันนี้
    
       อ่านเพิ่มเติม : บทความอื่นๆ จากคอลัมน์ริมจัตุรัสที่เกี่ยวข้องกับ ดร.ซุนยัดเซ็น
       - เที่ยวสือช่าไห่ แวะบ้าน "ซ่งชิ่งหลิง" ตอนที่ 2 และ ตอนที่ 3 (19 พ.ค. และ 27 พ.ค. 2547)
    
       ประวัติของ ดร.ซุนยัดเซ็น เรียบเรียงมาจาก :
       1.หนังสือ ประวัติศาสตร์จีนยุคใกล้และยุคปัจจุบัน (中国近现代历史概要) โดย ตู้จื้อจุน ของมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง บทที่ 9-11
       2.หนังสือประวัติศาสตร์จีน โดย ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.2542 บทที่ 20 หน้าที่ 739-771 และ บทที่ 2 หน้า 877-913
       3.หนังสือที่สุดของเมืองจีน โดย สุขสันต์ วิเวกเมธากร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2543 หน้าที่ 83-87
       4.หนังสือ 孙中山在说 (2004) โดย ซุนจงซาน สำนักพิมพ์ตงฟัง
    
        ทั้งนี้หนังสือทั้ง 4 เล่มให้ข้อมูลบางประการเกี่ยวกับ ดร.ซุนยัดเซ็น คลาดเคลื่อนกัน ดังนั้นข้อมูลในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนจึงอ้างอิงจาก เล่มที่สี่ เป็นหลัก และเสริมข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสืออีกสามเล่ม


พิมพ์จาก http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9470000051649