มีพี่น้องผู้อ่านทางบ้านได้อ่านเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญของไทย ที่ผมวิเคราะห์ไว้ในตอนที่ ๓ แล้วบอกว่ายาวไปอ่านไม่ไหว
ผม จึงต้องขอกราบ ขออภัยด้วย และขอกราบเรียนว่า ผม จะเขียนให้มันสั้นไม่ได้เพราะผม มีเหตุผลของผมดังนี้:
๑. ที่ลงสั้นๆไม่ได้ เพราะผมต้องการให้คนไทย ได้อ่าน ได้เห็นหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ในระบบกฏหมาย ที่เขาใช้ในระบบกฏหมายลายลักษณ์อักษร
๒. แล้วเปรียบเทียบ กับ ร่างรัฐธรรมนูญของเรา เมื่อนายบวรศาก นักกฏหมายหญ่าย ร่างเสร็จ แล้วนำเสนอเข้าไปในสภาปฏิรูปฯ
๓. แล้วมีการขอให้ทำประชามติโดยปวงชน ตรงนี้ผม ต้องขอถาม ด้วยคำถามว่าว่า มีข้อเรียกร้องติดมา กับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ของไทย ใช่หรือไม่?
๔. คำตอบ ก็คือ มี นี่คือข้อเรียกร้อง ที่ติดมาด้วยกับ ร่างรัฐธรรมนูญ
๕. เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทำให้ร่างรัฐธรรมนูญ ที่นำเสนอมา ย่อมต้องตกเป็นโมฆะไปในทันที ตามกฏเกณฑ์ของ กฏหมาย ที่ผมนำมาลงให้ดูนี้
๖. ยิ่งไปแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เพื่อให้ไปรองรับ การทำประชามติ ตามมาด้วย มันเป็นเรื่อง ที่เลอะเทอะไปกันใหญ่ และ
๗. คนไทยส่วนใหญ่ ก็ไม่รู้ว่านี่ คือ การก้าวล่วงเข้าไปทำผิด กฏเกณฑ์สำคัญ ในการร่างรัฐธรรมนูญ ในระบบกฏหมายลายลักษณ์อักษร และ
๘. ยิ่งทำให้เกิดความ เป็นโมฆะไปกันใหญ่ ขอให้พี่น้องชาวไทย ทั้งหลาย โปรดพิจารณากันด้วย ตรงจุดสำคัญนี้
๙. เมื่อร่างรัฐธรรมนูญ ตกเป็นโมฆะแล้ว คุณ ว่ามีความจำเป็นหรือไม่? และเพียงใด? ต่อการนำร่างรัฐธรรมนูญ ที่เป็นโมฆะ ไปให้ประชาชน คนไทย ลงประชามติ
๑๐. คุณคิดว่า:
๑๐.๑. เขา ดูถูก ความเฉลียวฉลาด และ ความเป็นคนไทย หรือไม่?
๑๐.๒. เขา กำลังดูถูก ดูหมิ่นคนไทยทั้งหลายว่า โง่เง่า เตาตุ่นหรือไม่?
๑๐.๓. เขา ดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของเรา ที่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปีค.ศ.1948 ที่ได้บัญญัติรับรองว่า คนไทย ก็มีเหมือนพี่น้องร่วมโลกใบนี้ ในประเทศอื่นๆ หรือไม่?
๑๑.ผมต้องขอให้พี่น้องคนไทย ที่ได้อ่านข้อเขียนี้ ช่วยกันพิจารณา โดยถ่องแท้ด้วย.