ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Tuesday, March 31, 2015

การค้ามนุษย์ข้ามชาติ (the Human Trafficking on Transnational Plane)

การค้ามนุษย์ข้ามชาติ (the Human Trafficking on Transnational Plane)

๑. เมื่อเราพูด หรือ กล่าวถึง “การค้ามนุษย์ข้ามชาติ” นั้น เท่าที่ปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์มนุษย์นั้น เริ่มมาจากปีค.ศ. ๑๒๐๐ จนถึงปีค.ศ. ๑๕๐๐ ประเทศแรกที่บัญญัติให้ “การค้ามนุษย์ข้ามชาติ เป็นความผิดต่อกฏหมาย” ก็คือประเทศอังกฤษ ในขณะนั้น อังกฤษเริ่มเป็น และต่อมาได้เป็นชาติมหาอำนาจทางทะเล ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า การค้ามนุษย์ว่า เป็น“การค้าทาส” (Trading on Slavery) โดยอังกฤษ อ้างเอาข้อห้าม มิให้มีการค้าทาส มาจากหลักในทางศาสนา ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการไปไล่จับคนในทวีปอาฟริกา พรากเขามาจากแผ่นดินแม่ของเขา เพื่อเอาไปเป็นทาสใช้แรงงานในอาณานิคมทั้ง ๑๓ แห่งบนทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไปใช้เป็นแรงงานในไร่ฝ้าย เพื่อเก็บฝ้ายในมลรัฐทางใต้ของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น ยังดำรงสถานะเป็นอาณานิคมของอังกฤษ (จากบทความเรื่อง Transnational regimes for combating in persons: Reflections on the UN Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons, Dr. Emmanuel Obuah, Assistant Professor, Department of Behavioral Sciences, Alabama A&M University)
๒. ในเวลาต่อมา เราก็ได้เห็น ข้อห้ามมิให้มีการค้าทาส เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นในสนธิสัญญาสองฝ่าย หรือ ทวิภาคี (Bilateral Treaty) ในระหว่างสหรัฐอเมริกา กับอังกฤษ ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในสนธิสัญญาสงบศึกระหว่าง สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ในสงครามประกาศอิสรภาพของสหรัฐ ที่ลงนามกันที่กรุงปารีส ที่เรียกว่า “The Paris Treaty of September 30, 1783” ที่ท่านผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายอาจค้นคว้าผ่านเครื่องอ่านของกูเกิ้ล โดยพิมพ์วลีว่า “Avalon Project” แล้วพิมพ์ชื่อสนธิสัญญานี้ใส่บนมุมขวาของหน้าแรกของ “Avalon Project” ท่านก็สามารถ Download เอาสนธิสัญญานี้มาศึกษาได้โดยละเอียด
๓.ในปีค.ศ. 1814 อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาสองฝ่าย “ห้ามทำการค้าทาส ทางเรือ” ทั้งนี้ เพื่อป้องกัน มิให้มีการนำ ทาสผิวดำจากทวีปอาฟริกาเข้าสู่มลรัฐทางใต้ ของสหรัฐอเมริกา เพื่อไปทำงาน เป็นทาสแรงงานในไร่ฝ้าย สนธิสัญญานี้ลงนามกัน ที่เมือง Ghent ประเทศเบลเยี่ยม ในวันที่ 24 ธันวาคม ปีค.ศ. 1814 คู่ภาคีสนธิสัญญาฉบับนี้ ต่างตกลงกัน ตามสนธิสัญญานี้ ที่จะแลกเปลี่ยนสัตยาบัน ภายในเวลา สี่เดือนนับแต่วันที่ได้ลงนามในสนธิสัญญานี้ ที่ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เราเรียกสนธิสัญญานี้ว่า “Treaty of Ghent, 1814”
๔. ต่อมาในปีค.ศ. 1842 เมื่ออังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ตกลงกันในเรื่องเส้นเขตแดนระหว่างรัฐเมนของสหรัฐอเมริกา กับแคนนาดา (ประเทศ หรือ ดินแดนในอารักขาของอังกฤษ ) อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ก็ได้มีการทำสนธิสัญญากันในชื่อว่า “The Webster – Ashburton Treaty, 1842 สนธิสัญญาฉบับนี้ มีการแลกเปลี่ยนตราสาร เพื่อให้บังคับตามสนธิสัญญา เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ปีค.ศ. ๑๘๔๒ และให้มีผล เป็นการประกาศบังคับใช้ในระหว่างรัฐคู่ภาคีในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ปีค.ศ. ๑๘๔๒ ความในสนธิสัญญาฉบับนี้ นอกจากจะมีข้อสนธิสัญญาผูกพันกันในเรื่องดินแดน ยังประสงค์ที่จะผูกพันบังคับกันในเรื่อง การส่งผู้ร้ายข้ามแดน และในเรื่องข้อห้ามการค้าทาสทางทะเล หรือ ทางเรืออีกด้วย. (มีต่อ)



การค้ามนุษย์ข้ามชาติ (the Human Trafficking on Transnational Plane)

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.