บทที่ว่าด้วยการร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจัดร่างกันอยู่นี้ มีสถานะที่ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่? เพราะเหตุใด?
การร่างรัฐธรรมนูญตามแนวทางที่ทำกันอยู่นี้ สำเร็จยาก เพราะไปร่างให้มันขัด หรือแย้งกับ ธรรมนูญโลก คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.๑๙๖๖ รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปีค.ศ.๑๙๖๖..........ฯ
กติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับ ประเทศไทยมีพันธกรณีอยู่กับนานาชาติ ในวันที่ ๑ มกราคม ปีพ.ศ.๒๕๔๐ และในวันเดือนเดียวกัน ปีพ.ศ.๒๕๔๑ ตามลำดับ............ฯ
๑. แม้แต่สถานะของผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ก็มีสถานภาพทางกฏหมายที่ขัด หรือแย้ง กับกติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับ ที่กล่าวอ้างข้างต้น คือ ไม่ได้มีสถานภาพทางกฏหมายใดๆที่เป็นไปตามบทบัญญัติที่ ๑ ของกติการะหว่างประเทศดังกล่าวทั้งสองฉบับ.....ฯ
นั่นคือ มิได้มีที่มา ตามการแสดงเจตจำนงค์ของคนทั้งประเทศ ที่ให้อัตวินิจฉัยในการก่อเกิดแก่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทั้งคณะ...............ฯ
[เกิดเป็นคณะกรรมการร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ "เถื่อน" บนที่ราบแห่งนานาชาติ (International Plane)]........................ฯ
เมื่อต้องด้วยข้อกฏหมายดั่งที่ว่ามาจึงทำให้ตัว ผู้มีอำนาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำการยกร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ที่กลายเป็นเถื่อน ไม่ชอบด้วยกฏหมายในสถานภาพของตัวผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญเอง.....................ฯ
๒. การกำหนดกฏเกณฑ์ ที่ตราลงบนตราสำคัญของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญ ที่ไปขัด หรือ แย้งกับ พันธกรณีที่ประเทศไทย มีอยู่กับนานาชาติดังกล่าวข้างต้น กลายเป็น การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย หรือ ก่อให้เกิดการจัดทำกฏหมายเถื่อนๆ ยกกำลังสอง อย่างนี้แล้ว รัฐธรรมนูญ เป็นเอกสารตราสาร ที่สำคัญของชาติ ไม่ใช่เหล็กไหล ที่ต้องไปตัดเอาด้วยคาถาอาคมในถ้ำด้วยวิทยาคม จึงต้องตกเป็นโมฆะ (Null & Void ) บนที่ราบแห่งนานาชาติ อย่างช่วยไม่ได้
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.