เพื่อความสะดวกของท่าน ขอยกมาให้อ่านกันเลยนะครับ
อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย
Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar
อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย
อนาคตของสถาบันกษัตริย์นั้นอย่างน้อยจะถูกกำหนดโดยจุดแข็งและจุดอ่อนของรัชกาลปัจจุบัน ตลอดจนเส้นทางในการสืบสันตติวงศ์ นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในปัจจุบันที่ๆ ซึ่งพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยังทรงพระชนม์ชีพซึ่งครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในปี 1946 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่ 14ปี หลังจากที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ถูกยกเลิกไป สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เกือบที่จะถูกครอบงำ ด้วยพลังและอำนาจทางการเมืองใหม่
ในช่วงทศวรรษ 1960 กลุ่มผู้สนับสนุนพระมหากษัตริย์ ด้วยความร่วมมือกับกองทัพไทย ประสบความสำเร็จในการรักษาสถานภาพฐานการเงินของราชวงศ์ ตลอดจนการสร้างความเคารพนับถือให้กับสถาบันพระมหากษัตรย์ ในปี 1973 และ 1992 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเข้ามาเพื่อยุติความรุนแรงทางทหารที่มีต่อกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นการสร้างบทบาทของพระองค์ในฐานะที่เป็นผู้ชี้ขาดคนสุดท้ายในเวลาที่เกิดวิกฤติ
ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ห่างไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีการประชาสัมพันธ์อย่างแพร่หลายตลอดจนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นานับประการทั่วประเทศที่ตั้งขึ้นมาเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนของพสกนิกรในท้องที่ทุรกันดาร ทำให้พระองค์ถูกมองว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่อุทิศพระองค์เพื่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน สิ่งที่แสดงถึงพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือการที่พระองค์ทรงได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มากที่สุดในโลก สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ที่พระองค์ทรงคิดค้น ตลอดจนพระปรีชาสามารถในด้านศิลปะ ดนตรี และพระราชนิพนธ์ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี 2006 จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี ดูเหมือนพระราชพิธีดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการครองราชย์ ประชาชนเรือนล้านหลั่งไหลเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อมีส่วนร่วมในงานเฉลิมฉลอง พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญจากทั่วโลกต่างก็เดินทางมาร่วมพระราชพิธีนี้เช่นกัน ดูเหมือนในช่วงเวลานั้นซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พิสูจน์ถึงความสำเร็จของรัชสมัยไว้อย่างชัดเจน
แต่เมื่อเดือนกันยายน ปี 2006 ฝ่ายทหารได้ปฏิวัติ ทำรัฐประหาร เพื่อขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้นของการเลือกโดยสำนักพระราชวังในช่วงเวลาสี่ทศวรรษที่ผ่านมาได้เปิดเผยสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่พระมหากษัตริย์ทรงพอพระทัยกับการสนับสนุนในวงกว้าง ก็มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะของสถาบันแห่งหนึ่งกำลังอยู่ในจุดที่ตกต่ำลงทั้งในแง่ของความนิยมและความชอบธรรม
สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงสั่งสมมาตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์ จะถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองได้อย่างไรภายในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ปี? คำตอบจะเป็นสิ่งที่บอกเราได้มากถึงอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย แม้ว่าจะไม่พิจารณาในประเด็นการสืบราชสมบัติ กลุ่มพลังที่เป็นตัวแทนในการสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นกลุ่มที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤต เมื่อประเด็นเรื่องการสืบราชสมบัติเกิดขึ้นในสภาวะที่สถาบันพระมหากษัตริย์มีความอ่อนแอ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดความวิบัติได้ แต่ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชฯที่มีการครองราชย์มาอย่างยาวนานก็ถึงจุดที่จะต้องกำหนดอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย โดยมีปัจจัยภายในหลายๆด้านทั้งที่ช่วยส่งเสริมและบั่นทอนการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้คงไว้ซึ่งความเป็นสถาบัน
การเปิดเผยของสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อการตรวจสอบของสาธารณชน(มักเกี่ยวข้องกับการพูด) มีส่วนทำให้สถาบันมีความเข้มแข็งขึ้น สภาองคมนตรีและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เข้าถึงนักวิชาการในระดับหนึ่ง และสำนักพระราชวังเองก็ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเนื้อหาพระราชประวัติใหม่ที่ค่อนข้างสมดุลมากขึ้น ซึ่ง รวมไปถึงเรื่องต้องห้ามเดิมที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบัน ในขณะที่รัฐบาลได้สั่งปิด (เซ็นเซอร์ censor)บล๊อกและเวปเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ความลับทางการทูตจำนวนมากของ Wikileaks ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย แต่กลับไม่ได้ปิด สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์แนววิพากษ์วิจารณ์บางแห่ง เช่น บทความของ MacGregor Marshall เรื่อง “Thailand’s Moment of Truth” ข้อมูลงบประมาณของรัฐบาลเองเมื่อเร็วๆ นี้ก็สามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบออนไลน์ รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณให้กับพระราชวงศ์ และค่าใช้จ่ายของพระมหากษัตริย์ การเปิดเผยข้อมูลตรงนี้ถูกกระตุ้นโดยรายงานจากภายนอก อย่างเช่น นิตยสาร Forbes ที่ได้รายงานว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยมี พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ประมาณ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์
แต่ถ้าจะมองเกี่ยวกับความสมดุลของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะของสถาบันแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีหลายเหตุผลที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อ่อนแอลง ประการแรก คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ จากบุคคลบุคคลหนึ่งได้กลายมาเป็นจุดศูนย์รวมของราชวงศ์ไทย ไม่ว่าจะเป็นเพราะการที่พระองค์ทรงครองราชย์มาอย่างยาวนานหรือความพยายามในการประชาสัมพันธ์จากสำนักพระราชวังเองก็ตาม พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการเป็นตัวแทนของบุคคลที่น่าเคารพบูชา แต่หากมองในด้านลบ ยิ่งพระองค์ประสบความสำเร็จในฐานะตัวบุคคลหรือพระราชกรณียกิจถูกนำเสนอมากเท่าไหร่ สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันก็ยิ่งอ่อนแอลงเท่านั้น ไม่น่าสงสัยแต่อย่างใดที่พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างไรก็ตามความนิยมในตัวของพระองค์ก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องแปลไปสู่ความชอบธรรมที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในความจริงแล้วทางตรงกันข้ามอาจจะเป็นความจริงก็เป็นได้ อาจจะเป็นเรื่องดีที่คนไทยจำนวนมากมีความจงรักภักดีต่อพระราชบัลลังก์ไม่มากไปกว่าการจงรักภักดีต่อรัชสมัยปัจจุบัน สำนักพระราชวังประสบความสำเร็จในการสร้างภาพลักษณ์ส่วนพระองค์ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน สร้างสถานะให้พระองค์เป็นที่เคารพนับถือมากขึ้น และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นจุดศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของชาติ ซึ่งความสำเร็จประเภทนี้ไม่สามารถใช้ได้กับผู้สืบทอดพระราชสมบัติองค์อื่นๆ
ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนมักจะอ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยราวกับว่า ป็นสถาบันที่มีความเป็นเอกภาพ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และใช้ “สำนักพระราชวัง” เป็นเครื่องมือในลักษณะเดียวกันกับ ทำเนียบขาว หรือ White House ของสหรัฐอเมริกา หรือบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่ง )10 Downing Street)ของสหราชอา ณาจักร อุปมาเปรียบได้กับศูนย์กลางของอำนาจที่มีการกำหนดอย่างชัดเจน แต่คำอธิบายนี้ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับบริบทของประเทศไทยในปัจจุบัน
ในความเป็นจริง มีกลุ่มอิทธิพลหลายกลุ่มที่มีผลต่อราชวงศ์ไทย บ่อยครั้งที่มีการทับซ้อนกันและมีการจัดวาระการแข่งขัน ตลอดจนการแบ่งแยกที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน รวมไปถึงความสัมพันธ์ที่หวั่นไหวในเรื่องมุมมองความคิดเห็น การแบ่งศูนย์กลางของอิทธิพลจะมุ่งเน้นไปที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และคณะองคมนตรี
หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงต่อต้านการรัฐประหารเมื่อปี 2006 ตามที่แหล่งข่าวหลายแห่งกล่าวไว้ พระองค์ก็จะทรงไม่สามารถหรือ ทรงไม่เต็มพระทัยที่จะควบคุมคนอื่นๆในสำนักพระราชวังที่สนับสนุนการรัฐประหารได้ ตามที่ ข้อมูลลับทางการทูต wikileaks หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้เคลื่อนไหวคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการการรัฐประหารที่เกิดขึ้น นี่เป็นบางส่วนของสำนักพระราชวังที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของผู้ประท้วงกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) การเคลื่อนไหวพยายามจะขัดขวางและล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งนำโดยผู้สนับสนุนของพันตำรวจโททักษิณ ชิณวัตรในปี 2008
ในขณะที่บางคนแย้งว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงถูกกดดันจากกลุ่มรัฐประหารเพื่อลงพระนามรับรองในการทำรัฐประหารดังกล่าว แต่ไม่ใช่กรณีเดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อพระองค์ฯ เสด็จพระราชดำเนินไปร่วมงานศพของผู้ประท้วงพันธมิตรที่เสียชิวิตในการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ประการที่ 3 การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไม่จำเป็น ส่งผลเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ กฎหมายดังกล่าวค่อนข้างที่จะลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่อย่างน้อยในช่วงทศวรรษที่ 1990และช่วงต้นของทศวรรษที่2000 มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่เกิดขึ้น ราชวงศ์ของยุโรปได้รับประโยชน์จากผลโพล (poll)ที่จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ของพวกเขา แต่สำหรับประเทศไทยด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำให้การทำโพลเป็นไปไม่ได้ ทั้งกฎหมายฉบับนี้ยังเป็นการกีดกันสถาบันพระมหากษัตริย์จากการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาจจะช่วยทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้อย่างถูกทำนองคลองธรรมในสภาพแวดล้อมที่ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบาน ตามเนื้อความของกฎหมายฉบับนี้ กฎหมายจะปกป้องพระมหากษัตริย์ พระราชินี ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่ในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าจะปกป้องสมาชิกอื่นๆ ของราชวงศ์สกุลนี้เช่นเดียวกัน
ผู้เสนอกฎหมายได้พยายามที่จะขยายการคุ้มครองตามกฎหมายให้ถึงแม้กระทั่งสมาชิกของคณะองคมนตรี ทุกคนสามารถทำให้ข้อกล่าวหากลายเป็นอาวุธที่แสนสะดวกเพื่อใช้ต่อต้านฝ่ายตรงข้าม ส่วนตัวของกฎหมายเองก็มีความคลุมเครือในแง่ไม่ค่อยดีและศาลก็ได้ตีความไว้อย่างกว้างๆ
ตามกฎหมายที่ตั้งขึ้นในส่วนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติของประมวลกฎหมายอาญา สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ผู้ถูกกล่าวหามักจะถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการประกันตัว ที่ร้ายแรงที่สุด เป็นคำตัดสินโทษที่หนักและมีจำนวนคดีที่คาดไม่ถึง คำตัดสินจำคุก สูงสุดคือ 15 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโทษสูงที่สุดของทุกๆ แห่งในโลกในศตวรรษที่ผ่านมา ระหว่างปี 1992 และ 2004 จำนวนคดีเฉลี่ยอยู่ที่ 5 คดีต่อปี แต่ในปี 2010 ได้พุ่งสูงขึ้นถึง 478 คดี โดยผู้ที่เสนอให้ปรับแก้กฎหมายนี้ ถูกบังคับให้โดนเนรเทศ ทรมานร่างกาย และถูกขู่ว่าจะมีอันตรายถึงชีวิต
ตามกฎหมายที่ตั้งขึ้นในส่วนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติของประมวลกฎหมายอาญา สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ผู้ถูกกล่าวหามักจะถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการประกันตัว ที่ร้ายแรงที่สุด เป็นคำตัดสินโทษที่หนักและมีจำนวนคดีที่คาดไม่ถึง คำตัดสินจำคุก สูงสุดคือ 15 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโทษสูงที่สุดของทุกๆ แห่งในโลกในศตวรรษที่ผ่านมา ระหว่างปี 1992 และ 2004 จำนวนคดีเฉลี่ยอยู่ที่ 5 คดีต่อปี แต่ในปี 2010 ได้พุ่งสูงขึ้นถึง 478 คดี โดยผู้ที่เสนอให้ปรับแก้กฎหมายนี้ ถูกบังคับให้โดนเนรเทศ ทรมานร่างกาย และถูกขู่ว่าจะมีอันตรายถึงชีวิต
สุดท้ายนึ้ยังคงมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เปลี่ยนรูปภูมิทัศน์ทางการเมืองในขณะที่สถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงดำรงอยู่ การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดท่ามกลางบรรยากาศสลัวของรัชสมัยปัจจุบัน คือ การพัฒนาจิตสำนึกทางด้านการเมืองการปกครองให้ลึกซึ้งและแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ เครือข่ายกษัตริย์เข้าถึงการก่อรัฐประหารเมื่อปี 2006 เช่นเดียวกันกับการรัฐประหารที่ผ่านๆ มาในอดีด คือ การรัฐประหารได้รับการรับรองจากสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ก่อรัฐประหารให้เหตุผลแสดงความบริสุทธิ์ว่า การทำรัฐประหารนั้นทำเพื่อสาธารณชนโดยอ้างเรื่องการทุจริตของนักการเมืองและภัยคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังจากนั้นก็จะมีการนิรโทษกรรม และในที่สุดการทำรัฐประหารก็จะถูกลืมเลือนไป
แต่ประชาชนกลุ่มใหม่ผู้ตระหนักถึงความสำคัญทางการเมืองกลับไม่เคยลืมการทำรัฐประหาร แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. หรือ “เสื้อแดง”) ยังคงมีการจัดระเบียบเพื่อที่จะนำผลกระทบที่เกิดจากการทำรัฐประหารออกไป โดยสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นำประโยคที่ระบุถึงการนิรโทษกรรมออกไปและดำเนินคดีผู้ทำรัฐประหาร และพิจารณาการดำเนินการทางกฎหมายหรือการพิจารณาคดีที่มาจากการทำรัฐประหาร การเคลื่อนไหวดังกล่าวนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการตื่นตัว หรือ ตาที่เปิดขึ้น (ตาสว่าง) ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและการพูดปากต่อปากของผู้ประท้วง ปรากกฎการณ์ตาสว่างทำให้สายตาของพวกเขาเพ่งมองไปที่บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ และการเข้ามามีส่วนร่วมในการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองและประวัติศาสตร์ของสถาบันอย่างเต็มที่
มีการแสดงออกโดยใช้ภาษาแบบรหัสเฉพาะเพื่อที่จะหลบเลี่ยงการจับกุม การขับเคลื่อนในครั้งนี้ไม่มีภาพลวงอีกต่อไป จึงเห็นความพยายามซ้ำแล้วซ้ำอีกของสำนักพระราชวังเพื่อป้องกันอำนาจของกษัตริย์ที่เป็นที่นิยมผ่านศาลยุติธรรม คณะองคมนตรีและสมาชิกบางองค์ของราชวงศ์ แทนที่จะลืมการเสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานในงานศพของผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรในเดือนตุลาคม 2008 เหตุการณ์นี้กลับเป็นสิ่งที่ขุ่นเคืองสำหรับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง และตั้งวันนั้นให้เป็นอนุสรณ์ว่าเป็น “วันตาสว่างแห่งชาติ” การออกมาเลือกข้างอย่างเปิดเผยของราชวงศ์ได้ถอดถอนความพยายามที่จะสื่อให้เห็นว่าสำนักพระราชวังเป็นกลางซึ่งความรู้สึกด้านลบของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงยิ่งสูงขึ้นเมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์เลือกที่จะไม่แทรกแซงเมื่อผู้ชุมนุมเสื้อแดงถูกฆ่าตายโดยกองกำลังของรัฐบาลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2010 เหนือกว่าสิ่งอื่นใด การตัดสินใจในการร่วมงานศพของกลุ่มพันธมิตรในปี 2008และไม่ไปร่วมงานศพของกลุ่ม นปช.ในปี 2010 ถือว่าเป็นจุดจบของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งเป็นเรื่องที่ทราบกันดี การเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของสำนักพระราชวังในการทำรัฐประหาร การปรากฎตัวแบบเลือกข้างของสมาชิกราชวงศ์ในเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามอำเภอใจ หรือแม้กระทั่งการตระหนักถึงเรื่องความมั่งคั่งของราชบัลลังก์ ได้ทำให้ความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นลดลงและเป็นภัยอย่างใหญ่หลวงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในอนาคต
แต่ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 อาจจะเป็นการที่สำนักพระราชวังไม่สามารถที่จะนำเสนอแผนของการสืบราชสันตติวงศ์ในแง่บวก แทนที่จะทรงสละราชสมบัติ ตามที่พระองค์ได้เคยพิจารณาไว้ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 จากการที่ทรงเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะยังคงอยู่ในพระราชบัลลังก์ต่อไป ในปี 1972 ทรงสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร แต่เนื่องจากพระพลานามัยของรัชกาลที่ 9 ที่แย่ลงในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมา ความพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ของเจ้าฟ้าชายนั้นกลับล้มเหลว อีกทั้งความขัดแย้งในสำนักพระราชวังก็เพิ่มขึ้น แผนการสืบต่อราชสันตติวงศ์อีกแผนหนึ่งจึงปรากฎขึ้น ด้วยที่ผ่านมาในความทรงจำของประเทศไทยยังไม่เคยมีการขัดแย้งในเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ จึงทำให้มีช่องว่างที่ปรับเปลี่ยนได้ทางกฎหมายมากพอสำหรับการจัดการเรื่องนี้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับคณะองคมนตรีที่อาจจะเข้ามาจัดการในขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านสู่่รัชกาลถัดไป 1
กรณีตัวอย่าง ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯไม่ได้ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว สถานะทางกฎหมายของคณะองคมนตรีและประธานองคมนตรีก็จะมีความคลุมเครือ และอาจจะถูกตีความได้ว่าพลเอกเปรมจะกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หากเสด็จสวรรคต และการเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเขาอาจจะสามารถปรับปรุงกฎหมายการสืบราชสันตติวงศ์ปี 1924 ได้เป็นครั้งแรก ในลักษณะที่ช่วยให้คณะองคมนตรีสามารถที่จะกำหนดพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่ต่างออกไปได้ ซี่งมีข้อสันนิษฐานว่า จะเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรืออาจจะส่งชื่อผู้สืบราชสันตติวงศ์ไปยังรัฐสภาเพื่อการพิจารณาล่าช้า ในช่วงที่อยู่ระหว่างการไว้ทุกข์ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดช่วงเวลาไว้อย่างแน่นอน หรือถ้าทั้งหมดล้มเหลว การทำรัฐประหารอาจจะอยู่ในลำดับต่อไป โดยอ้างเหตุผลเพื่อความถูกต้องว่าเป็นการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติและการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ การรัฐประหารอาจจะยกเลิกรัฐสภาและอนุญาตให้กองทัพมีสิทธิ์ที่จะเสนอพระนามผู้ที่จะสืบราชบัลลังก์ หรืออย่างน้อยก็ให้สามารถชะลอกระบวนการดังกล่าวได้ หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะทรงจัดวางพระองค์เองให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ทรงพระประชวร และยังทรงอยู่ในตำแหน่งต่อไปหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จสวรรคตไปแล้ว
ไม่มีแผนการใดเลยที่ที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความชอบธรรมมากขึ้น มีเพียงแผนการเดียวเท่านั้นที่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งก็เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ด้วย นั่นก็คือ การที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามบรมราชกุมาร เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ในลำดับถัดไป และทรงปรับปรุงพฤติกรรมของพระองค์ และใช้โอกาสนี้เพื่อที่จะรื้อเครือข่ายกษัตริย์ (monarchy network) และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนครองราชย์ตามระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เหมือนกับที่อื่นๆในโลกปัจจุบัน ส่วนแผนการอื่นๆจะนำไปสู่ความหายนะไม่ว่าจะเป็นความพยายามของคณะองคมนตรีที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งอาจจะป็นการล้างความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์ในอนาคต โดยการเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะทำให้พลเอกเปรม หรือ สมเด็จพระราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านอย่างรุนแรงและอาจนำไปสู่จุดจบของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งหมด
สุดท้ายนี้ การดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยนั้นขึ้นอยู่กับคำถามเรื่องความชอบธรรมตามกฎหมาย รัชกาลในปัจจุบันได้มีการปลูกฝังชุดค่านิยมและความสนใจซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกันกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน และก้าวต่างไปจากระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของทั่วโลก สิ่งนี้ได้ลดทอนอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง และได้แสดงให้เห็นถึงสายตาที่คับแคบผ่านทางการแถลงการณ์และการกระทำต่างๆ สิ่งนี้สนับสนุนและรับรองการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สิ่งนี้อนุญาตให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ถูกกีดกันให้ยังคงใช้ได้อยู่ และสิ่งนี้อยู่อย่างใกล้ชิดมากเกินไปกับการจัดวาระอย่างสุดขั้วของกลุ่มผู้จงรักภักดีในราชวงศ์แบบสุดโต่ง สิ่งนี้สร้างภาพลักษณ์ให้กับพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันโดยมีการเปรียบเทียบกับผู้สืบราชสันตติวงศ์ว่าไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จตามอย่างได้ ในที่สุด ด้วยการเตรียมตัวที่ไม่พร้อม ทำให้เกิดแม้กระทั่งคำถามเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ที่กำลังมีภัยเพราะเต็มไปด้วยทางเลือกอื่นที่ล้วนล่อใจแต่อันตราย สรุปได้ว่า สิ่งนี้ล้มเหลวที่จะนำสถาบันพระมหากษัตริย์ไปสู่เส้นทางที่ดำเนินควบคู่ไปกับค่านิยมแห่งประชาธิปไตย ในประเทศไทยที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย รัชสมัยนี้ กำลังจะส่งมอบสถาบันหนึ่งซึ่งกำลังอ่อนแรงและแบ่งพรรคแบ่งพวกให้เป็นมรดกแก่ผู้สืบทอด พร้อมๆ กับหนทางที่ไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการกับสิ่งนี้ต่อไปอย่างไร
David StreckfussUniversity of Wisconsin-Madison
Notes:
- Michael J. Montesano, “Contextualizing the Pattaya Summit Debacle: Four April Days, Four Thai Pathologies,” Contemporary Southeast Asia, vol. 31, no. 2 (2009), p. 233. ↩
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.