ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Thursday, April 2, 2015

เผด็จการไทย ใช้อำนาจสอดคล้องกับกฎหมายสากลหรือไม่?

เผด็จการไทย ใช้อำนาจสอดคล้องกับกฎหมายสากลหรือไม่?
การใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔๔ ทำได้โดยชอบภายใต้กรอบบังคับของ กฏหมายระหว่างประเทศ และภายใต้กรอบสนธิสัญญาที่ประเทศไทย มีพันธกรณีอยู่กับนานาชาติหรือไม่?
การจะวิพากษ์ว่า "การใช้อำนาจ ตามมาตรา ๔๔ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๕๗ " เป็นการใช้อำนาจของอธิปัตย์ หรือ Sovereignty นั้น คนไทยควรจะต้องรู้เสียก่อนว่า ๑. เมื่อเกิดการยึดอำนาจ และทำการรัฐประหารโดย "ท่านผู้นำ" ประยุทธฯ ในวันที่ ๒๐ - ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เป็นการยึดอำนาจ และรัฐประหาร ที่ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.กฏอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ ซึ่งเป็นกฏหมายที่เกิดมาจากการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช การที่กฏหมายจากคนละระบอบ จะเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย หลังเวลาย่ำรุ่งของวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ เพื่อบังคับใช้เป็นกฏหมาย ในระบอบการปกครองใหม่ได้ รัฐสภาไทยในสมัยแรก ของ ระบอบการปกครองใหม่ จะต้องลงมติยอมรับให้บังคับใช้ แต่รัฐสภาไทยดังกล่าว ไม่ทำอะไรเลย เรียกว่า "รัฐสภาไทย is silent" เปรียบเทียบกรณีนี้ กับ การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส เมื่อเดือนสิงหาคม ปีค.ศ.1793 รัฐสภาฝรั่งเศส ภายหลังการปฏิวัติใหญ่ ก็ใช้วิธีการ Silent ต่อกฏหมายอันมีที่มา จากรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 ทั้งหมด กฏหมาย ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชของฝรั่งเศสทั้งหมด ไม่อาจนำมาบังคับใช้ ในระบอบการปกครองใหม่ในประเทศฝรั่งเศสได้......................................ฯ


๒. ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ปีค.ศ.๑๙๕๔ หรือปีพ.ศ.๒๔๙๗ ประเทศไทย ไปประกาศขอเข้าร่วมในสนธิสัญญากรุงเจนีวา ปีค.ศ.๑๙๔๙ (ทั้ง ๔ ฉบับ) หรือ the Geneva Conventions,1949 เกิดเป็นพันธกรณีตามสนธิสัญญาที่กล่าวนี้ ผูกพันประเทศไทย สนธิสัญญาฉบับที่กล่าวนี้ ผูกโยงเอาอำนาจทั้งหลายตามพ.ร.บ.กฏอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ ทั้งหมด เข้ามาสู่บทบัญญัติที่ ๕๙ ของสนธิสัญญา เมื่อเป็นดังที่กล่าวมานี้ สนธิสัญญาย่อมอยู่เหนือกฏหมายภายในของรัฐคู่ภาคีสนธิสัญญา ทั้งนี้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลโลกเดิมหรือ PCIJ ในคดีที่มีชื่อว่า "the Greco -Bulgarian Communities Case" ที่ตัดสินไว้เมื่อปีค.ศ.๑๙๓๐ และ ย้ำยืนยันโดยคำพิพากษาของศาลสถิตย์ยุติธรรมสังคมประชาคมเศรษฐกิจของยุโรป ในคดีที่มีชื่อว่า Flaminio Costa v. E.N.E.L.ศาลดังกล่าว เป็นศาลนานาชาติ คำพิพากษา(คำวินิจฉัยเบื้องต้นของศาล) ย่อมมีผลผูกพัน และใช้บังคับได้บนที่ราบแห่งนานาชาติ หรือ International Plane ..................................................................ฯ
(๓) ในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ปีค.ศ.๑๙๔๖ หรือปีพ.ศ.๒๔๘๙ ประเทศไทย ยอมรับกฏบัตรสหประชาชาติ หรือ the Charter of United Nations โดยการเข้าเป็นสมาชิกในองค์การโลกบาลแห่งนี้ กฏบัตรสหประชาชาติ เป็นสนธิสัญญาหลายฝ่าย(พหุภาคี) องค์การสหประชาชาตินอกจากจะมีอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อย และ สันติสุขในระหว่างประเทศแล้ว ยังมีอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยและ สันติสุขภายในชาติของคู่ภาคีสมาชิกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ พ.ร.บ. กฏอัยการศึกของประเทศไทย ย่อมขัด หรือ แย้ง กับ กฏบัตรสหประชาชาติ จึงตกเป็นโมฆะไปในทันทีที่นำพ.ร.บ. กฏอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ มาประกาศและบังคับใช้.............................................ฯ
(๔)เมื่อการประกาศกฏอัยการศึกตก เป็นโมฆะ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๕๗ ที่ประกาศตามมาหลังการยึดอำนาจ ย่อมตกเป็นโมฆะไปด้วย เพราะไม่มีพื้นฐานของกฏหมายใดๆรองรับ แม้ประเทศไทย ไม่ไปประกาศยกเลิกกฏอัยการศึก กฏอัยการศึกก็ไม่สามารถใช้บังคับได้ บนที่ราบแห่งนานาชาติ เพราะตกเป็นโมฆะ มาตั้งแต่วันที่ ๒๐ - ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ดังที่กล่าวอ้างมาข้างต้นแล้ว...........ฯ
ฉะนั้นการประกาศใช้บังคับมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๕๗ ไม่ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยดีขึ้นในสายตานานาชาติ เพราะปราศจากมูลอันจะอ้างตามกฏหมายได้ "ท่านผู้นำ" ควรต้องไปหาวิธีการอื่นๆ ที่ดีกว่าการประกาศบังคับใช้ เพื่อให้มีผลบังคับอย่างเป็นกฏหมาย เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้.





No comments:

Post a Comment