ยินดีต้อนรับ

พลเมืองที่รอบรู้เท่าทัน คือ พลังประชาธิปไตยที่แท้จริง
Well-informed citizens are the true democratic forces.

Saturday, May 21, 2016

ทรราช คสช. “ช็อปกระจาย” อาวุธค่ายจีน-รัสเซีย

จับตารัฐบาลทรราช คสช. "ช็อปกระจาย" อาวุธค่ายจีน-รัสเซีย จัดหนักทั้งรถถังและเฮลิคอปเตอร์!!! ผลาญงบประมาณ หลายหมื่นล้านบาท อีกทั้งรอคิว เรือดำน้ำอีก 3 .3 หมื่นล้าน ในขณะที่ ประชาชนทั้งประเทศ อดอยาก ยากจน

----------------------------------------------------------------------------

Y BOURNE

ON MAY 18, 2016

Ispace thailand

-
เป็นข่าวลือกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วสำหรับการจัดซื้ออาวุธล็อตใหม่ของกองทัพไทย ก่อนจะเป็นที่ชัดเจนโดยการยืนยันจาก พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. ว่ากองทัพบกได้เสนอโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์แบบ Mi-17V5 จากรัสเซีย และรถถังแบบ VT-4 จากประเทศจีนมาใช้งาน โดยอยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

-
"ผมเชื่อมั่นกับราคาคุณภาพและประสิทธิภาพของรถถัง vt-4 ของจีนว่ามีความเหมาะสมโดยผ่านคณะกรรมการของกองทัพบก ผมไม่ได้ดูคนเดียว ซึ่งผมส่งเจ้าหน้าที่ไปดูหลายรอบ ทั้งทหารม้าและทุกๆ ส่วนไปร่วมกันพิจารณา" พล.อ.ธีรชัย กล่าว

-
กองทัพบกได้เสนอความต้องการ ฮ.แบบ Mi-17V5 ไปทั้งหมด 12 ลำ โดยคาดว่าจะมีการสั่งซื้อเป็นงบผูกพัน 3 ปี ปีละ 4 ลำ ด้านรถถัง VT-4 จากจีนนั้น ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดจำนวน และราคาที่แน่ชัด แต่มีรายงานจากแหล่งข่าวต่างประเทศว่ากองทัพบกมีการสั่งซื้อรถถัง VT-4 ล็อตแรกจำนวน 28 คัน โดยความต้องการรถถังเพื่อทดแทนรถถังรุ่นเก่าของกองทัพไทยนั้นมีประมาณ 150-200 คัน
-

สำหรับโครงการจัดซื้อรถถัง VT-4 จากจีนนั้น ถือเป็นการสั่งซื้อรถถังหลักครั้งที่สองในรอบ 5 ปี หลังจากที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อนุมัติการสั่งซื้อรถถัง T-84 Oplot-M จากประเทศยูเครน จำนวน 49 คัน โดยอนุมัติในวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ภายใต้วงเงินงบประมาณ 7,200 ล้านบาท

-
โดยรถถัง Type 69II นั้นก็เป็นรถถังที่จีนก็อปปี้มาจากรถถังแบบ T-59 ของโซเวียตอีกทีหนึ่ง และหลังจากที่ได้รับของราคาถูก Made in China มาแล้ว ก็ทำให้กองทัพไทยรู้ว่าของถูกและดีมันไม่ได้มีเสมอไป เพราะรถถังจีนรุ่นดังกล่าวประสบปัญหาการซ่อมบำรุงทั้งเครื่องยนต์ และอะไหล่อย่างมาก ถึงขนาดเคยจอดพังยกกองพันกันมาแล้ว แม้ว่าต่อมาจีนจะมีการซ่อมบำรุงให้โดยไม่คิดมูลค่า ทำให้กลับมาใช้งานได้จำนวนหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ต้องปลดประจำการไปอยู่ดี โดยภารกิจสุดท้ายของรถถัง Type 69II ของไทยก็คือ การส่งมอบรถถังดังกล่าวจำนวน 25 คันให้แก่กรมประมงเพื่อใช้ทิ้งลงใต้ทะเลเป็นแนวปะการังเทียม!!!
-

ในขณะที่รถถัง T-59 ของโซเวียตต้นแบบนั้นมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แม้จะต้องซ่อมบำรุงแต่ก็ยังมีความพร้อมรบที่สูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น รถถัง T-59 ของกัมพูชา ที่ยังคงประจำการและมีความพร้อมรบอยู่ในปัจจุบัน
-

นอกเหนือจากรถถังและเฮลิคอปเตอร์แล้ว กองทัพอากาศไทยก็ยังมีแผนการจะจัดหาเครื่องบินรบเพิ่มเติม โดยสำนักข่าวซินหัว(Xinhua) รายงานว่ากองทัพอากาศไทยอาจมีการสั่งซื้อเครื่องบินรบแบบ JAS 39 Gripen เพิ่มอีก 4 ลำ ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้ถูกปฏิเสธจากคณะทูตสวีเดนประจำประเทศไทย และยังถูกต่อต้านจาก NGO ภายในประเทศของสวีเดนอีกด้วย โดยเฉพาะประเด็นการขายอาวุธให้แก่ประเทศที่ไม่ได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งรายได้จากการขายอาวุธก็คือเงินภาษีจากประชาชน ซึ่งกำลังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
-

อย่างไรก็ตามในขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็กำลังอยู่ในระหว่างการเยือนประเทศรัสเซีย โดยพล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่าการซื้ออาวุธ เป็นหนึ่งในประเด็นที่จะมีการพูดคุยกับรัสเซีย

-
แน่นอนว่าการซื้ออาวุธให้กับกองทัพเพื่อทดแทนอาวุธเก่าที่เสื่อมสภาพ ย่อมเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น แต่ความโปร่งใสตรวจสอบได้ ประสิทธิภาพ ใช้งานได้จริงก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาเช่นกัน นอกจากนี้การใช้งบประมาณเพื่อการซื้ออาวุธในช่วงที่ประเทศกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจเช่นนี้ ก็ยิ่งต้องพิจาณาถึงความจำเป็นด้วย เพราะภัยที่ประเทศกำลังประสบคือปัญหาเศรษฐกิจ และปากท้องของประชาชน ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยอาวุธ!!!

-
Reference

-

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.